เทียเป๋ง (จีน: 程秉 fl. 190s-200s) หรือ เฉิงปิง ชื่อรอง เต๋อฉู่ (德樞) ขุนนางและนักเขียนของ ง่อก๊ก ระหว่าง ยุคสามก๊ก ของจีน.

เทียเป๋ง
เกิด?
ถึงแก่กรรม?
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม程秉
ชื่อรองเต๋อฉู่ (德樞)
ยุคในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก

ประวัติ

แก้

เทียเป๋งมาจาก อำเภอหนานตุ้น เมืองยีหลำ ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของเมือง เซียงเฉิง มณฑลเหอหนาน ในปัจจุบัน. เขาเป็นลูกศิษย์ของบัณฑิต ลัทธิขงจื๊อ Zheng Xuan. เมื่อความวุ่นวายเข้าปกคลุมแผ่นดินจีนจนนำไปสู่ ยุคสิ้นราชวงศ์ฮั่น, เทียเป๋งออกจาก เจียวจิ๋ว ทางตอนใต้ของจีน. ช่วงเวลานี้, เขาเข้าเป็นลูกศิษย์ของบัณฑิตนาม Liu Xi (劉熙) และกลายเป็นผู้รอบรู้ใน สี่หนังสือและวรรณกรรมทั้งห้า. ซื่อเซี่ย, เจ้าแคว้นเจียวจิ๋ว, แต่งตั้งเขาเป็นหัวหน้าเสมียน (長史).[1]

บางช่วงเวลาในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 220, พระเจ้าซุนกวน จักรพรรดิผู้ก่อตั้ง ง่อก๊ก, ได้ยินชื่อเสียงของเทียเป๋งในฐานะบัณฑิตลัทธิขงจื๊อผู้คงแก่เรียนจึงส่งทูตไปยังเจียวจิ๋วเพื่อชักชวนเทียเป๋งให้มารับราชการกับพระองค์. เทียเป๋งตกลงและได้รับการแต่งตั้งโดยพระเจ้าซุนกวนให้เป็นพระอาจารย์ของรัชทายาท (太子太傅). ใน ค.ศ. 225 พระเจ้าซุนกวนจัดงานอภิเษกระหว่างรัชทายาทของพระองค์ องค์ชาย ซุนเต๋ง กับบุตรสาวของ จิวยี่. เทียเป๋งได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น เจ้ากรมพิธีการ (太常) และพิธีอภิเษกได้จัดขึ้นที่ เมืองง่อ (รอบ ๆ ซูโจว เจียงซู ทุกวันนี้).[2]

เทียเป๋งถึงแก่กรรมในตำแหน่ง. โดยไม่มีรายละเอียดเรื่องการถึงแก่กรรมของเขาบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์.[3]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. (程秉字德樞,汝南南頓人也。逮事鄭玄,後避亂交州,與劉熈考論大義,遂博通五經。士燮命為長史。) Sanguozhi vol. 53.
  2. (權聞其名儒,以禮徵秉,旣到,拜太子太傅。黃武四年,權為太子登娉周瑜女,秉守太常,迎妃於吳,權親幸秉船,深見優禮。旣還,秉從容進說登曰:「婚姻人倫之始,王教之基,是以聖王重之,所以率先衆庶,風化天下,故詩美關雎,以為稱首。願太子尊禮教於閨房,存周南之所詠,則道化隆於上,頌聲作於下矣。」登笑曰:「將順其美,匡救其惡,誠所賴於傅君也。」) Sanguozhi vol. 53.
  3. (病卒官。著周易摘、尚書駮、論語弼,凡三萬餘言。) Sanguozhi vol. 53.