เสือ โจรพันธุ์เสือ
เสือ โจรพันธุ์เสือ (อังกฤษ: Crime King) ภาพยนตร์ไทยในปี พ.ศ. 2541 โดยเริ่มออกฉายครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 นำแสดงโดย อำพล ลำพูน, ดอม เหตระกูล, ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ, ศานันทินี พันธุ์ชูจิต, ศุภวัฒน์ อ่ำประสิทธิ์ ร่วมด้วย ร.อ.กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา, ยอดรัก สลักใจ, สุเทพ ถวัลย์วิวัฒนกุล, นนทรีย์ นิมิบุตร, สุริยัน อริยวงศ์โสภณ, ขจรศักดิ์ รัตนนิสสัย กำกับการแสดงโดย ธนิตย์ จิตนุกูล [1]
เสือ โจรพันธุ์เสือ | |
---|---|
กำกับ | ธนิตย์ จิตนุกูล |
อำนวยการสร้าง | นนทรีย์ นิมิบุตร |
นักแสดงนำ | อำพล ลำพูน ดอม เหตระกูล ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ ศานันทินี พันธุ์ชูจิต และ ศุภวัฒน์ อ่ำประสิทธิ์ |
บริษัทผู้สร้าง | |
ผู้จัดจำหน่าย | ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น |
วันฉาย | 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 |
ความยาว | 105 นาที |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ไทย |
ข้อมูลจาก IMDb | |
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย | |
ข้อมูลจากสยามโซน |
เนื้อเรื่อง
แก้ประเทศสยามในยุค พ.ศ. 2489 หลังหลังสงครามโลกครั้งที่สอง แผ่นดินลุกเป็นไฟ ผู้เดือดร้อนไปทั่วกลียุค ข้าวยากหมากแพง เกิดโจรผู้ร้ายออกปล้นสดมภ์ไปทั่วทุกหัวระแหง โดยเฉพาะในภาคกลาง แต่เสือใบ (อำพล ลำพูน) จอมโจรมีชื่อแห่งลพบุรีกลับปล้นคนรวยที่คดโกงเพื่อช่วยคนจน ทางกรมตำรวจจึงเรียก ผู้กองยอดยิ่ง สุวรรณคีรี (ดอม เหตระกูล) นายตำรวจมือปราบเพื่อให้ปราบเสือใบโดยเฉพาะ เสือใบมีลูกน้องคู่กาย ชื่อ เสือยอด สิงห์ปืนคู่ (ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ) ผู้ใช้ปืนคู่เป็นอาวุธ
เมื่อทั้งคู่ได้เจอกัน ผู้กองยอดยิ่งรู้ประวัติว่า เสือใบมิใช่คนธรรมดา แต่เป็นคุณหลวงหนุ่มชื่อ เรวัติ วิชชุประภา เป็นบุตรชายของ พระยาบริรักษ์ประชาราษฎร์ (ร.อ.กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา) อดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ที่ถูกใส่ความหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทำให้ต้องออกจากราชการและยังถูกตามฆ่า ทำให้ลูกชายเพียงคนเดียวต้องหนีเข้าป่าไปเป็นโจร
แม้ผู้กองยอดยิ่งจะพยายามเกลี้ยกล่อมอย่างไร เสือใบก็ไม่อาจเปลี่ยนใจ ท้ายที่สุดทั้งสองก็ต้องดวลปืนตัดสินกันด้วยชีวิต
นักแสดง
แก้- อำพล ลำพูน...เสือใบ / เรวัติ วิชชุประภา
- ดอม เหตระกูล...ผู้กองยอดยิ่ง สุวรรณคีรี
- ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ...เสือยอด สิงห์ปืนคู่
- ศานันทินี พันธุ์ชูจิต...พิไลวรรณ
- ศุภวัฒน์ อ่ำประสิทธิ์...เสือเภา
- ปีเตอร์ ไมอ๊อกซี่...ผู้หมวดมาโนช
- ยอดรัก สลักใจ...หมอเกียรติ
- สุเทพ โฮป...ซัน
- ขจรศักดิ์ รัตนนิสสัย...นิวัฒน์
- ศิริลักษณ์ เถกิงสุข...บุหรง
- ร.อ.กฤษฎา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา...พระยาบริรักษ์ประชาราษฎร์
- คริส หอวัง...หนูติ๋ว
- เขาทราย แกแล็คซี่...เสือม้วย
- วิทิต แลต...เสือเจิด
- กรกฏ ธนภัทร...เสือเชิด
- เจนภพ จบกระบวนวรรณ...นายประเทือง
- นนทรีย์ นิมิบุตร...เสืออุ๋ย
- ขจรศักดิ์ รัตนนิสสัย...นิวัฒน์
- ไกรสีห์ แก้ววิมล...อธิบดีกรมตำรวจ
- ธานินทร์ สงวนวงษ์...ผู้หมวดประสิทธิ์
- วิพุธ กุลวงศ์...ผู้หมวดสะท้าน
- สมเดช สันติประชา...นายสนิท
- อุดม อุดมโรจน์...นายชำนาญ
- ศักดิ์ชัย ศรีบุญนาค...เสือผิว
- ฤทธิชัย รอดศัตรู...เสือช้อย
- เดชา เสนาวัฒน์...เสือกบ
- เขมชาติ เย็นนุ่ม...เสือปาด
- ธีรนิตต์ ธำรงค์วินิจฉัย...นายโกสิน
- รัชช์ บุญชุ่ม...ผู้กองอรรถ
- จักรกฤษ มณีนิล...ผู้หมวดสมยศ
- กาญจนา แสงสี...บัว
- เจนจิรา จันทร์สุดา...กระถิน
- พรรณี โต๊ะนายี...ราตรี
- มนัสชนก มณีทอง...บัวผัน
- ไชยา สุดใจดี...เสือดี
- สุวัจนี ไชยมุสิก...สาวที่นั่งบนรถประจำทาง
- ดร. อภิวัฒน์ วัฒนางกูร...เลขานุการรัฐมนตรี
- ไมเคิล เวลสช์...เสือหน่อย
- สุชิน ควรสงวน...ตำรวจที่มาต้อนรับผู้กองยอดยิ่ง
เบื้องหลัง
แก้เสือ โจรพันธุ์เสือ ดัดแปลงมาจากนวนิยายเรื่อง เสือใบ ของป. อินทรปาลิต นักเขียนชื่อดังในอดีต เดิมทีผู้สร้างจะให้ชื่อว่า 72 ชั่วโมง จับตายเสือใบ แต่ได้เปลี่ยนเพื่อความเหมาะสม เป็นภาพยนตร์ในการแสดงเรื่องแรกของอำพล ลำพูน หลังจากไม่ได้แสดงภาพยนตร์มานานนับสิบปี และเป็นบทบาทการแสดงครั้งแรกด้วยของดอม เหตระกูล นายแบบหนุ่มลูกชายเจ้าของหนังสือพิมพ์เดลินิวส์
การผลิต
แก้การถ่ายทำภาพยนตร์
แก้ถ่ายทำทั้งที่ กรุงเทพมหานคร, เทศบาลนครเชียงใหม่ และภาคใต้ โดยจัดฉากให้เหตุการณ์เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2489
สื่อตามบ้าน
แก้ภาพยนตร์ได้วางจำหน่ายเป็นดีวีดี ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2542
รางวัล
แก้บทบาทการแสดงของทั้งอำพล ลำพูน และดอม เหตระกูล ทำให้ได้รับรางวัลตุ๊กตาทองสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม และนักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. 2541 ไปครอง นอกจากนี้ภาพยนตร์ก็ได้รับรางวัลไปอีกหลายรางวัลด้วยกัน
- ผู้แสดงนำฝ่ายชายยอดเยี่ยม (อำพล ลำพูน)
- ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (ดอม เหตระกูล)
- กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (ฑีฆายุ ธรรมนิตยกุล, สาธิต ประดิษฐ์สาร, ขวัญลดา แซ่ลิ้ม, สมพร สิริธวลิตร)
- ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม (กมลวรรณ วิริยะภักดี, เสนอ เลาะวิถี, รัชฎาวรรณ อ่อนเผ่า)
- แต่งหน้าแต่งผมยอดเยี่ยม (ณัฐวุฒิ เพชรทอง, มงคลการ เมืองทิพย์)
- ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ)
- ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (ศิริลักษณ์ เถกิงสุข)
- ถ่ายภาพยอดเยี่ยม (วิเชียร เรืองวิชญกุล)
- กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (ฑีมายุ ธรรมนิตยกุล, สาธิต ประดิษฐ์สาร, ขวัญลัดดา แซ่นิ้ม และสมพร ศิริชวลิต)
- เครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม (กมลวรรณ วิริยะภักดี, เสนอ เลาะวิถี และ รัชฎาวรรณ อ่อนเผ่า)
อ้างอิง
แก้- ↑ เสือ โจรพันธุ์เสือ
- ↑ "รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 20 ประจำปี พ.ศ. 2541". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-02. สืบค้นเมื่อ 2010-08-20.
- ↑ "รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 7". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-24. สืบค้นเมื่อ 2010-08-20.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้