ซุนกวน
พระเจ้าซุนกวน (จีนตัวย่อ: 孙权; จีนตัวเต็ม: 孫權; พินอิน: Sūn Quán; ค.ศ. 183 – 21 พฤษภาคม ค.ศ. 252)[a][2] พระนามรอง จ้งโหมว (仲謀) ซึ่งรู้จักกันในพระนามย้อนหลังว่า จักรพรรดิอู่ต้า (吳大帝) เป็นจักรพรรดิผู้ก่อตั้งราชวงศ์ง่อตะวันออกซึ่งเป็นหนึ่งในสามก๊ก พระองค์สืบทอดระบอบการปกครองที่ก่อตั้งโดยพระเจ้าซุนเซ็กพระเชษฐาของพระองค์ในปี ค.ศ. 200 พระองค์ประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการและปกครองตั้งแต่ปี ค.ศ. 222 ถึง ค.ศ. 229 ในฐานะกษัตริย์ง่อก๊ก และ ค.ศ. 229 ถึง ค.ศ. 252 ในฐานะจักรพรรดิง่อก๊ก
พระเจ้าซุนกวน 吳大帝 | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() ซุนกวนในเครื่องทรงพระมหากษัตริย์ ภาพวาดสมัยราชวงศ์ถังโดยหยัน ลี่เปิ่น | |||||||||||||||||
จักรพรรดิแห่งง่อก๊ก | |||||||||||||||||
ครองราชย์ | 23 พฤษภาคม ค.ศ. 229 – 21 พฤษภาคม ค.ศ. 252 | ||||||||||||||||
ถัดไป | ซุนเหลียง | ||||||||||||||||
กษัตริย์ง่อก๊ก (吳王) (ในฐานะผู้นำอิสระ) | |||||||||||||||||
ครองราชย์ | พฤศจิกายน ค.ศ. 222 – 23 พฤษภาคม ค.ศ. 229 | ||||||||||||||||
กษัตริย์ง่อก๊ก (吳王) (ในฐานะรัฐบริวารของวุยก๊ก) | |||||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง | 23 กันยายน ค.ศ. 221 – พฤศจิกายน ค.ศ. 222 | ||||||||||||||||
Marquis of Nanchang (南昌侯) (ภายใต้จักรวรรดิฮั่น) | |||||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง | ธันวาคม ค.ศ. 219 – 23 กันยายน ค.ศ. 221 | ||||||||||||||||
คู่อภิเษก |
| ||||||||||||||||
พระราชบุตร | |||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ง่อก๊ก | ||||||||||||||||
พระราชบิดา | ซุนเกี๋ยน | ||||||||||||||||
พระราชมารดา | งอฮูหยิน | ||||||||||||||||
ประสูติ | ค.ศ. 183 [a] จักรวรรดิฮั่น | ||||||||||||||||
สวรรคต | 21 พฤษภาคม ค.ศ. 252[a] Jianye, ง่อก๊ก | (68–69 ปี)||||||||||||||||
ฝังพระศพ | Purple Mountain |
ซุนกวน | |||||||||||||||||||||||||||||
![]() พระนามซุนกวนในอักษรจีนตัวเต็ม (บน) และตัวย่อ (ล่าง) | |||||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 孫權 | ||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 孙权 | ||||||||||||||||||||||||||||
|
พระเจ้าซุนกวนประสูติในปี ค.ศ. 181 หลังจากที่พระเจ้าซุนเกี๋ยนผู้เป็นพระราชบิดาสิ้นพระชนม์ในช่วงต้นทศวรรษที่ 190 พระองค์และพระราชวงศ์ของพระองค์ประทับอยู่ในเมืองต่าง ๆ ทางตอนล่างของแม่น้ำแยงซี จนกระทั่งพระเจ้าซุนเซ็ก ผู้เป็นพระเชษฐาแยกตัวออกจากอ้วนสุด จัดตั้งระบอบขุนศึกขึ้นในมณฑลกังตั๋งในปี ค.ศ. 194 โดยการสนับสนุนจากผู้ติดตามและกลุ่มตระกูลในท้องถิ่นผู้จงรักภักดีจำนวนหนึ่ง เมื่อพระเจ้าซุนเซ็กถูกลอบปลงพระชนม์โดยผู้ติดตามของเค้าก๋อง (許貢) ในปี ค.ศ. 200 เจ้าชายซุนกวนพระชนมายุ 18 พรรษาได้รับมรดกที่ดินทางตะวันออกเฉียงใต้ของแม่น้ำแยงซีจากพระเชษฐาของพระองค์ การปกครองของพระองค์ค่อนข้างมั่นคงในช่วงปีแรก ๆ โดยขุนนางอาวุโสส่วนใหญ่ของพระเจ้าซุนเกี๋ยนและพระเจ้าซุนเซ็ก เช่น จิวยี่ พี่น้องร่วมสาบานของพระเจ้าซุนเซ็ก เตียวเจียว เตียวเหยียง และเทียเภาสนับสนุนการสืบทอดตำแหน่ง ดังนั้นตลอดช่วงทศวรรษที่ 200 พระเจ้าซุนกวนภายใต้การดูแลของที่ปรึกษาที่มีความสามารถของพระองค์ยังคงสร้างความแข็งแกร่งไปตามแม่น้ำแยงซี ในต้นปี ค.ศ. 207 ในที่สุดกองกำลังของพระองค์ก็ได้รับชัยชนะอย่างสมบูรณ์เหนือหองจอ เจ้าเมืองกังแฮผู้นำทางทหารภายใต้เล่าเปียวเจ้ามณฑลเกงจิ๋ว ซึ่งครองอำนาจทางตอนกลางของแม่น้ำแยงซี หองจอถูกสังหารในสนามรบ
ในช่วงฤดูหนาวของปีนั้น โจโฉนำกองทัพประมาณ 220,000 นายมุ่งหน้าลงใต้เพื่อรวมชาติให้สำเร็จ สองกลุ่มที่แตกต่างกันได้ปรากฏตัวขึ้นที่ราชสำนักของพระองค์เพื่อจัดการกับสถานการณ์นี้อย่างไร ฝ่ายหนึ่งนำโดยเตียวเจียว เรียกร้องให้ยอมจำนน ในขณะที่อีกฝ่ายนำโดยจิวยี่และโลซกคัดค้านการยอมจำนน ในที่สุด พระเจ้าซุนกวนก็ตัดสินพระทัยต่อต้านโจโฉในตอนกลางของแม่น้ำแยงซีด้วยกองกำลังทางแม่น้ำที่เหนือกว่า เป็นพันธมิตรกับเล่าปี่ และใช้กลยุทธ์ร่วมกันของจิวยี่และอุยกายพวกเขาเอาชนะโจโฉอย่างเด็ดขาดในยุทธนาวีที่ผาแดง
ในปี ค.ศ. 220 หลังจากการเสียชีวิตของโจโฉ โจผี กษัตริย์แห่งเว่ย์บุตรชายและผู้สืบทอดของโจโฉได้ยึดราชบัลลังก์และปลดพระเจ้าเหี้ยนเต้ ประกาศตนเป็นจักรพรรดิองค์ใหม่ สิ้นสุดการปกครองในนามของราชวงศ์ฮั่น ในตอนแรก พระเจ้าซุนกวนดำรงตำแหน่งขุนนางของวุยก๊กด้วยตำแหน่งกษัตริย์ง่อที่มอบให้โดยวุยก๊ก แต่หลังจากที่พระเจ้าโจผีเรียกร้องให้ส่งเจ้าชายซุนเต๋ง พระราชโอรสไปเป็นตัวประกันที่เมืองหลวงของวุยก๊กคือลั่วหยาง แต่พระองค์ปฏิเสธ ในปี ค.ศ. 222 พระองค์ประกาศเอกราชโดยเปลี่ยนนามศักราช
วัฒนธรรมสมัยนิยมแก้ไข
ภาพยนตร์แก้ไข
เรื่อง สามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือ(Red Cliff) ทั้งสองภาค ซึ่งเล่าถึงศึกเซ็กเพ็กหรือศึกผาแดง ผู้ที่รับบทแสดงเป็นซุนกวนคือ ฉางเฉิน
ละครโทรทัศน์แก้ไข
ละครเรื่องสามก๊กในปี 1994 นักแสดงผู้รับบทเป็นซุนกวนคือ อู๋ เสี่ยวตง
ละครเรื่องสามก๊กในปี 2010 นักแสดงผู้รับบทเป็นซุนกวนคือ จาง ป๋อ เปิน
หมายเหตุแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 1.2 Jiankang Shilu บันทึกว่า พระเจ้าซุนกวนสวรรคตในวัน yiwei เดือนที่ 4 ปีที่ 2 ในศักราชไท่หยวนของพระองค์ ซึ่งตรงกับวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 252 ตามปฏิทินจูเลียน และ Shilu ยังบันทึกว่าพระองค์ถูกฝังในเดือนที่ 7 ของปีเดียวกัน พระองค์กลายเป็น King of Wu เมื่แพระชนมพรรษา 40 พรรษา และครองราชย์ 7 ปี กลายเป็นจักรพรรดิง่อก๊กตอนพระชนมพรรษา 47 พรรษาและครองราชย์ 24 ปี และสวรรคตตอนพระชนมพรรษา 70 พรรษา (ตามการนับแบบตะวันออก)[1] ปีสวรรคตของพระองค์ตรงกับ ค.ศ. 252 ในขณะที่เดือน 7 ปีที่ 2 ในศักราชไท่หยวนตรงกับ 22 สิงหาคมถึง 20 กันยายน ค.ศ. 252 ตามปฏิทินกริกอเรียน เนื่องพระองค์มีพระชนมพรรษา 69 พรรษตอนสวรรคตใน ค.ศ. 252 ทำให้คำนวณปีพระราชสมภพที่ ค.ศ. 183
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ([太元二年]夏四月乙未,帝崩於內殿, ... 秋七月,葬蔣陵, ... 案,帝四十即吳王位,七年;四十七即帝位,二十四年,年七十崩。) Jiankang Shilu vol. 2.
- ↑ de Crespigny (2007), p. 772.
- Chen Shou (3rd century). Records of the Three Kingdoms (Sanguozhi).
- de Crespigny, Rafe (2004) [1990]. Generals of the South (internet ed.). Rafe de Crespigny Publications, Australian National University Faculty of Asian Studies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-07.
- de Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23-220 AD. Leiden: Brill. ISBN 9789004156050.
- Luo Guanzhong (14th century). Romance of the Three Kingdoms (Sanguo Yanyi).
- Pei Songzhi (5th century). Annotations to Records of the Three Kingdoms (Sanguozhi zhu).
- Sima Guang (1084). Zizhi Tongjian.
- Xu Song (ป. 8th century). Jiankang Shilu (建康實錄).
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ซุนกวน |
ก่อนหน้า | ซุนกวน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จักรพรรดิฮั่นเซี่ยนตี้ ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก |
จักรพรรดิจีน ง่อก๊ก (พ.ศ. 772-795) |
ซุนเหลียง (พระเจ้าซุนเหลียง) |
บทความเกี่ยวกับสามก๊กนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:โครงการวิกิสามก๊ก |