เล่ายอย[2] (ค.ศ. 224-264)[1] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า หลิว เสฺวียน (จีน: 劉璿; พินอิน: Liú Xuán) ชื่อรอง เหวินเหิง (จีน: 文衡; พินอิน: Wénhéng) เป็นเจ้าชายของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊กของจีน เป็นพระโอรสองค์โตของเล่าเสี้ยนจักรพรรดิลำดับที่ 2 และลำดับสุดท้ายของจ๊กก๊ก พระมารดาคือพระสนมหวางกุ้ยเหริน (王貴人) อดีตนางกำนัลของเตียวซีหรือจิ้งไอฮองเฮา พระมเหสีองค์แรกของพระเจ้าเล่าเสี้ยน ภายหลังหวางกุ้ยเหรินได้มาเป็นหนึ่งในพระสนมของเล่าเสี้ยน[3] เล่ายอยได้ขึ้นเป็นรัชทายาท ในปี ค.ศ. 238[4] หลังการล่มสลายของจ๊กก๊กให้กับวุยก๊กที่เป็นรัฐอริ เล่ายอยและพระอนุชาที่ยังรอดชีวิตได้กลับไปนครหลวงเซงโต๋ ในปี ค.ศ. 264 เล่ายอยถูกปลงพระชนม์ในเซงโต๋โดยทหารกบฏระหว่างการก่อกบฏของจงโฮย[5]

เล่ายอย (หลิว เสฺวียน)
劉璿
รัชทายาทแห่งจ๊กก๊ก
ดำรงตำแหน่งกุมภาพันธ์ ค.ศ. 238 – ธันวาคม ค.ศ. 263
ก่อนหน้าเล่าเสี้ยน
ประสูติค.ศ. 224[a]
สวรรคตค.ศ. 264 (40 พรรษา)[1]
นครเซงโต๋ มณฑลเสฉวน
พระนามเต็ม
ชื่อสกุล: เล่า (劉 หลิว)
ชื่อตัว: ยอย (璿 เสฺวียน)
ชื่อรอง: เหวินเหิง (文衡)
พระราชบิดาเล่าเสี้ยน
พระราชมารดาหวางกุ้ยเหริน

ดูเพิ่ม

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. บทพระประวัติของเล่ายอยในสามก๊กจี่ ระบุว่าเล่ายอยมีพระชนมายุ 15 พรรษา (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก) ในศักราชเหยียนซี (延熈; ค.ศ. 238-257) ปีที่ 1 ในรัชสมัยของเล่าเสี้ยน เล่ายอยสิ้นพระชนม์ในศักราชเสียนซี (咸熈; ค.ศ. 264-265) ปีที่ 1 ในรัชสมัยของโจฮวน[1] เมื่อคำนวณแล้ว ปีประสูติของเล่ายอยจึงควรเป็นราว ค.ศ. 224

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 ([延熈元年] ... 時年十五。 ... 咸熈元年正月,鍾會作亂於成都,璿為亂兵所害。)
  2. ("แลขณะนั้นเมื่อพระเจ้าเล่าเสี้ยนจะให้ไปอ่อนน้อมแก่ข้าศึก ฝ่ายเล่ายอยเล่าเอียวเล่าจ้องเล่าจ้านเล่าสุนเล่ากี๋ ผู้บุตรเล่าเสี้ยนทั้งหกคนนี้จะได้ทัดทานประการใดหามิได้") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๖". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ November 19, 2024.
  3. (後主太子璿,字文衡。母王貴人,本敬哀張皇后侍人也。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 34.
  4. สามก๊กจี่ บทที่ 33 หน้า 897.
  5. สามก๊กจี่ บทที่ 34 หน้าที่ 908.

บรรณานุกรม

แก้