เสือดำ เป็นจอมโจรเมืองสุพรรณ ร่วมสมัยกับ เสือใบ, เสือฝ้าย, เสือหวัด, เสือมเหศวร ออกปล้นในพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันตก เช่น จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

นายดำ สะราคำ
เกิดจังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต30 มกราคม พ.ศ.2492
จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย
สัญชาติไทย
อาชีพชาวนา, โจร

ประวัติ

แก้

เสือดำ มีชื่อจริงว่า นายดำ นามสกุล สะราคำ เกิดที่บ้านดอนมะเกลือ ตำบลป่าสะแก อำเภอเดิมบาง (ปัจจุบันคืออำเภอเดิมบางนางบวช) จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 8 คน ในครอบครัวประกอบอาชีพเกษตรกรรม (ทำนา) โดยบิดารับราชการเป็นกำนันตำบลป่าสะแก

วัยเยาว์ เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนวัดป่าสะแก จวบจนสำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จึงช่วยครอบครัวประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยทำหน้าที่เลี้ยงโค กระบือ

เนื่องจากบิดาเป็นกำนัน จึงทำให้นายดำมีนิสัยไม่เกรงกลัวผู้ใด คบเพื่อนเกเร ชักชวนไปในทางทุจริตผิดกฏหมาย เช่น เกะกะระราน ลักเล็กขโมยน้อย จวบจนอายุครบอุปสมบท บิดาจึงให้บรรพชาอุปสมบทพัทธสีมาวัดป่าสะแก โดยจำพรรษาอยู่ที่วัดดอนมะเกลือ ระยะเวลา 1 พรรษา จึงลาสิกขาออกมา[1]

ชีวิตระหว่างที่เป็นเสือ

แก้

แม้ผ่านการบวชเรียนมาแล้ว แต่นายดำก็ยังคงประพฤติตัวเช่นเดิม ชักชวนพรรคพวกไปสมัครเป็นสมาชิกชุมโจรเสือพรหม ที่บ้านหนองหญ้าปล้อง (บ้านหนองปล้อง) อำเภอนางบวช (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอสามชุก และแยกเป็นอำเภอหนองหญ้าไซ) จังหวัดสุพรรณบุรี

อยู่กับเสือพรหมได้ราว 3 ปี เสือพรหมออกปล้นในเขตพื้นที่อำเภอศรีประจันต์ แล้วถูกเจ้าหน้าที่วิสามัญฆาตกรรม ส่วนเสือดำและพรรคพวกคนอื่นๆ หลบหนีไปได้[1] ชุมโจรเสือพรหมจึงขาดหัวหน้า สมาชิกแตกแยกออกเป็นกลุ่มเสือแบน เสือดำ เสือเว้า ไล่ฆ่ากันเองเพื่อชิงความเป็นใหญ่[2]

ชุมโจรเสือดำมีเอกลักษณ์คือมักแต่งกายด้วยเสื้อผ้าหรือหมวกสีดำ ชุมโจรใหญ่ตั้งอยู่ที่ไร่อ้อย ใกล้วัดขวางเวฬุวัน อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นชุมโจรขนาดใหญ่ มีจำนวนสมาชิกเป็นรองเพียงชุมโจรเสือฝ้าย ทั้งสองชุมไม่ถูกกัน จึงแบ่งแยกอาณาเขต[2] พื้นที่แถบตะวันออก (แม่น้ำ ตลาดท่าช้าง ตัวอำเภอเดิมบางนางบวช) เป็นเขตชุมโจรเสือฝ้าย ส่วนพื้นที่แถบตะวันตก (ป่า ไร่ ทุ่งนา ตลาดป่าสะแก) เป็นเขตชุมโจรเสือดำ โดยพื้นที่ทั้งสองชุมโจรมีระยะห่างกันราว 5 - 6 กิโลเมตร

เสือดำมีลักษณะนิสัยเหี้ยมโหด เสพติดฝิ่น สุรา และความครื้นเครง ทรัพย์สินที่ปล้นได้ส่วนใหญ่จึงหมดไปกับอบายมุข[1]

มรณกรรม

แก้

เจ้าหน้าที่ตำรวจสืบทราบว่าเสือดำมักไปพักพิงอยู่กับผู้ใหญ่แผน ดอกมะลิป่า ผู้ใหญ่บ้านหนองโสน (ตำแแหน่งในขณะนั้น) อำเภอพนมทวน (ต่อมาแยกเป็นอำเภอเลาขวัญ) จังหวัดกาญจนบุรี จึงขอให้ผู้ใหญ่แผนร่วมมือปราบปรามเสือดำ

ขณะเสือดำพาพรรคพวกพักพิงอยู่ที่บ้านหนองโสน ผู้ใหญ่แผนจึงออกอุบายจัดงานเลี้ยงกลางลานหมู่บ้าน โดยมีข้อห้ามพกพาอาวุธทุกชนิดเข้าในงาน กระทั่งเวลาค่ำขณะทุกคนกำลังนั่งล้อมวงสังสรรค์ เมื่อสบโอกาสผู้ใหญ่แผนกับชาวบ้านจึงร่วมกันปลิดชีพเสือดำและพรรคพวก[2]

เสือดำในวัฒนธรรมร่วมสมัย

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 สำนักงานจังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย กระทรวงมหาดไทย. (2528). ประวัติเสือดำ. ใน ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดสุพรรณบุรี. หน้า 391 - 394. สุพรรณบุรี: มนัสการพิมพ์.
  2. 2.0 2.1 2.2 มนัส โอภากุล. (2540, พฤษภาคม). สุพรรณเป็นเมืองโจร เมืองคนดุจริงหรือ?. ศิลปวัฒนธรรม. 18(7): 90 - 101.
  3. "เสือดำ (2494)". ไทยบันเทิง.
  4. "สามเสือสุพรรณ (2524)". ไทยบันเทิง.
  5. "ฟ้าทะลายโจร (2543)". ไทยบันเทิง.
  6. "ขุนพันธ์ 3 (2566)". ไทยบันเทิง.
  7. WorkpointOfficial (2023-02-15), The Masterpiece เวทีบันลือโลก | EP.06 | เสือดำ, โหมโรง | 15 ก.พ.66 Full EP, สืบค้นเมื่อ 2024-05-29