เล่งทอง (ลั่ว ถ่ง)

เล่งทอง[b] (ค.ศ. 193–228)[1] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า ลั่ว ถ่ง (จีนตัวย่อ: 骆统; จีนตัวเต็ม: 駱統; พินอิน: Luò Tǒng) ชื่อรอง กงซฺวี่ (จีนตัวย่อ: 公绪; จีนตัวเต็ม: 公緒; พินอิน: Gōngxù) เป็นขุนนางผู้รับใช้ขุนศึกซุนกวนในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกและต้นยุคสามก๊กของจีน

เล่งทอง (ลั่ว ถ่ง)
駱統
ผู้บังคับการเขตยี่สู (濡須督)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 223 (223) – ค.ศ. 228 (228)
กษัตริย์ซุนกวน
รองขุนพล (偏將軍)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 222 (222) – ค.ศ. 223 (223)
กษัตริย์ซุนกวน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดค.ศ. 193[a]
นครอี้อู มณฑลเจ้อเจียง
เสียชีวิตค.ศ. 228 (35 ปี)[1]
คู่สมรสบุตรสาวของซุน ฝู่
บุพการี
อาชีพขุนนาง
ชื่อรองกงซฺวี่ (公緒)
บรรดาศักดิ์ซินหยางถิงโหฺว
(新陽亭侯)

ประวัติ แก้

เล่งทองเป็นชาวอำเภออูชาง (烏傷縣 อูชางเซี่ยน) เมืองห้อยเข (會稽 ไคว่จี) ซึ่งอยู่บริเวณนครอี้อู มณฑลเจ้อเจียงในปัจจุบัน บิดาของเล่งทองคือลั่ว จฺวิ้น (駱俊) ผู้รับราชการในฐานะปลัดราชรัฐเฉิน (陳相 เฉินเซียง) ภายใต้หลิว ฉ่ง (劉寵) ผู้เป็นอ๋องแห่งราชรัฐเฉิน (陳王 เฉินหวาง) ภายหลังลั่ว จฺวิ้นถูกสังหารโดยขุนศึกอ้วนสุด[4] มารดาของเล่งทองแต่งงานใหม่หลังสามีเสียชีวิต และกลายเป็นภรรยาน้อยของขุนนางฮัวหิม เล่งทองซึ่งเวลานั้นอายุ 7 ปีกลับมายังเมืองห้อยเขพร้อมกับเหล่าเพื่อนสนิท ก่อนที่เล่งทองจะจากไป มารดามองส่งเขาทั้งน้ำตา แต่เล่งทองไม่ได้หันกลับมาขณะขึ้นรถม้า เมื่อสารถีผู้ขับรถม้าบอกว่ามารดาของเล่งทองอยู่ด้านหลังเขา เล่งทองตอบว่า "ข้าไม่อยากให้มารดาคิดถึงข้าไปมากกว่านี้ นั่นคือเหตุผลที่ข้าไม่เห็นหลังกลับไปมอง" เล่งทองยังมีชื่อเสียงในเรื่องความกตัญญูต่อแม่เลี้ยงของตน (ภรรยาหลวงของฮัวหิม)[5]

ลั่ว จฺวิ้น แก้

คำวิจารณ์ แก้

ในนิยายสามก๊ก แก้

ในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่ 14 เรื่องสามก๊กโดยล่อกวนตง เล่งทองมีบทบาทในตอนที่ 43 ในเหตุการณ์ที่จูกัดเหลียงโต้วาทีกับเหล่าขุนนางบัณฑิตของซุนกวน เล่งทองพร้อมด้วยเตียวอุ๋นต้องการออกไปโต้วาทีกับจูกัดเหลียง แต่ขุนพลอุยกายเข้ามาขัดจังหวะเสียก่อน[c]

ดูเพิ่ม แก้

หมายเหตุ แก้

  1. ชีวประวัติเล่งในจดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อ) บันทึกว่าเล่งทองเสียชีวิตในรัชศกหฺวางอู่ปีที่ 7 (ค.ศ. 228) ในรัชสมัยของซุนกวน ขณะอายุอายุ 36 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก)[1] เมื่อคำนวณแล้วปีที่เกิดจึงควรเป็นราว ค.ศ. 193
  2. ชื่อปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 34[2] ตรงกับในนิยายสามก๊กต้นฉบับตอนที่ 38[3]
  3. เหตุการณ์การโต้วาทีนี้มีเล่าในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 38[6] แต่ในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)ไม่ได้บรรยายความที่เล่งทองและเตียวอุ๋นตั้งใจจะออกไปโต้วาทีกับจูกัดเหลียงด้วย

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 (年三十六,黃武七年卒。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 57.
  2. (" แลขอดเต๊กชาวเมืองห้อยเข เหยียมจุ้นชาวเมืองเพ้งเสีย ชีจ๋องชาวเมืองไพก๊วน เทียเป๋งชาวเมืองยีหลำ จีห้วนลกเจ๊กกับเตียวอุ๋นนั้นชาวเมืองต๋องง่อ เล่งทองกับงอซันนั้นชาวเมืองห้อยเข เก้าคนนี้ซุนกวนตั้งไว้เปนที่ปรึกษา") "สามก๊ก ตอนที่ ๓๔". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ July 6, 2023.
  3. (時有會稽闞澤,字德潤;彭城嚴畯,字曼才;沛縣薛綜,字敬文;汝南程秉,字德樞;吳郡朱桓,字休穆;陸績,字公紀;吳人張溫,字惠恕;會稽駱統,字公緒;烏程吳粲,字孔休:此數人皆至江東。) สามก๊ก ตอนที่ 38.
  4. (駱統字公緒,會稽烏傷人也。父俊,官至陳相,為袁術所害。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 57.
  5. (統母改適,為華歆小妻,統時八歲,遂與親客歸會稽。其母送之,拜辭上車,面而不顧,其母泣涕於後。御者曰:「夫人猶在也。」統曰:「不欲增母思,故不顧耳。」事適母甚謹。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 57.
  6. "สามก๊ก ตอนที่ ๓๘". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ July 6, 2023.