เสือพูมา หรือ เสือคูการ์ หรือ สิงโตภูเขา (อังกฤษ: cougar, puma, mountain lion, mountain cat, catamount, panther; ชื่อวิทยาศาสตร์: Puma concolor) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในวงศ์เสือและแมว (Felidae) มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา เป็นแมวรักสันโดษขนาดใหญ่ที่มีการกระจายพันธุ์กว้างที่สุดในบรรดาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดใหญ่ในซีกโลกตะวันตก[3] จากยูคอนในประเทศแคนาดาถึงทางตอนใต้ของเทือกเขาแอนดีสในอเมริกาใต้ เป็นสัตว์ที่ปรับตัวได้เก่ง สามารถพบในถิ่นอาศัยเกือบทุกแบบในทวีปอเมริกา เป็นสัตว์จำพวกแมวที่หนักเป็นอันดับสองในซีกโลกตะวันตก รองจากเสือจากัวร์ แม้ว่าเสือพูมาจะมีขนาดใหญ่มันกลับมีพันธุกรรมใกล้ชิดกับแมวบ้านมากกว่าสิงโตคาดว่าสืบเชื้อสายมาจากเสือชีตาห์อเมริกาที่สูญพันธุ์ไปแล้ว

เสือพูมา[1]
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 0.3–0Ma
สมัยไพลสโตซีนตอนกลาง – สมัยโฮโลซีน
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix II (CITES)[2][a]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Mammalia
อันดับ: สัตว์กินเนื้อ
Carnivora
อันดับย่อย: เฟลิฟอเมีย
Feliformia
วงศ์: เสือและแมว
Felidae
วงศ์ย่อย: แมว
Felinae
สกุล: Puma
Puma
(Linnaeus, 1771)[1]
สปีชีส์: Puma concolor
ชื่อทวินาม
Puma concolor
(Linnaeus, 1771)[1]
ชนิดย่อย

และอื่น ๆ

การกระจายพันธุ์ของเสือพูมา (ไม่มีข้อมูลยืนยันการมีตัวตนในดินแดนทางเหนือของแคนาดา, สหรัฐฝั่งตะวันออก และรัฐอะแลสกา)

ด้วยความเป็นนักล่าที่มีความสามารถในการย่องเงียบและซุ่มโจมตี ทำให้เสือพูมาสามารถล่าเหยื่อได้หลากหลาย เหยื่ออันดับแรก ประกอบด้วย สัตว์มีกีบ เช่น กวาง, กวางเอลก์, กวางมูส, และแกะบิ๊กฮอร์น รวมทั้งปศุสัตว์อย่าง วัวบ้าน, ม้า และแกะ นอกจากนี้ยังล่าสัตว์ขนาดเล็กอย่างแมลงและสัตว์ฟันแทะ เสือพูมาชอบอาศัยในบริเวณที่มีพุ่มไม้และก้อนหินหนาแน่นเพื่อการหลบซ่อน แต่มันก็สามารถอาศัยในพื้นที่เปิดได้เช่นกัน เสือพูมาเป็นสัตว์ที่มีอาณาเขต มีความหนาแน่นของประชากรในแต่ละบริเวณต่ำ ขนาดของเขตแดนแต่ละเขตขึ้นกับ ภูมิประเทศ พืชพรรณ และความอุดมสมบูรณ์ของเหยื่อ แม้เป็นนักล่าขนาดใหญ่ แต่มันไม่จำเป็นต้องเป็นนักล่าที่โดดเด่นของบริเวณนั้น เพราะมันต้องแข่งขันในการล่ากับนักล่าอื่น เช่น เสือจากัวร์, หมาป่าสีเทา, หมีดำ, และหมีกริซลีย์ มันเป็นสัตว์สันโดษและหลีกเลี่ยงมนุษย์ การโจมตีมนุษย์นั้นเกิดขึ้นน้อยมาก แม้ว่าปัจจุบันจะมีความถี่เพิ่มขึ้น[4]

เพราะการล่าสัตว์มากเกินไปของชาวยุโรปที่มาตั้งถิ่นฐานในอเมริกาและการเจริญของสังคมมนุษย์ในถิ่นอาศัยของเสือพูมา ทำให้ประชากรของเสือพูมาลดลงในพื้นที่กระจายพันธุ์ส่วนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เสือพูมาได้สูญพันธุ์ไปแล้วในทางตะวันออกของอเมริกาเหนือในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ยกเว้น ประชากรส่วนน้อยในรัฐฟลอริดา อย่างไรก็ตาม ในทศวรรษที่ผ่านมาประชากรได้ย้ายจากทางทิศตะวันออกไปในส่วนตะวันตกของดาโกตาส์, รัฐเนแบรสกา, และรัฐโอคลาโฮมา มีการยืนยันถึงเพศผู้ผ่านถิ่นในคาบสมุทรบนของรัฐมิชิแกนและรัฐอิลลินอยส์ที่ซึ่งมันถูกยิงในเขตเมืองของชิคาโก [5][6][7] และอย่างน้อยหนึ่งตัวที่สังเกตพบในตะวันออกไกลของรัฐคอนเนตทิคัต[8][9]

ลูกผสม

แก้

ในศตวรรษที่ 19 และ 20 มีการพยายามเลี้ยงเสือพูมาที่ผสมกับแมวขนาดใหญ่ต่างกันหลายตัวในสวนสัตว์และมีรายงานว่าประสบความสำเร็จ ได้แก่เสือพูมาผสมเสือดาว (เรียกว่า พูมาพาร์ด) และ เสือพูมาผสมเสือจากัวร์[10]

นอกจากนี้ ยังมีรายงานการผสมพันธุ์ระหว่างเสือพูมากับบอบแคตในป่า โดยที่ลูกผสมมีชื่อเรียกขานว่า "บูการ์" (bougar)

นอกจากนั้น ยังมีการผสมพันธุ์อย่างน้อยหนึ่งครั้งระหว่างเสือพูมาและโอเซลอตเกิดขึ้นในสวนสัตว์[11]

หมายเหตุ

แก้
  1. ประชากรในคอสตาริกาและปานามาอยู่ใน Appendix I

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Wozencraft, W. Christopher (16 November 2005). "Order Carnivora (pp. 532-628)". In Wilson, Don E., and Reeder, DeeAnn M., eds. Mammal Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference (3rd ed.). Baltimore: Johns Hopkins University Press, 2 vols. (2142 pp.). pp. 544–45. ISBN 978-0-8018-8221-0. OCLC 62265494.
  2. 2.0 2.1 Nielsen, C.; Thompson, D.; Kelly, M. & Lopez-Gonzalez, C. A. (2016) [errata version of 2015 assessment]. "Puma concolor". IUCN Red List of Threatened Species. 2015: e.T18868A97216466. doi:10.2305/IUCN.UK.2015-4.RLTS.T18868A50663436.en. สืบค้นเมื่อ 16 January 2022.
  3. J. Agustin Iriarte; William L. Franklin; Warren E. Johnson; Kent H. Redford (1990). "Biogeographic variation of food habits and body size of the America puma". Oecologia. 85 (2): 185. doi:10.1007/BF00319400. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-23. สืบค้นเมื่อ April 4, 2007.
  4. McKee, Denise (2003). "Cougar Attacks on Humans: A Case Report". Wilderness and Environmental Medicine. Wilderness Medical Society. 14 (3): 169–73. doi:10.1580/1080-6032(2003)14[169:CAOHAC]2.0.CO;2. PMID 14518628. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-24. สืบค้นเมื่อ May 20, 2007.
  5. "The Cougar Network – Using Science to Understand Cougar Ecology". Cougarnet.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-18. สืบค้นเมื่อ February 16, 2011.
  6. "Trail cam photo of cougar in the eastern Upper Peninsula. Loc... on Twitpic". Twitpic.com. November 5, 2009. สืบค้นเมื่อ February 16, 2011.
  7. "Indiana confirms mountain lion in Green County". Poorboysoutdoors.com. May 10, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-11. สืบค้นเมื่อ February 16, 2011.
  8. "Mountain lion run over in Conn. had traveled 1,500 miles". msnbc.com. July 26, 2011. สืบค้นเมื่อ July 26, 2011.
  9. NPR News. "Connecticut Mountain Lion Likely Came From The Black Hills". NPR. สืบค้นเมื่อ 28 July 2011.
  10. "Pumapard & Puma/Jaguar Hybrids".
  11. Dubost, G.; Royère, J. Y. (1993). "Hybridization between ocelot (Felis pardalis) and puma (Felis concolor)". Zoo Biology. 12 (3): 277–283. doi:10.1002/zoo.1430120305.

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้