แผ่นดินไหวในประเทศเนปาล เมษายน พ.ศ. 2558
แผ่นดินไหวในประเทศเนปาล พ.ศ. 2558 เกิดเมื่อเวลา 11:56 น. ตามเวลาในประเทศเนปาล (6:11:26 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ในวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2558 วัดขนาดได้ 7.8 ตามมาตราโมเมนต์ และวัดความรุนแรงได้ IX หรือระดับ 9 ตามมาตราเมร์กัลลี โดยมีจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากเมืองลัมชุง ประเทศเนปาล ไปทางตะวันออก-ตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 34 กิโลเมตร และศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ที่ระดับความลึกประมาณ 15 กิโลเมตร[1] นับเป็นแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดของประเทศเนปาลนับแต่เหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศเนปาล–รัฐพิหาร พ.ศ. 2477 จนถึงวันที่ 27 เมษายน มีรายงานผู้ต้องอุบัติเหตุในประเทศเนปาลและพื้นที่ใกล้เคียงของประเทศอินเดีย, จีน และบังกลาเทศ
บ้านเรือนเสียหายในกาฐมาณฑุ หลังเกิดแผ่นดินไหวหลักในเดือนเมษายน | |
เวลาสากลเชิงพิกัด | 2015-04-25 06:11:25 |
---|---|
รหัสเหตุการณ์ ISC | 607208674 |
USGS-ANSS | ComCat |
วันที่ท้องถิ่น | 25 เมษายน ค.ศ. 2015 |
เวลาท้องถิ่น | 11:56:25 NST[1] |
ขนาด | 7.8 Mw[1] 8.1 Ms |
ความลึก | 8.2 กิโลเมตร (5.1 ไมล์)[1] |
ศูนย์กลาง | 28°13′48″N 84°43′52″E / 28.230°N 84.731°E[1] |
รอยเลื่อน | Main Himalayan Thrust |
ประเภท | ย้อนมุมต่ำ[1] |
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ | |
ความเสียหายทั้งหมด | $10 พันล้าน (ประมาณ 50% ของ GDP ของเนปาล)[2] |
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้ | X (อนุภาพรุนแรง) [3][4] |
ค่าความเร่งสูงสุดของพื้นดิน | 0.25 g[5] |
ความเร็วสูงสุด | 108 cm/s[5] |
แผ่นดินไหวตาม | 7.3 Mw 25 เม.ย. 12:30 น. เวลาท้องถิ่น[6] 6.7 Mw 26 เม.ย. 12:54 น. เวลาท้องถิ่น[7] แผ่นดินไหวตามขนาด 459 Mw ขึ้นไป ณ วันที่ 24 พฤษภาคม 2016[8] |
ผู้ประสบภัย | เสียชีวิตในประเทศเนปาล 8,857 คน และทั้งหมด 8,964 คน[9][10] บาดเจ็บ 21,952 คน[9] 3.5 ล้านคนไร้ที่อยู่อาศัย[9] |
แผ่นดินไหวนี้ยังทำให้เกิดหิมะถล่มบนยอดเขาเอเวอเรสต์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 17 ราย ยอดผู้เสียชีวิตเกินเหตุการณ์หิมะถล่มที่ยอดเขาเอเวอเรสต์ พ.ศ. 2557 ทำให้เป็นวันที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดบนเขาดังกล่าว อาคารเก่าแก่หลายศตวรรษที่แหล่งมรดกโลกของยูเนสโกในหุบเขากาฐมาณฑุถูกทำลาย รวมทั้งบางส่วนของจัตุรัสกาฐมาณฑุดูร์บาร์
เกิดแผ่นดินไหวตามต่อเนื่องทั่วประเทศเนปาล มีครั้งหนึ่งขนาด 6.7 แมกนิจูด เกิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน เวลาสากลเชิงพิกัด 07:09:08 น.[7]
แผ่นดินไหวใหญ่ครั้งที่สอง เกิดขึ้นในวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ที่เวลา 12:35 น. ที่ระดับความแรง 7.3 แมกนิจูด โดยศูนย์กลางของแผ่นดินไหวอยู่ใกล้ชายแดนจีน ระหว่างกาฐมาณฑุกับภูเขาเอเวอเรสต์
แผ่นดินไหว
แก้แผ่นดินไหวเกิดขึ้นในวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2558 ที่เวลา 11:56 น. ของเวลามาตรฐานเนปาล (6:11:26 น. ของเวลาสากลเชิงพิกัด) ที่ระดับความลึกประมาณ 15 km (9.3 mi) กับจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวประมาณ 34 km (21 mi) ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองลัมชุง ประเทศเนปาล เป็นเวลานานประมาณยี่สิบวินาที[11]
ผลกระทบ
แก้ประเทศ | เสียชีวิต | บาดเจ็บ | อ้างอิง |
---|---|---|---|
เนปาล | 8,857 | 22,304 | [9][12] |
อินเดีย | 78 | 560 | [13] |
จีน | 25 | 383 | [14] |
บังกลาเทศ | 4 | 200 | [15] |
รวม | 8,964 | 23,447 |
ประเทศ | เสียชีวิต | อ้างอิง |
---|---|---|
อินเดีย | 78 |
[16] |
ฝรั่งเศส | 10 | [17] |
สเปน | 7 | [18] |
สหรัฐ | 7 | [19][20] |
เยอรมนี | 5 | [21][22] |
จีน | 4 | [23] |
อิตาลี | 4 | [24] |
แคนาดา | 2 | [25] |
รัสเซีย | 2 | [26] |
ออสเตรเลีย อินเดีย |
1 | [27][28] |
เอสโตเนีย | 1 | [29] |
ฮ่องกง | 1 | [30] |
อิสราเอล | 1 | [31] |
ญี่ปุ่น | 1 | [32] |
มาเลเซีย | 1 | [33] |
นิวซีแลนด์ | 1 | [34] |
สหราชอาณาจักร | 1 | [35] |
รวม | 127 |
มีรายงานการเสียชีวิตที่บริเวณยอดเขาเอเวอเรสต์ ซึ่งรวมผู้บริหารระดับสูงแห่งบริษัทกูเกิล[36][37] และผู้ช่วยแพทย์หญิงสัญชาติไทย-อเมริกัน[38] นอกจากนี้ยังทำให้โบราณหลายแห่งซึ่งบางส่วนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกถูกทำลายเสียหายยับเยิน อาทิเช่น ธาราฮารา หอคอยเก่าแก่ที่สูงที่สุดในเนปาล สถูปปูธานารถ เทวสถานสำคัญทางพุทธศาสนาในเนปาล สถูปเจดีย์เก่าแก่ ภายในจัตุรัสกาฐมาณฑุดูร์บาร์ เป็นต้น[39]
ความช่วยเหลือจากนานาชาติ
แก้- ภูฏาน — นอร์บุ วังชุก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝ่ายเศรษฐกิจ ได้แสดงความเสียใจ และแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับคนของประเทศเนปาล โดยได้ระงับงานฉลองทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก นอร์บุ วังชุก กล่าวเสริมว่าไม่มีความเสียหายที่สำคัญในประเทศภูฏาน และพระมหากรุณาธิคุณแห่งสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ได้ทรงมีพระบัญชาให้ส่งทีมแพทย์ 63 นาย ซึ่งนำโดยเชอริง ต๊อบเกย์ นายกรัฐมนตรีภูฏานและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเดินทางสู่กาฐมาณฑุ โดยทางภูฏานได้จัดมอบกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นจำนวน 62 ล้านงุลตรัมภูฏาน (1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) จากสำนักนายกรัฐมนตรี[40][41][42][43][44] นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีต๊อบเกย์ ยังได้ประกาศให้ประเทศภูฏานร่วมลดธงครึ่งเสา เพื่อเป็นการไว้อาลัยการสูญเสียชีวิตที่เกิดจากแผ่นดินไหว[45]
- ญี่ปุ่น — ภายในครึ่งวันหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว ประเทศญี่ปุ่นได้เสนอให้ความช่วยเหลือฉุกเฉิน โดยทางองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) จะส่งผู้เชี่ยวชาญ 70 คนออกเดินทางจากสนามบินนาริตะในวันที่ 26 เมษายน ซึ่งพวกเขาจะทำหน้าที่ในประเทศเนปาลเป็นระยะเวลา 7 วัน ทีมนี้ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงการต่างประเทศ, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น, เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัย, ผู้ฝึกสุนัขกู้ภัยและค้นหา, ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร, แพทย์ และฝ่ายประสานงานภาคสนาม ด้านสมาคมแพทย์แห่งเอเชีย (AMDA) และชาปลาเนียร์ ยังได้ประกาศเริ่มการประสานงานความช่วยเหลือฉุกเฉินร่วมกับทีมดังกล่าว[46]
- ไทย — พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาพระราชทาน 10 ล้านบาทแก่ผู้ประสบภัย[47][48] และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาพระราชทานสิ่งของจำนวน 5 ตัน ซึ่งได้แก่ เต็นท์, ผ้าห่ม, หมอนอิง, เตาแก๊ส และยารักษาโรค[49] นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้สั่งการให้กระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยกองทัพ จัดส่งทีมแพทย์และชุดบรรเทาสาธารณภัยเฉพาะกิจ เข้าช่วยเหลือ[50][51]
- บริเตนใหญ่ — เดวิด แคเมอรอน ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรได้แสดงความเสียใจ พร้อมเสนอความช่วยเหลือต่อประเทศเนปาล[52] โดยในวันที่ 25 เมษายน ทางสหราชอาณาจักรได้ส่งทีมผู้เชี่ยวชาญด้านความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมไปยังพื้นที่ดังกล่าว เพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดในการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์[53]
- สหรัฐ — ด้านทำเนียบขาว และจอห์น เคอร์รี รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ ได้แสดงความเสียใจและให้คำมั่นที่จะให้ความช่วยเหลือ โดยในวันที่เกิดแผ่นดินไหว สหรัฐอเมริกาได้ส่งความช่วยเหลือและมอบเงินจำนวน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมด้วยทีมงานด้านภัยพิบัติที่ให้ความช่วยเหลือจำเป็นในทันที และองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกาได้ส่งทีมค้นหาและทีมกู้ภัยในพื้นที่ดังกล่าว[54]
- นครรัฐวาติกัน — สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ได้นำสวดมนต์สำหรับการพักผ่อนแห่งดวงวิญญาณของผู้เสียชีวิต และสำหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุแผ่นดินไหว[55][56] ท่านทรงมอบเงินบริจาค 100,000 ดอลลาร์สหรัฐในงวดแรก เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน[57]
บริการออนไลน์
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "M7.8 – 36 km E of Khudi, Nepal". United States Geological Survey.
- ↑ "Nepal Says Earthquake Rebuilding Cost to Exceed $10 Billion". Bloomberg.com. 28 April 2015. สืบค้นเมื่อ 22 May 2017 – โดยทาง www.bloomberg.com.
- ↑ Ömer Aydan; Resat Ulusay. "A quick report on the 2015 Ghorka, Nepal earthquake and its geo engineering aspects". citeseerx.ist.psu.edu. Ankara, Turkey. CiteSeerX 10.1.1.733.9209.
- ↑ Jean-Philippe Avouac; Ratna mani Gupta; Diego Melgar; Thakur Prasad Kandel (2015). "Slip pulse and resonance of Kathmandu basin during the 2015 Mw 7.8 Gorkha earthquake, Nepal imaged with geodesy". Science. 349 (6252): 1091–1095. doi:10.1126/science.aac6383. PMID 26249228. S2CID 16661860.
- ↑ 5.0 5.1 Takai, Nobuo (26 January 2016). "Strong ground motion in the Kathmandu Valley during the 2015 Gorkha, Nepal, earthquake. Earth Planets Space 68, 10 (2016)". Earth, Planets and Space. Takai, N., Shigefuji, M., Rajaure, S. et al. 68 (1): 10. doi:10.1186/s40623-016-0383-7. S2CID 41484836. สืบค้นเมื่อ 2021-11-03.
- ↑ "M6.6 – 44km E of Lamjung, Nepal".
- ↑ 7.0 7.1 "M6.7 – 21km SSE of Kodari, Nepal". usgs.gov.
- ↑ "Aftershocks of Gorkha Earthquake". National Seismological Centre, Nepal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-30. สืบค้นเมื่อ 2022-08-31.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 "Incident Report of Earthquake 2015". Nepal Disaster Risk Reduction Portal. drrportal.gov.np. สืบค้นเมื่อ 28 May 2015.
- ↑ "Nepal earthquake death toll rises to 8,413". The Times of India. 7 May 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-10. สืบค้นเมื่อ 9 May 2015.
- ↑ "Powerful earthquake hits Nepal". Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ 25 April 2015.
- ↑ "National Emergency Operation Centre". National Emergency Operation Centre (Nepal Govt.) on Twitter (ภาษาเนปาล). 3 May 2015. สืบค้นเมื่อ 3 May 2015.
- ↑ "Quake toll in India now 78". Zee News. 29 April 2015. สืบค้นเมื่อ 4 May 2015.
- ↑ "25 dead, 383 injured in Tibet following Nepal earthquake". Xinhua. 28 April 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2015. สืบค้นเมื่อ 5 May 2015.
- ↑ "4 killed, 18 Bangladesh districts affected in earthquake, says govt". Bdnews24.com. สืบค้นเมื่อ 26 April 2015.
- ↑ "40-indian-nationals-confirmed-dead-in-nepalearthquake-8-are-missing". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 May 2015. สืบค้นเมื่อ 4 May 2015.
- ↑ Ministère des Affaires étrangères et du Développement international. "Népal – Tremblement de terre – Point de situation (11.05.15)". France Diplomatie :: Ministère des Affaires étrangères et du Développement international. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-26. สืบค้นเมื่อ 2015-05-12.
- ↑ "España concluye el rescate en Nepal al dar por muertos a los desaparecidos". El País (ภาษาสเปน). 9 May 2015. สืบค้นเมื่อ 12 May 2015.
- ↑ "Families now convinced 2 Seattle teens died in Nepal quake". KOMO News. Associated Press. 14 May 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-26. สืบค้นเมื่อ 15 May 2015.
- ↑ David Hench (9 June 2015). "Family of Augusta woman acknowledges her death in Nepal earthquake". Portland Press Herald.
- ↑ "Foreigner victims Detail of Earthquake" (PDF). Nepal Police. สืบค้นเมื่อ 3 May 2015.
- ↑ "Fünftes deutsches Erdbeben-Opfer entdeckt". n24.de. 13 May 2015. สืบค้นเมื่อ 14 May 2015.
- ↑ "Nepal earthquake: International aid effort increased". BBC News. 27 April 2015. สืบค้นเมื่อ 27 April 2015.
- ↑ "terremoto Nepal". Emergenza24. 27 April 2015. สืบค้นเมื่อ 27 April 2015.
- ↑ "St. Albert couple confirmed dead following Nepal earthquake". CTV Edmonton. 2 May 2015. สืบค้นเมื่อ 2 May 2015.
- ↑ "Russian Diplomats Missing in Nepal Found Dead". The Moscow Times. 8 May 2015. สืบค้นเมื่อ 8 May 2015.
- ↑ "Kashmiri-origin mountaineer Renu Fotedar dies in Everest avalanche". Hindustan Times. 28 April 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-26. สืบค้นเมื่อ 2 May 2015.
- ↑ "Nepal earthquake: Melbourne woman Renu Fotedar killed". The Sydney Morning Herald. 27 April 2015. สืบค้นเมื่อ 28 April 2015.
- ↑
- "Teadaolevalt on Nepali maavärinas hukkunud üks Eesti kodanik" [One Estonian citizen is known to have died in the Nepal earthquake]. Postimees (ภาษาเอสโตเนีย). 26 April 2015. สืบค้นเมื่อ 28 April 2015.
- "Earthquake claims life of one Estonian". Postimees. สืบค้นเมื่อ 28 April 2015.
- ↑ "Hong Kong resident confirmed dead in Nepal earthquake as 15 more remain missing". SCMP. 28 April 2015. สืบค้นเมื่อ 29 April 2015.
- ↑
- "Rescue team: Body of missing Israeli found in Nepal" [Emergency relief group says 22-year-old Or Asraf's body was located and identified]. The Times of Israel. 3 May 2015. สืบค้นเมื่อ 3 May 2015.
- ↑ "Nepal earthquake death toll expected to rise sharply – live updates". The Guardian. 27 April 2015. สืบค้นเมื่อ 28 April 2015.
- ↑ Desiree Tresa Gasper (8 May 2015). "Body confirmed to be Malaysian in Nepal earthquake". The Star/Asia News Network. AsiaOne. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2015. สืบค้นเมื่อ 8 May 2015.
- ↑ Andrea Vance; Rosanna Price (28 April 2015). "One Kiwi dead after Nepal earthquake". Stuff.co.nz. สืบค้นเมื่อ 28 April 2015.
- ↑ "Nepal earthquake: British gap year student confirmed dead". BBC News. 9 May 2015. สืบค้นเมื่อ 10 May 2015.
- ↑ แนวหน้า. ปีที่ 36 ฉบับที่ 12426. วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558. ISSN 1906-2362. หน้า 7 (ไทย)
- ↑ สยามรัฐ. ปีที่ 65 ฉบับที่ 22645. วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558. ISSN 1686-5502. หน้า 1, 8 (ไทย)
- ↑ พ่อ 'หมออีฟ' เปิดใจสูญเสียลูก ร่ำไห้ไม่น่าด่วนจาก ทั้งที่อนาคตไกล - ไทยรัฐ (ไทย)
- ↑ แสนเสียดาย ! โบราณสถาน มรดกโลกพังยับ แผ่นดินไหวเนปาล ตายพุ่งกว่า 3,200 ศพ (ไทย)
- ↑ Kuensel Online (27 April 2015). "(Untitled)". Facebook. สืบค้นเมื่อ 27 April 2015.
- ↑ Tobgay, Tshering (27 April 2015). "(Untitled)". Facebook. สืบค้นเมื่อ 27 April 2015.
- ↑ "DeSuups loading supplies on special flight bound for Nepal. His Majesty has commanded 54-member medical team to assist in rescue and relief". Twitter.com.
- ↑ "Earthquake: Everything is fine in Bhutan, says minister". OneIndia. 25 April 2015. สืบค้นเมื่อ 25 April 2015.
- ↑ "Bhutan to dispatch medical team to Nepal". Kuensel Online. 25 April 2015. สืบค้นเมื่อ 27 April 2015.
- ↑ "Bhutan's National Flag will fly at half mast today to mourn the loss of lives caused by the massive earthquake on 25 April". Twitter.com.
- ↑ "Japan Starts Emergency Assistance to Nepal over the Great Earthquake". Poverist. 25 April 2015. สืบค้นเมื่อ 25 April 2014.
- ↑ ในหลวง-พระราชินี พระราชทานเงิน 10 ล้าน ช่วยผู้ประสบภัยเนปาล - ไทยรัฐ (ไทย)
- ↑ 'ในหลวง-ราชินี'พระราชทาน เงิน 10 ล้านช่วยชาวเนปาล - เดลินิวส์ (ไทย)
- ↑ สมเด็จพระเทพฯพระราชทานสิ่งของ 5 ตันช่วยเนปาล - โพสต์ทูเดย์ ข่าว[ลิงก์เสีย] (ไทย)
- ↑ น้ำใจไทยไม่แพ้ใคร! 'บิ๊กตู่' จัดเต็ม ส่งทีมแพทย์-บรรเทาทุกข์ ช่วยชาวเนปาล (ไทย)
- ↑ บิ๊กตู่สั่งสธ.-กองทัพส่งความช่วยเหลือให้เนปาล - โพสต์ทูเดย์ ข่าว เก็บถาวร 2015-05-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ไทย)
- ↑ "Shocking news about the earthquake in Nepal – the UK will do all we can to help those caught up in it". Twitter. 25 April 2015.
- ↑ "Nepal earthquake: UK sends humanitarian experts". BBC. 25 April 2015. สืบค้นเมื่อ 25 April 2015.
- ↑ "Nepal earthquake: US to send disaster response team and $1m in aid". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 26 April 2015.
- ↑ "Pope Francis offers prayers for victims of massive Nepal earthquake". Catholic News Agency. สืบค้นเมื่อ 26 April 2015.
- ↑ "Pope Francis prays for the victims of a major earthquake in Nepal". news.va. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-29. สืบค้นเมื่อ 26 April 2015.
- ↑ Pope Francis' reaction to Nepal earthquake includes sending $100,000, catholicnews.com; accessed 1 May 2015.
- ↑ "Safety Check 2015 Nepal Earthquake". Facebook. สืบค้นเมื่อ 25 April 2015.
- ↑ ร่วมด้วยช่วยกัน! เฟซบุ๊ก เปิดให้ตรวจสอบความปลอดภัยของเพื่อน เหตุแผ่นดินไหวเนปาล - ไทยรัฐ (ไทย)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ แผ่นดินไหวในประเทศเนปาล พ.ศ. 2558
- USGS Earthquake Hazards Program on USGS Website
- Deadly earthquake Nepal เก็บถาวร 2018-12-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน on Earthquake Report Website