แมกซิมิเลียน คอลบี
แมกซิมิเลียน มาเรีย คอลบี (อังกฤษ: Maximilian Maria Kolbe, 8 มกราคม ค.ศ. 1894 – 14 สิงหาคม ค.ศ. 1941) หรือ มักซือมีเลียน มาเรีย กอลแบ (โปแลนด์: Maksymilian Maria Kolbe) เป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิกและไฟรเออร์คณะฟรันซิสกันคอนเวนชวล (Conventual Franciscan) ชาวโปแลนด์ ผู้อาสาตายแทนคนแปลกหน้าที่ชื่อว่า ฟรานซิส กาโยนิเชค ซึ่งเป็นเชลยในค่ายกักกันเอาชวิทซ์ในประเทศโปแลนด์ใต้อาณัติเยอรมนีระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
นักบุญแมกซิมิเลียน คอลบี | |
---|---|
บาทหลวงและมรณสักขี | |
เกิด | 8 มกราคม ค.ศ. 1894 ซดุญสกาวอลา อดีตจักรวรรดิรัสเซีย (ปัจจุบันอยู่ในโปแลนด์) |
เสียชีวิต | 14 สิงหาคม ค.ศ. 1941 ค่ายกักกันเอาชวิทซ์ ประเทศโปแลนด์ |
นิกาย | โรมันคาทอลิก |
เป็นนักบุญ | 10 ตุลาคม ค.ศ. 1982 โรม โดย สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 |
วันฉลอง | 14 สิงหาคม |
องค์อุปถัมภ์ | ผู้เสพติดยา, นักโทษทางการเมือง, ผู้ถูกจองจำ |
เขาได้รับการประกาศเป็นนักบุญและมรณสักขีแห่งเมตตาธรรมเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1982 โดยสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 เป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ผู้ติดยาเสพติด นักโทษการเมือง ครอบครัว สื่อสารมวลชน นักโทษ และขบวนการสนับสนุนชีวิต[1] สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ยังทรงประกาศว่าเขาเป็น "นักบุญองค์อุปถัมภ์ศตวรรษอันยุ่งยากของเรา"[2]
เอาชวิทซ์
แก้ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เขาจัดหาที่พักให้แก่ผู้ลี้ภัยจากเกรเทอร์โปแลนด์ ซึ่งรวมถึงชาวยิว 2,000 คนที่เขาซ่อนไว้จากการเบียดเบียน (persecution) ของพวกนาซีในอารามของเขาในแญปอกาลานุฟ
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 เขาถูกเกสตาโปของเยอรมนีจับกุมและขังที่เรือนจำปาเวียก เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม เขาถูกโอนไปยังเอาชวิทซ์ เป็นนักโทษหมายเลข 16670
ปลายเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1941 มีนักโทษสามคนหายไปจากค่าย ทำให้เฮาพท์สทุร์มฟือแรร์ของเอสเอส (ยศเทียบเท่าร้อยเอก) คาร์ล ฟรีทซช์ รองผู้บัญชาการค่าย เลือกชาย 10 คนมาอดอาหารจนตายในบังเกอร์ใต้ดินเพื่อขัดขวางมิให้มีความพยายามหลบหนีอีก เมื่อฟรันชีแชก กายอฟญิตแชก หนึ่งในชายที่ถูกเลือก ร้องมาว่า "ภรรยาผม! ลูกผม!" คอลบีได้อาสาถูกเลือกแทนเขา[3]
ในห้องขังอดอาหารนั้น เขาทำพิธีมิสซาทุกวันนานเท่าที่เขาสามารถทำได้และทำพิธีศีลมหาสนิทแก่นักโทษอย่างลับ ๆ ระหว่างวัน ขนมปังที่ให้แก่นักโทษนั้นไม่ได้ใส่เชื้อฟูและสามารถใช้ในพิธีศีลมหาสนิทได้ ทหารยามที่มีใจสงสารมอบสิ่งของจำเป็นแก่เขา ซึ่งรวมถึงไวน์ ซึ่งเขาสามารถใช้ได้
เขานำนักโทษทั้งหลายร้องเพลงและอธิษฐาน ตลอดจนให้กำลังใจโดยบอกพวกเขาว่าจะอีกไม่นานจะได้ไปอยู่กับพระนางมารีย์พรหมจารีบนสวรรค์ แต่ละครั้งที่ทหารยามมาตรวจดูเขา จะพบว่าเขากำลังยืนหรือคุกเข่าอยู่กลางห้องขังและมองอย่างสงบไปยังทุกคนที่เข้ามา หลังจากการอดน้ำและอดอาหารมาสองสัปดาห์ มีเพียงคอลบีเท่านั้นที่ยังรอดชีวิต ทหารยามต้องการให้บังเกอร์ว่างเปล่า ดังนั้นจึงจัดการฉีดกรดคาร์บอลิกให้คอลบีถึงแก่มรณกรรม บางคนที่อยู่ในเหตุการณ์นั้นกล่าวว่า เขายกแขนซ้ายขึ้นและรอคอยการฉีดอย่างสงบ[4] ร่างของเขาถูกเผาในวันที่ 15 สิงหาคม ตรงกับวันฉลองแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์
อ้างอิง
แก้- ↑ Saints Index; Catholic Forum.com, Saint Maximilian Kolbe เก็บถาวร 2006-03-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "St. Maximilian Kolbe Martyr of Love". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-15. สืบค้นเมื่อ 2011-10-09.
- ↑ Saint Maximilian Kolbe เก็บถาวร 2009-08-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Catholic-Pages.com
- ↑ Blessed Maximilian Kolbe--Priest Hero of a Death Camp by Mary Craig