ปาฏลีบุตร
ปาฏลีบุตร (IAST: Pāṭaliputra) เป็นนครในอินเดียโบราณที่ติดกับปัฏนาในปัจจุบัน[1] เดิมสร้างขึ้นโดย พระเจ้าอชาตศัตรู เจ้าแห่งแคว้นมคธใน 490 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในฐานะป้อมขนาดเล็ก (Pāṭaligrāma) ใกล้แม่น้ำคงคา[2] พระเจ้าอุทัยภัทรทรงวางรากฐานเมืองปาฏลีบุตรที่จุดบรรจบกันระหว่างแม่น้ำ Son กับแม่น้ำคงคา
แปลนเมืองปาฏลีบุตร เทียบกับปัฏนาในปัจจุบัน | |
ชื่ออื่น | Pātaliputtā (บาลี) |
---|---|
ที่ตั้ง | อำเภอปัฏนา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย |
ภูมิภาค | เอเชียใต้ |
พิกัด | 25°36′45″N 85°7′42″E / 25.61250°N 85.12833°E |
ค่าระดับความสูง | 53 m (174 ft) |
ความยาว | 14.5 กิโลเมตร (9.0 ไมล์) |
ความกว้าง | 2.4 กิโลเมตร (1.5 ไมล์) |
ความเป็นมา | |
ผู้สร้าง | พระเจ้าอชาตศัตรู |
สร้าง | 490 ปีก่อนคริสต์ศักราช |
ละทิ้ง | กลายเป็นปัฏนาในสมัยใหม่ |
เกี่ยวเนื่องกับ | หรยังกะ, ศิศุนาค, นันทะ, เมารยะ, ศุงคะ, คุปตะ, ปาละ |
ผู้บริหารจัดการ | กรมสำรวจโบราณคดีอินเดีย |
เมืองนี้กลายเป็นเมืองหลวงของมหาอำนาจในอินเดียโบราณ เช่น จักรวรรดิศิศุนาค (ป. 413–345 ปีก่อน ค.ศ.) จักรวรรดินันทะ (ป. 460 หรือ 420 – 325 ปีก่อน ค.ศ.) จักรวรรดิเมารยะ (ป. 320–180 ปีก่อน ค.ศ.) จักรวรรดิคุปตะ (ป. ค.ศ. 320–550) และจักรวรรดิปาละ (ป. ค.ศ. 750–1200) ในสมัยเมารยะ เมืองนี้เป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยMegasthenes นักการทูต นักเดินทาง และนักประวัติศาสตร์ชาวกรีก ระบุว่า ในสมัยจักรวรรดิเมารยะ (ป. 320–180 ปีก่อน ค.ศ.) ปาฏลีบุตรเป็นนครแห่งแรกของโลกที่มีรูปแบบการปกครองตนเองในท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพสูง[3] ในสมัยใหม่ ลอเรนซ์ วัดเดลล์เป็นบุคคลแรกที่ระบุที่ตั้งของเมืองนี้เมื่อ ค.ศ. 1892 ผ่านการตีพิมพ์ Discovery Of The Exact Site Of Asoka's Classic Capital[4] มีการขุดค้นทางโบราณคดีในบริเวณใกล้เคียงปัฏนาสมัยใหม่อย่างกว้างขวาง[5][6] การขุดค้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 รอบปัฏนาปรากฏหลักฐานกำแพงปราการขนาดใหญ่ชัดเจน ซึ่งรวมทั้งโครงไม้เสริม[7][8]
ศัพทมูลวิทยา
แก้ในภาษาสันสกฤต "Pāṭali-" สื่อถึงต้น pāṭalī (Bignonia suaveolens)[9] ส่วน "-putrá" (पुत्र) แปลว่า "ลูกชาย"
ศัพทมูลวิทยาแบบดั้งเดิมอันหนึ่ง[10]ระบุว่าเมืองนี้ตั้งชื่อตามพืช[11] รายงานจาก Mahāparinibbāṇa Sutta (พระสูตรที่ 16 ของทีฆนิกาย) ปาฏลีบุตรเป็นสถานที่ "ที่ฝักของต้น Pāṭali แตกออก"[12] ในขณะที่รายงานหนึ่งระบุว่า Pāṭaliputra หมายถึงบุตรแห่ง Pāṭali ผู้เป็นพระราชธิดาในราชา Sudarsan องค์หนึ่ง[13] เนื่องจากเมืองนี้เดิมมีชื่อว่า Pāṭali-grāma (หมู่บ้าน "Pāṭali") ทำให้นักวิชาการบางส่วนเชื่อว่า Pāṭaliputra เป็นรูปดัดแปลงจาก Pāṭalipura, "เมือง Pāṭali"[14] ปาฏลีบุตรยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า กุสุมาปุระ (นครดอกไม้)
อ้างอิง
แก้- ↑ "Unravelling Pataliputra".
- ↑ Kulke, Hermann; Rothermund, Dietmar (2004), A History of India, 4th edition. Routledge, Pp. xii, 448, ISBN 978-0-415-32920-0.
- ↑ Schwanbeck, E.A. (4 October 2008). Ancient India as described by Megasthenes and Arrian (First published 1657) (23 ed.). Bibliolife.
- ↑ Discovery Of The Exact Site Of Asoka's Classic Capital, 1892
- ↑ "Patna". Encyclopædia Britannica. Encyclopædia Britannica Online. Encyclopædia Britannica Inc., 2013. Web. 13 Dec. 2013 <"Patna | India". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 November 2011. สืบค้นเมื่อ 2011-01-30.>.
- ↑ "Heritage wall for Metro corridor plan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 November 2016.
- ↑ "A relic of Mauryan era". The Times of India. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 November 2017.
- ↑ Valerie Hansen Voyages in World History, Volume 1 to 1600, 2e, Volume 1 pp. 69 Cengage Learning, 2012
- ↑ "Pāṭali". A Sanskrit English Dictionary: Etymologically and Philologically Arranged (16th Reprint ed.). New Delhi: Motilal Banarsidass Publishing House. 2011. p. 615. ISBN 978-8120831056.
- ↑ Encyclopaedia of Religion and Ethics, p.677
- ↑ Folklore, Vol. 19, No. 3 (30 September 1908), pp. 349–350 เก็บถาวร 10 พฤษภาคม 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Mahāparinibbāṇa Sutta (DN 16), translated from the Pali by Ṭhānissaro Bhikkhu". Dīgha Nikāya of the Pali Canon. dhammatalks.org. 2022. สืบค้นเมื่อ 9 October 2022.
- ↑ Journal of Francis Buchanan (1812), p.182
- ↑ Language, Vol. 4, No. 2 (June , 1928), pp. 101–105 เก็บถาวร 10 พฤษภาคม 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ข้อมูล
แก้- Kosmin, Paul J. (2014). The Land of the Elephant Kings: Space, Territory, and Ideology in Seleucid Empire. Harvard University Press. ISBN 978-0-674-72882-0.
- Sastri, Kallidaikurichi Aiyah Nilakanta, บ.ก. (1988) [1967], Age of the Nandas and Mauryas (Second ed.), Delhi: Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-0465-4
อ่านเพิ่ม
แก้- Bernstein, Richard (2001). Ultimate Journey: Retracing the Path of an Ancient Buddhist Monk (Xuanzang) who crossed Asia in Search of Enlightenment. Alfred A. Knopf, New York. ISBN 0-375-40009-5