เสาอโศก หรือ อโศกสตมภ์ เป็นหมู่เสามอนอลิธิกที่พบกระจัดกระจายอยู่ทั่วอนุทวีปอินเดีย ปรากฏจารึกพระบรมราชโองการของจักรพรรดิอโศกแห่งเมารยะ ผู้ครองราชย์ระหว่าง 268 ถึง 232 ปีก่อนคริสตกาล[2] จักรพรรดิอโศกทรงใช้คำว่า Dhaṃma thaṃbhā (ธมฺมถมฺภา มาจาก ธรรมสตมภ์) อันแปลว่า "เสาแห่งธรรม" ในการเรียกเสาเหล่านี้[3][4] เสาเหล่านี้เป็นอนุสรณ์อันสำคัญของสถาปัตยกรรมอินเดีย และเสาส่วนใหญ่เป็นหลักฐานแสดงถึงเทคโนโลยีการขัดเงาแบบเมารยะ ในปัจจุบันมีการค้นพบเสาจำนวน 20 เสาที่ยังหลงเหลือถึงปัจจุบัน ในจำนวนนี้มีบางเสาที่ยังปรากฏจารึกพระบรมราชโองการอยู่ ในขณะที่มีเพียงไม่กี่เสาเท่านั้นที่ยังปรากฏหัวเสารูปสัตว์ และพบหัวเสาในสภาพสมบูรณ์เพียงเจ็ดชิ้นที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบันเท่านั้น[5] มีเสาอโศกจำนวนสองเสาที่ถูกขนย้ายภายใต้พระราชดำริของตุฆลักฟีรูซ ชาห์ไปไว้ที่ราชธานีของรัฐสุลต่านเดลี[6] และอีกหลายเสาที่ถูกขนย้ายโดยจักรพรรดิของจักรวรรดิโมกุล และมีการรื้อถอนหัวเสาที่เป็นรูปสัตว์ออก[7] ในบรรดาเสาที่ค้นพบนั้น ค่าเฉลี่ยของความสูงอยู่ที่ 12 ถึง 15 เมตร และแต่ละเสาอาจมีน้ำหนักมากถึง 50 ตัน บางเสาปรากฏร่องรอยว่าถูกลากมาไว้จุดที่ตั้งเสาในปัจจุบันเป็นระยะทางหลายไมล์[8]

บรรดาเสาอโศก
หนึ่งในบรรดาเสาอโศกที่ไวศาลี
วัสดุหินทราย
ช่วงเวลา/วัฒนธรรม300 ปีก่อนคริสตกาล

เสาอโศกเป็นหนึ่งในบรรดาประติมากรรมเก่าแก่ที่สุดของอินเดียที่หลงเหลือมาจนปัจจุบัน มีเพียงซากของเสาที่เป็นไปได้ว่าเก่าแก่กว่า คือปาฏลีปุตรสตมภศีรษะ สันนิษฐานในกว่าในยุคสามร้อยปีก่อนคริสตกาลนั้น งานก่อสร้างของอินเดียนิยมใช้ไม้เป็นหลัก ส่วนการใช้หินเริ่มเข้ามาในภายหลังการติดต่อกับชาวกรีกและเปอร์เซียเท่านั้น[9] ภาพกราฟิกของส่วนหัวของเสาอโศกนำมาใช้เป็นตราแผ่นดินของอินเดียนับตั้งแต่ปี 1950 จนถึงปัจจุบัน[10]

เสาอโศกทั้งหมดสร้างขึ้นในอารามของศาสนาพุทธ หรือในสถานที่สำคัญในพระประวัติของพระโคตมพุทธเจ้ารวมถึงแหล่งจาริกแสวงบุญ บางจารึกบนเสาปรากฏการระบุว่าเสานั้นส่งมอบให้กับสงฆ์หรือชี[11] บางเสาสร้างขึ้นเพื่อระลึกการเสด็จพระราชดำเนินของจักรพรรดิอโศก เสาส่วนใหญ่พบในพื้นที่ที่ปัจจุบันคือรัฐพิหาร, รัฐอุตตรประเทศ, รัฐมัธยประเทศ และบางส่วนของรัฐหรยาณา

รายชื่อเสาทั้งหมด

แก้

เสาอโศกห้าเสา สองเสาที่รามปูรวะ, หนึ่งเสาที่ไวศาลี, อรราช และ นันทานครห์ เป็นไปได้ว่าสร้างขึ้นเพื่อเป็นตำแหน่งปักของเส้นทางพระราชดำเนินโบราณจากปาฏลีบุตรไปยังเนปาล เสาอีกจำนวนมากถูกเคบื่อนย้ายโดยจักรวรรดิโมกุลและรื้อถอนหัวเสาออก[7]

รายชื่อของเสาที่ปรากฏพบในปัจจุบัน มีดังต่อไปนี้[12][13]

รายชื่อเสาที่ยังคงตั้งอยู่หรือปรากฏจารึกของพระเจ้าอโศก

แก้
 
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ของเสา

ซากเสาที่พบที่อมราวตียังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ จารึกของเสาปรากฏอักษรพราหมี 6 บรรทัดที่ยากต่อการแปล มีเพียงคำว่า วิชย (ชัยชนะ) ที่แปลออกมาได้ เป็นไปได้ว่าอาจเป็นเสาอโศกเช่นกัน[14] ซีร์คาร์ นักวิชาการผู้ศึกษาเสานี้อย่างละเอียดเชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งของบรรดาเสาอโศก[15]

เสาที่ยังคงตั้งอยู่ที่เสาที่มีจารึกปรากฏ

เสาที่ไม่ปรากฏจารึก

แก้

ในปัจจุบันมีการค้นพบซากเสาจำนวนมาก และหลายเสาที่ไม่ปรากฏจารึกพระเจ้าอโศก เช่น เสาอโศกที่โพธคยา, กาวสัมพี, โคติหว, ปรหลัทปุระ (ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ วิทยาลัยสันสกฤตวาราณสี[17]), ฟาเตฮาบาด, โภปาล, สาทครลี, อุทัยคีรี, กุสินคร, อารราห์, พัสตี, ภิขณปหรี, พุลันฑีบาฆ (ปาฏลีบุตร), สันทัลปู และ ไภโรน[18] which was destroyed to a stump during riots in 1908.[19] เป็นต้น

ชิ้นส่วนเสาอโศกที่ไม่มีจารึก

อ้างอิง

แก้
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 Buddhist Architecture, Huu Phuoc Le, Grafikol, 2010 p.36-40
  2. Bisschop, Peter C.; Cecil, Elizabeth A. (May 2019). Copp, Paul; Wedemeyer, Christian K. (บ.ก.). "Columns in Context: Venerable Monuments and Landscapes of Memory in Early India". History of Religions. University of Chicago Press for the University of Chicago Divinity School. 58 (4): 355–403. doi:10.1086/702256. ISSN 0018-2710. JSTOR 00182710. LCCN 64001081. OCLC 299661763.
  3. Inscriptions of Asoka. New Edition by E. Hultzsch (ภาษาสันสกฤต). 1925. p. 132, Edict No 7 line 23.
  4. Skilling, Peter (1998). Mahasutras (ภาษาอังกฤษ). Pali Text Society. p. 453. ISBN 9780860133209.
  5. Himanshu Prabha Ray (7 August 2014). The Return of the Buddha: Ancient Symbols for a New Nation. Routledge. p. 123. ISBN 9781317560067.
  6. India: The Ancient Past: A History of the Indian Subcontinent from c. 7000 BCE to CE 1200, Burjor Avari Routledge, 2016 p.139
  7. 7.0 7.1 Krishnaswamy, 697-698
  8. "KING ASHOKA: His Edicts and His Times". www.cs.colostate.edu. สืบค้นเมื่อ 29 October 2017.
  9. India: The Ancient Past: A History of the Indian Subcontinent from c. 7000 BCE to CE 1200, Burjor Avari, Routledge, 2016 p.149
  10. State Emblem, Know India india.gov.in
  11. Companion, 430
  12. Mahajan V.D. (1960, reprint 2007). Ancient India, S.Chand & Company, New Delhi, ISBN 81-219-0887-6, pp.350-3
  13. Singh, Upinder (2008). A History of Ancient and Early Medieval India: From the Stone Age to the 12th Century. New Delhi: Pearson Education. p. 358. ISBN 978-81-317-1677-9.
  14. Buddshit Architecture, Le Huu Phuoc, Grafikol 2009, p.169
  15. Sircar, D. C. (1979). Asokan studies. pp. 118–122.
  16. Sircar, D. C. (1979). Asokan studies. p. 118.
  17. Mapio
  18. Asoka by Radhakumud Mookerji p.85
  19. Buddhist Architecture, Le Huu Phuoc, Grafikol 2009, p.40
  20. Geary, David (2017). The Rebirth of Bodh Gaya: Buddhism and the Making of a World Heritage Site (ภาษาอังกฤษ). University of Washington Press. p. 209 Note 1. ISBN 9780295742380.