แบนด์ มิคาเอล โรเดอ

นักวิชาการชาวออสเตรีย

ศาสตราจารย์ ดร. แบนด์ มิคาเอล โรเดอ (Professor Dr. Bernd Michael Rode) เกิดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1946 ในเมือง อินส์บรุค,ออสเตรีย เป็นผู้ริเริ่มการส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยและออสเตรีย ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2527 จนถึงปัจจุบัน ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างไทยและออสเตรียเน้นในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการพัฒนาบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาไทย ความร่วมมือดังกล่าวเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาการ และการเสริมสร้างความสามารถ ในการวิจัยของนักวิชาการไทย รวมทั้งการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีระดับสูงจากออสเตรียสู่สถาบันอุดมศึกษาไทย เช่น โครงการจัดตั้ง Austrian–Thai Centre for Computer Assisted Chemical Education and Research ณ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นการถ่ายทอดการนำซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณผลการวิจัยทางเคมี เป็นต้น

Bernd Michael Rode

ศาสตราจารย์ ดร. แบนด์ มิคาเอล โรเดอ ยังได้ส่งเสริมบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาไทยในเวทีนานาชาติ โดยการเชิญเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาไทยเข้าร่วมมือกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยในทวีปยุโรปและมหาวิทยาลัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Austrian—South-East Asian University Network: ASEA-UNINET) โดยเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้รัฐบาลออสเตรียพิจารณาให้ทุนแก่ประเทศไทยเพิ่มเติม ภายใต้ทุนที่เรียกว่า Technology Grants ซึ่งประกอบด้วยทุนศึกษาระดับปริญญาเอกและทุนวิจัยหลังปริญญาเอก มาตั้งแต่ปี 2544 โดยเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินการให้ทุนดังกล่าวมาตลอด 5 ปี ซึ่งใช้งบประมาณประมาณ 600,000 ยูโร หรือ ประมาณ 29,400,000.00 (ยี่สิบเก้าล้านสี่แสนบาท)

ในช่วงเวลา 30 ปีที่ศาสตราจารย์ ดร. แบนด์ มิคาเอล โรเดอ เป็นผู้แทนรัฐบาลออสเตรียในการส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการระหว่างไทยและออสเตรีย สถาบันอุดมศึกษาไทยได้รับทุนการศึกษาและทุนฝึกอบรมจำนวนมาก ได้แก่ทุนการศึกษาระดับปริญญาเอก ทุนการวิจัย ทุนแลกเปลี่ยนนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัย การส่งศาสตราจารย์อาคันตุกะออสเตรียมาให้บริการทางวิชาการในสถาบันอุดมศึษาไทย และทุนด้านดนตรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 จนถึง 2549 บุคลากรไทยได้รับทุนการศึกษาและฝึกอบรมรวมทั้งสิ้น 381 ทุน โดยแบ่งออกเป็นทุนการศึกษาระดับปริญญาเอกจำนวน 82 ทุน ทุนวิจัยจำนวน 82 ทุน ทุนวิจัยหลังปริญญาเอกจำนวน 10 ทุน ทุนแลกเปลี่ยนนักวิทยาศาสตร์และวิจัยจำนวน 195 ทุน ทุนฝึกอบรมด้านดนตรีจำนวน 12 ทุน และสถาบันอุดมศึกษาไทยได้รับศาสตราจารย์อาคันตุกะออสเตรียจำนวน 28 คน และรับนักวิทยาศาสตร์และวิจัยออสเตรียจำนวน 78 คน


ประวัติ แก้

ในปี ค.ศ. 1964 ศาสตราจารย์ ดร. แบนด์ มิคาเอล โรเดอ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจาก Akademisches Gymnasium Innsbruck และได้เริ่มศึกษาด้านวิชาเคมีที่มหาวิทยาลัยอินส์บรุค (University of Innsbruck) ต่อมาในปี ค.ศ. 1973 ศาสตราจารย์ โรเดอ ได้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกด้วยเกียรตินิยมจากมหาวิทยาลัยอินส์บรุค

ในปี ค.ศ. 1973 ศาสตราจารย์ โรเดอ ได้เริ่มทำงานเป็นผู้ช่วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ที่สถาบัน Institute of Inorganic and Analytical Chemistry มหาวิทยาลัยอินส์บรุค หลังจากทำงานวิจัยในประเทศเยอรมัน ที่มหาวิทยาลัยสตุทการ์ต (University of Stuttgart) และ ที่สถาบัน Karlsruhe Institute of Technology มหาวิทยาลัยคาร์ลชัวฮ์ (University of Karlsruhe) ศาสตราจารย์ โรเดอ ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น รองศาสตราจารย์ ในปี ค.ศ. 1976 และได้รับตำแหน่ง ศาสตราจารย์ ประจำสถาบัน Institute of Inorganic and Theoretical Chemistry มหาวิทยาลัยอินส์บรุค หลังจากหนึ่งปีที่ได้ทำงานวิจัยที่ มหาวิทยาลัยโตเกียว (University of Tokyo) ในระยะเวลาระหว่าง ค.ศ. 2006-2011 ศาสตารจารย์ ได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าของภาควิชา Theoretical Chemistry และหัวหน้าสถาบัน Institute for General Inorganic and Theoretical Chemistry [1]

หนึ่งในผลงานชิ้นใหญ่ของ ศาสตราจารย์ โรเดอ คือการก่อตั้งเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา ASEA-UNINET (Austrian South East Asian University Partnership Network) ในปี ค.ศ. 1994[2][3] การก่อตั้งในช่วงแรกเริ่มขึ้นในช่วงยุค 70 ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างมหาวิทยาลัยอินส์บรุค และ มหาวิทยาลัยในประเทศไทย ต่อมาความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยได้ขยายระหว่าง มหาวิทยาลัยอินส์บรุค (University of Innsbruck), มหาวิทยาลัยเวียนนา(University of Vienna), มหาวิทยาลัยวิทยาศาสต์การเกษตรเวียนนา ( University of Agricultural Sciences Vienna), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ด้วยความพยายามที่จะขยายเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา ศาสตราจารย์ โรเดอ ได้เชิญหมาวิทยาลัยต่างๆที่มีความสนใจในโครงการ จากประเทศ ออสเตรีย, อินโดนีเซีย, ไทย และ เวียดนาม เข้าร่วมการประชุมครั้งแรกของ ASEA-UNINET (ASEA-UNINET Plenary Meeting) ซึ่งจัดขึ้นที่ กรุงโฮจิมินห์ ในปี ค.ศ. 1994 เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษามีสมาชิกทั้งหมด 25 สถาบันจากประเทศ ออสเตรีย, ไทย, อินโดนีเซีย และ เวียดนาม และมีสมาชิกมากกว่า 70 สถาบัน จาก 16 ประเทศในภูมิภาค ยุโรป และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายในเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ. 2014

นอกเหนือจากงานวิจัยและงานก่อตั้งเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา ในระหว่าง ปี ค.ศ. 1998-2001 และ ค.ศ. 2005-2008 ศาสตราจารย์ โรเดอ ยังได้ดำรงตำแหน่ง รองประธาน ของ Commission on Science and Technology for Development, United Nations Commission on Science and Technology for Development (UNCSTD) และได้ดำรงตำแหน่ง ประธาน ในปี ค.ศ. 2004 ซึ่งเป็นชาวออสเตรียคนแรกที่ดำรงตำแหน่งประธานของ United Nations Commission on Science and Technology for Development[4]


งานวิจัย แก้

ผลงานทางด้านงานวิจัยของ ศาสตราจารย์ ดร. แบนด์ มิคาเอล โรเดอ ได้ถูกเผยแพร่ผ่านทาง หนังสือ ทั้งหมด 7 เล่ม, และผลงานตีพิมพ์ในวารสารมากกว่า 440 ฉบับ รวมไปถึง หนังสือที่ ศาสตราจารย์ ได้มีส่วนร่วมอีก 30 เล่ม ซึ่งตามรายงานการอ้างอิงของ ISI Thomson's Web of Science ผลงานการตีพิมพ์และหนังสือเหล่านี้ได้รับการอ้างอิงมากว่า 8300 ครั้ง (ตามรายงานของเดือนพฤษภาคม ปี 2014) ด้วยดัชนีการประเมิณคุณภาพผลงานตีพิมพ์ (Hirsch-index) สูงถึง 41

งานวิจัยของ ศาสตราจารย์ โรเดอ ได้มุ่งเน้นทางด้าน เคมีทฤษฎี เคมีการคำนวณ และ ชีวอนินทรีย์เคมี ผลงานตีพิมพ์เน้นไปหัวข้อดังต่อไปนี้

  • การคำนวณทางเคมีควอนตัมของระบบโมเลกุลและซุปเปอร์โมเลกุล (Quantum chemical calculations of molecular and supermolecular systems)
  • Ab initio Monte Carlo และ MD simulations ของ ของเหลว / สารละลาย (Ab initio Monte Carlo and MD simulations of liquids / solutions)
  • โครงสร้างของ สารละลายอิเล็คโทรไลต (Electrolyte solution structure)
  • Ultrafast Dynamics ของ ตัวถูกละลาย (Ultrafast Dynamics of solutes)
  • การจำลองสารโมเลกุล และ ยา (Molecular Modelling of biomolecules and drugs)
  • QSAR / QSPR
  • วิวัฒนาการทางด้านเคมีของเปปไทด์/โปรตีน และจุดกำเนิดของสิ่งมีชีวิต (Chemical Evolution of Peptides/ Proteins and Origin of Life)

งานและความร่วมมือระหว่างประเทศไทย แก้

1. เป็นผู้ริเริ่มการประสานงานการจัดตั้งโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างไทยกับออสเตรีย ซึ่งเป็นการนำไปสู่ข้อตกลงความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระหว่างไทยกับออสเตรีย ตั้งแต่ปี 2527 จนถึงปัจจุบัน ระหว่างกระทรวงการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมของสาธารณรัฐออสเตรีย และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศิลปะระหว่างไทยกับออสเตรียให้กว้างขวางและเหมาะสมยิ่งขึ้น

2. เป็นอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศิลปะระหว่างไทยกับออสเตรีย ในปี พ.ศ. 2539 โดยมีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน พิจารณาและเสนอความเห็นในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ภายใต้โครงการความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศิลปะระหว่างไทยกับออสเตรีย โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเหมาะสมต่อการพัฒนาของทั้งสองประเทศ อันจะช่วยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างไทยกับออสเตรียให้กว้างขวางและเหมาะสมยิ่งขึ้น อีกทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานในทุกรูปแบบ เพื่อให้อาจารย์ นักศึกษา และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของไทยมีโอกาสได้พัฒนาความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ทางวิชาการชั้นสูง อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสถาบันและพัฒนาประเทศให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ซึ่งในปัจจุบันมีโครงการต่างๆ ประกอบด้วย

2.1 โครงการความร่วมมือทางวิชาการ เป็นโครงการที่ให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาเอก และทุนฝึกอบรม/วิจัย แก่บุคลากรของไทย รัฐบาลออสเตรียจะสนับสนุนด้านงบประมาณในทุกรายการ ยกเว้นค่าบัตรโดยสารเครื่องบินระหว่างประเทศ โดยได้สนับสนุนทุนการศึกษาระดับปริญญาเอก จำนวน 82 ทุน ทุนฝึกอบรมวิจัย จำนวน 82 ทุน และทุนวิจัยหลังปริญญาเอก จำนวน 10 ทุน

2.2 โครงการแลกเปลี่ยนนักวิทยาศาสตร์ระหว่างไทยกับออสเตรีย ทุนนี้จะจัดสรรให้แก่อาจารย์และข้าราชการในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อเดินทางไปปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ฯลฯ ในออสเตรีย เป็นระยะเวลา 1 - 2 เดือน โดยมีวัตถุประสงค์ ที่จะให้อาจารย์และข้าราชการสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้เพิ่มพูนประสบการณ์และความรู้ทางวิชาการแล้วนำกลับใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงการเรียนการสอนในประเทศไทย โดยรัฐบาลไทยสนับสนุนค่าเดินทางไป-กลับ ส่วนค่าที่พักและอาหารในออสเตรีย รัฐบาลออสเตรียเป็นฝ่ายรับผิดชอบ โดยได้มีการแลกเปลี่ยนนักวิทยาศาสตร์ไทยในโครงการนี้ไปแล้ว จำนวน 195 คน และนักวิทยาศาสตร์ออสเตรีย จำนวน 78 คน

2.3 โครงการเชิญศาสตราจารย์อาคันตุกะ (Guest Professors) ชาวออสเตรียมาให้บริการทางวิชาการ 16 สาขา ได้แก่ สาขาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ คอมพิวเตอร์ แพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ สหเวชศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร ครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาปัตยกรรมศาสตร์ บัญชี ภาษา อัญมณีและเครื่องประดับ สาขาศิลปและดนตรี ให้มาทำการสอนในประเทศไทยเป็นระยะเวลา 1 เดือน โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะติดต่อขอประวัติและทำหนังสือตอบรับ คำเชิญของศาสตราจารย์อาคันตุกะ โดยผ่านการเห็นชอบจากรัฐบาลออสเตรียในขั้นตอนสุดท้าย มีศาสตราจารย์อาคันตุกะชาวออสเตรียมาให้บริการทางวิชาการแก่มหาวิทยาลัย/สถาบันไทยหลายแห่งแล้ว เป็นจำนวน 28 ราย

3. เป็นกรรมการในคณะกรรมการดำเนินงานทุนความร่วมมือระหว่างไทยกับออสเตรีย ทำหน้าที่สัมภาษณ์ผู้สมัครรับทุนภายใต้โครงการต่างๆ โดย Prof. Rode จะเดินทางมาประเทศไทยปีละ 2 ครั้ง ในเดือนกุมภาพันธ์ และสิงหาคมของทุกปี เพื่อทำหน้าที่อนุกรรมการและกรรมการในการคัดเลือกผู้สมัครรับทุนดังกล่าวข้างต้น โครงการต่างๆ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยกับออสเตรียได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 จนถึงปัจจุบัน ภายใต้โครงการต่างๆ เหล่านี้ได้ก่อให้เกิดการพัฒนาทางวิชาการทั้งในด้านการศึกษาวิจัย การฝึกอบรม และการแลกเปลี่ยนบุคลากรระหว่างทั้งสองประเทศอย่างต่อเนื่องมากกว่า 20 ปี

4. เป็นประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยของออสเตรีย และมหาวิทยาลัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Austrian-South-East Asian University Network, ASEA-UNINET) ซึ่งจัดตั้งขึ้นในปี 2537 และดำเนินการต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยที่ประชุมอธิการบดีของออสเตรียได้ประกาศให้ประเทศทั้ง 3 ได้แก่ ประเทศไทยประเทศอินโดนีเซีย และประเทศเวียดนาม ให้เป็นประเทศเป้าหมายหลักในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย ปัจจุบันโครงการ ASEA-UNINET ประกอบด้วย สมาชิกที่เป็นมหาวิทยาลัยของประเทศอินโดนีเซีย 4 แห่ง มหาวิทยาลัยประเทศเวียดนาม 5 แห่ง และมหาวิทยาลัยของประเทศไทย 15 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยนเรศวร และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และในปี พ.ศ. 2539 ที่ประชุม ASEA-UNINET ได้ประกาศรับสมาชิกเพิ่มเติมจากมหาวิทยาลัยของทุกประเทศในทวีปยุโรปและมหาวิทยาลัยของประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้มีสถาบันการศึกษาในประเทศต่างๆ เข้าร่วมโครงการเพิ่มเติมคือ มหาวิทยาลัยในประเทศเนเธอร์แลนด์ อังกฤษ เยอรมนี กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี สวีเดน สเปน เดนมาร์ค สาธารณรัฐเช็ค ฟิลิปปินส์ มีสมาชิกที่เป็นมหาวิทยาลัยในภูมิภาคยุโรปและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมประมาณ 50 แห่ง จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ได้มีการแลกเปลี่ยนนักวิทยาศาสตร์ไทยเพื่อไปปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์ในประเทศออสเตรียแล้ว 195 คน และมีนักวิทยาศาสตร์ออสเตรียเข้ามาปฏิบัติงานในประเทศไทย จำนวน 78 คน ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกได้ร่วมกำหนดสาขาความร่วมมือที่จะให้ความสำคัญในลักษณะเครือข่าย ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี ทรัพยากร ความช่วยเหลือและความร่วมมือทางวิชาการอย่างมีประสิทธิภาพและกว้างขวางในสาขาวิชาต่อไปนี้ คือ
1. วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (รวมทั้ง Software Engineering และ Computer Assisted Chemistry
2. เกษตรและเทคโนโลยีอาหาร
3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
4. แพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ
5. เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ
6. เทคโนโลยีชีวภาพ
7. เศรษฐศาสตร์การท่องเที่ยวและการจัดการ
8. ภาษา ภาษาศาสตร์และการแปล
9. โทรคมนาคม
กิจกรรมต่างๆ ที่ได้ดำเนินการภายใต้เครือข่ายความร่วมมือ อาทิ
- โครงการวิจัยร่วมในสาขาที่ให้ความสำคัญ (focus areas) มากกว่า 20 โครงการ
- การแลกเปลี่ยนบุคลากร (โครงการศาสตราจารย์อาคันตุกะ, โครงการแลกเปลี่ยนนักวิทยาศาสตร์)
- ทุนการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา
- การจัดหลักสูตรฝึกอบรม
- การแลกเปลี่ยนนักศึกษา

5. เป็นหัวหน้าโครงการความร่วมมือคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอินสบรุกค์ ภายใต้การลงนามความร่วมมือระหว่างสถาบัน ทั้งสอง เมื่อปี พ.ศ. 2535 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมี Prof. Rode เป็นผู้ประสานงานความร่วมมือดังกล่าวในด้านต่างๆ ดังนี้ คือ

5.1 เพื่อประโยชน์ร่วมกันของอาจารย์และนักศึกษาในด้านการสอนและการวิจัย

5.2 จะมีการแลกเปลี่ยนนักวิทยาศาสตร์อาวุโสและอ่อนอาวุโส ตลอดจนแลกเปลี่ยนนักศึกษา ในลักษณะของ อาจารย์รับเชิญ โครงการวิจัยร่วม การฝึกอบรม และโครงการศึกษา ในระดับปริญญาและบัณฑิตศึกษา การรับรองหลักสูตรการศึกษาและการฝึกอบรมที่จัดขึ้นภายใต้ข้อตกลงนี้ ซึ่งจะต้องรับรองโดยคณบดีของทั้งสองสถาบัน โดยคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย อินสบรุกค์ ได้เดินทางมาเยี่ยมชมคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

5.3 สนับสนุนให้นักวิทยาศาสตร์ และนักศึกษาของทั้งสองคณะเข้าร่วมในโครงการต่างๆ ภายใต้ข้อตกลงนี้ โดยมีอาจารย์ภาควิชาทันตกรรมไปดูงานระบบการเรียนการสอน จำนวน 2 คน ณ มหาวิทยาลัยอินสบรุกค์ เป็นเวลา 2 สัปดาห์

5.4 แลกเปลี่ยนข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ และสาขาที่สนใจระหว่างสถาบันและโรงพยาบาล ที่มีความร่วมมือกันภายใต้ข้อตกลงนี้ โดยมีการทำวิจัยโดยนักวิทยาศาสตร์ของไทย จำนวน 2 คน และมีนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอินสบรุกค์ มาฝึกอบรมและปฏิบัติงานวิจัยด้าน Oral Manifestations of Tropical Disease ณ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

6. ขณะดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนถึงปัจจุบัน เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาทางด้านวิชาการให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการริเริ่มผลักดัน และลงมือปฏิบัติโครงการความร่วมมือทางวิชาการ ทำให้เกิดศูนย์กลางวิจัยและฝึกอบรมทางด้านคอมพิวเตอร์ในภูมิภาคนี้ และยังมีส่วนในการสร้างความร่วมมือทางวิชาการด้านอื่นๆ ในคณะวิทยาศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ อีกทั้งยังช่วยผลักดันให้เกิดศูนย์สารสนเทศทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและพิบัติภัยทางธรรมชาติ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ขึ้นในคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

7. เป็นผู้ริเริ่มโครงการ “ASEA-UNINET Programme Thailand on Place Scholarships Cambodia-Laos-Myanmar” โดยรัฐบาลออสเตรียร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสถาบันอุดมศึกษาไทยที่เป็นสมาชิกเครือข่าย ASEA-UNINET ให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษาประเทศกัมพูชา ลาว และพม่า ให้มาศึกษาหลักสูตรนานาชาติในระดับปริญญาโท ในสาขาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ ณ สถาบันอุดมศึกษาไทยเป็นระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี ซึ่งเริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2550 และหากนักศึกษาที่ได้รับทุนมีผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี รัฐบาลออสเตรียจะให้ทุนไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ณ สถาบันอุดมศึกษาในประเทศออสเตรียต่อไป ซึ่งโครงการดังกล่าวส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาในประเทศเพื่อนบ้านด้วย

Prof. Rode ได้อุทิศตนเพื่อการสอนและการวิจัยด้านเคมีคอมพิวเตอร์อย่างเต็มกำลังความสามารถ ได้ร่วมกันจัดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ไทย - ออสเตรีย เพื่อการศึกษาและการวิจัยที่ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมทั้งทำโครงการเสนอไปยังรัฐบาลออสเตรียเพื่อมอบอุปกรณ์เงินทุนต่างๆ ให้แก่ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทุนการศึกษาและฝึกอบรมสำหรับนิสิตไปเรียนต่อที่ประเทศออสเตรีย เป็นผู้ริเริ่มโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง 4 มหาวิทยาลัย คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเวียนนา และมหาวิทยาลัยอินสบรุกค์ แลกเปลี่ยนบุคลากรเพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการและการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยทั้ง 4 แห่ง และยังได้เป็นประธานจัดการประชุมนานาชาติทางเคมีขึ้นที่กรุงเทพฯ จนได้รับความสำเร็จเป็นอย่างดี และรัฐบาลฝรั่งเศสได้มอบทุนการศึกษาให้กับนิสิตภาควิชาเคมี รวมทั้งทุนไปศึกษาต่อและทำวิจัย ณ ประเทศฝรั่งเศสด้วย


รางวัลและเกียรติยศ แก้

ตามที่ศาสตราจารย์ ดร. แบนด์ มิคาเอล โรเดอ ได้ทำคุณประโยชน์ทางด้านวิชาการและด้านการพัฒนาการศึกษาในระดับอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลายาวนาน ซึ่งมีผลต่อการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยเป็นอย่างมาก ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) ศาสตราจารย์ ดร. แบนด์ มิคาเอล โรเดอ จึงได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)เป็นกรณีพิเศษ[5] เพื่อเป็นการตอบแทนความดีความชอบ เป็นเกียรติประวัติและเป็นกำลังใจในการทำงานเพื่อพัฒนาการศึกษาในระดับอุดมศึกษาให้แก่ประเทศไทย ซึ่งถึงปัจจุบัน มีชาวต่างชาติเพียงไม่กี่คนที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.) นี้

นอกจากนี้ ศาตราจารย์ โรเดอ ยังได้รับ ปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศไทย เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และปริญญากิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัย Gadjah Mada University[6] และ Comenius University Bratislava[7] รวมทั้งยังได้รับรางวัลอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งสามารถสรุปรางวัลสำคัญตามลำดับเวลาได้ดังต่อไปนี้

ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ แก้

  • Hofer, Thomas; Pribil, Andreas; Randolf, Bernhard; Rode, Bernd M. (2005); "Structure and dynamics of solvated Sn(II) in aqueous solution - an ab initio QM/MM MD approach", J. Am. Chem. Soc. 2005, 127(41), p. 14231-14238. DOI:10.1021/ja052700f.
  • Tongraar, A.; Liedl, K. R.; Rode, Bernd M. (1997);"Solvation of Ca2+ In Water Studied By Born-Oppenheimer Ab-Initio QM/MM Dynamics"; J. Phys. Chem. A 1997, 101(35), p. 6299-6309,DOI: 10.1021/jp970963t.
  • Rode, Bernd M.; Schwenk, Christian F., Tongraar, Anan (2004); "Structure and Dynamics of Hydrated Ions - New Insights through Quantum Cechanical Simulation"; J. Mol. Liq. 2004, 110(1-3), p. 105-122. DOI: 10.1016/j.molliq.2003.09.016.
  • Rode, Bernd M.; Schwenk, Christian; Hofer, Thomas; Randolf, Bernhard (2005); "Coordination and ligand exchange dynamics of solvated metal ions"; Coord. Chem. Rev. 2005, 249(24), p. 2993-3006. DOI: doi:10.1016/j.ccr.2005.03.032.
  • Rode, Bernd M.; Hofer, Thomas (2006); "How to Access Structure and Dynamics of Solutions: The Capabilities of Computational Methods", Pure Appl. Chem. 2006, 78(3), p. 525-539. DOI: 10.1351/pac200678030525.
  • Rode, Bernd M.; Hofer, Thomas; Randolf, Bernhard; Schwenk, Christian; Xenides, Demetrios; Vchirawongkwin, Viwat(2006); "Ab initio Quantum Mechanical Charge Field (QMCF) Molecular Dynamics - A QM/MM - MD Procedure for Accurate Simulations of Ions and Complexes"; Theor. Chem. Acc. 2006, 115(2-3), p. 77-85. DOI: 10.1007/s00214-005-0049-1.
  • Hofer, Thomas S.; Randolf, Bernhard R.; Rode, Bernd M. (2008); "Molecular Dynamics Simulation Methods including Quantum Effects"; In: Solvation Effects on Molecules and Biomolecules, Canuto, Sylvio (Eds.), ISBN 978-1-4020-8269-6, Springer, Heidelberg 2008, p. 247-278.
  • Rode,Bernd M.; Hofer, Thomas S.; Pribil, Andreas B.; Randolf, Bernhard R. (2010); "Simulations of Liquids and Solutions Based on Quantum Mechanical Forces"; In: Theoretical and Computational Inorganic Chemistry , van Eldik, Rudi; Harvey, Jeremy (Eds.), ISBN 978-0-12-380874-5, Elsevier, Amsterdam 2010,p. 143-175.
  • Hofer, Thomas S.; Pribil, Andreas B.; Randolf, Bernhard R.; Rode, Bernd M.; "Ab Initio Quantum Mechanical Charge Field Molecular Dynamics - A Nonparametrized First-Principle Approach to Liquids and Solutions"; In: Advances in Quantum Chemistry, Sabin, John R.; Brändas, Erkki (Eds.), ISBN 978-0-12-380898-1, Elsevier, Amsterdam 2010, 213-246.
  • Lutz, Oliver M. D.; Messner, Christoph B.; Hofer, Thomas S.; Glätzle, Matthias; Huck, Christian W.; Bonn, Günther K.; Rode, Bernd M.; "Combined Ab Initio Computational and Infrared Spectroscopic Study of the cis- and trans-Bis(glycinato)copper(II) Complexes in Aqueous Environment"; J. Phys. Chem. Lett. 2013, 4, p. 1502-1506. DOI: 10.1021/jz400288c.
  • Jakschitz, Thomas; Fitz, Daniel; Rode, Bernd Michael (2012); "The origin of first peptides on earth: from amino acids to homochiral biomolecules"; In: Genesis - In The Beginning, Joseph Seckbach (Edp.), ISBN 978-94-007-2940-7, Springer, Dordrecht 2012, p. 469-489.
  • Schwendinger, M. G.; Rode, Bend M.(1998); "Possible Role of Copper and Sodium Chloride in Prebiotic Evolution of Peptides"; Anal. Sci. 1989, 5(4), p. 411-414. DOI: 10.2116/analsci.5.411.
  • Schwendinger, M. G.; Rode, Bend M. (1990); "Copper-Catalyzed Amino Acid Condensation in Water - A Simple Possible Way of Prebiotic Peptide Fromation"; Origins Life Evol. Biosphere 1990, 20(5), p. 401-410. DOI: 10.1007/BF01808134.
  • Rode, Bernd M.; Plankensteiner, Kristof (2013); "Prebiotic Peptides",; In: Handbook of Biologically Active Peptides, Second Edition , Abba J. Kastin (Eds.), ISBN 978-012-3850959, Elsevier, Amsterdam 2013, p. 1899-1903.
  • Jakschitz, Thomas A.; Rode, Bernd M. (2012); "Chemical Evolution from simple inorganic compounds to chiral peptides"; Chem. Soc. Rev. 2012, 41(16), p. 5484-5489. DOI: 10.1039/C2CS35073D.
  • Fitz, Daniel; Jakschitz, Thomas; Rode, Bernd M. (2011); "Salt-Induced Peptide Formation in Chemical Evolution: Building Blocks Before RNA - Potential of Peptide Splicing Reactions"; In: Origins of Life: The Primal Self-Organization, Egel, Richard; Lankenau, Dirk-Henner; Mulkidjanian, Armen Y. (Eds.), ISBN 978-3-642-21624-4, Springer, Heidelberg, Berlin 2011, p. 109-127.
  • Fitz, Daniel; Reiner, Hannes; Rode, Bernd M. (2007); "Chemical evolution toward the origin of life"; Pure Appl. Chem. 2007, 79(12), p. 2101–2117. DOI: 10.1351/pac200779122101.
  • Plankensteiner, Kristof; Reiner, Hannes; Schranz, Benjamin; Rode, Bernd M. (2004); "Prebiotic formation of amino acids in a neutral atmosphere by electric discharge"; Angew. Chem., Int. Ed. 2004, 43, p. 1886-1888. DOI: 10.1002/anie.200353135.

การอ้างอิง แก้

  1. University of Innsburck: Universitätsleben: Dank und Glückwunsch 2011: Bernd M. Rode เก็บถาวร 2014-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, p.22, December 2011, สืบค้นเมื่อ 2014-06-19.
  2. Austrian Foreign Ministry: Bilateral Relations Austria & Thailand Bilaterale Beziehungen mit Thailand, สืบค้นเมื่อ 2014-05-23.
  3. Austrian agency for international mobility and cooperation in education, science and research (OeAD):ASEA UNINET เก็บถาวร 2014-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สืบค้นเมื่อ 2014-06-16.
  4. University of Innsbruck:"Univ.-Prof. Dr. Bernd Michael Rode Präsident der UNCSTD", published by: iPoint - das Informationsportal der Unviversität Innsbruck on June,9th 2004, สืบค้นเมื่อ 2014-06-16.
  5. University of Innsbruck: Innsbrucker Chemiker erhält königliche Ehrung, published by: iPoint - das Informationsportal der Unviversität Innsbruck on November,13th 2007, สืบค้นเมื่อ 2014-06-16.
  6. University of Innsbruck: Erfolgreicher Doktorvater, published by: iPoint - das Informationsportal der Unviversität Innsbruck on February, 1st 2013, สืบค้นเมื่อ 2014-06-16.
  7. Comenuis University Bratislava: Prof. Dr. Bernd Michael Rode, Dr. h. c. เก็บถาวร 2014-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Dezember, 15th 2010, สืบค้นเมื่อ 2014-06-16.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้