อุยกาย (ตามสำเนียงฮกเกี้ยน) หรือ หวงก้าย (ตามสำเนียงจีนกลาง) (อังกฤษ: Huang Gai; จีน: 黄盖; พินอิน: Huáng Gài; เวด-ไจลส์: Huang Kai) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนพลแห่งง่อก๊ก ชื่อรอง กงฟู่ (จีน: 公覆) รับใช้ตระกูลซุนถึง 3 สมัย ตั้งแต่สมัยของซุนเกี๋ยนแต่ครั้งศึกโจรโพกผ้าเหลือง ซุนเซ็กในสมัยศึกปราบตั๋งโต๊ะและศึกปราบลิโป้ และซุนกวนในศึกเซ็กเพ็ก จนได้ชื่อว่า "แม่ทัพสามแผ่นดิน"[1]

อุยกาย
ภาพวาดอุยกาย สมัยราชวงศ์ชิง
ขุนพลแห่งง่อก๊ก
เกิดพ.ศ. 688
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม黃蓋
อักษรจีนตัวย่อ黄盖
ชื่อรองกงฟู่
ยุคในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก

ประวัติ แก้

อุยกาย เป็นชาวเมืองอิเหลง มณฑลเกงจิ๋ว (ปัจจุบัน คือ เขตเสี่ยวติง เมืองยี่ชาง มณฑลหูเป่ย์). เขาเป็นลูกหลานของ Huang Zilian (黃子廉) อดีตผู้ตรวจการของ Nanyang Commandery ปู่ของ Huang Gai ย้ายจาก Nanyang ไปยัง Lingling และยังคงอยู่ที่นั่นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา. พื้นเพเป็นคนยากจนเพราะ กำพร้าพ่อแม่มาแต่ยังเด็ก แต่เป็นคนที่มีความมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวกล้าหาญ ตั้งปณิธานไว้ว่าจะเอาดีให้ได้ เมื่อเสร็จจากงานผ่าฟืนก็ขยันหมั่นเพียรศึกษาหาความรู้ จนกระทั่งได้บรรจุเป็นเข้ารับราชการเป็นเสมียนระดับล่างจนได้รับการคัดเลือกจากบ้านเกิดเป็นบัณฑิตผู้มีความกตัญญูและมีประวัติดีงาม(เสี้ยวเหลียน)ไปอยู่ในสำนักงานของหนึ่งในสามองคมนตรี(ซานกง) ต่อมาซุนเกี๋ยน ได้รวบรวมทหารเข้าปราบปรามโจรกบฎโพกผ้าเหลือง ตามคำสั่งของราชสำนักในปี 184 อุยกายก็เข้าร่วมด้วย อุยกายติดตามซุนเกี๋ยนปราบโจรป่าและปราบตั๋งโต๊ะ เมื่อซุนเกี๋ยนเสียชีวิตในปี 191/634 ก็รับใช้ซุนเซ็กต่อมาในการยึดครองกังตั๋ง จนถึงยุคของซุนกวน

ตามวรรณกรรม ในศึกเซ็กเพ็ก โจโฉยกทัพกว่าร้อยหมื่นมาบุกกังตั๋ง เมื่อขงเบ้งเดินทางมาถึงกังตั๋ง ขณะถูกที่ปรึกษาที่นำโดยเตียวเจียวรุมถามด้วยคำถามที่ต้องการเยาะเย้ยมากมาย อุยกายปรากฏตัวขึ้นมาขวางพร้อมกล่าวว่า ขงเบ้งเป็นยอดอัจฉริยะแห่งยุค ไม่ต้องตอบคำถามคนโง่งมเหล่านี้ จะพาขงเบ้งไปหาซุนกวนโดยตรง อุยกายเห็นจิวยี่มีความหนักใจในการศึกครั้งนี้ จึงอาสาตนให้จิวยี่โบยตีกลางที่ประชุมทัพจนสาหัสหนัก ขงเบ้งเป็นผู้เดียวที่ล่วงรู้ทันแผนการนี้ ถึงกับเอ่ยปากว่า "กังตั๋งมียอดขุนพลเช่นนี้ มีหรือทัพโจโฉจะไม่แตก" ซึ่งก็เป็นดังคำของขงเบ้งในศึกเซ็กเพ็กโจโฉพ่ายแพ้อย่างย่อยยับ

ส่วนในประวัติศาสตร์จริง อุยกายเป็นผู้วางแผนให้จิวยี่ใช้อุบายยอมสวามิภักดิ์ และเมื่อแล่นเรือของตนเข้าหากองเรือของโจโฉแล้ว กว่าฝ่ายโจโฉจะรู้ว่าแท้จริงแล้วเป็นเรือที่บรรทุกไปด้วยน้ำมันและวัตถุระเบิดก็สายไปแล้ว นำมาสู่ความพ่ายแพ้อย่างยับเยินของโจโฉในครั้งนี้ การบันทึกในประวัติศาสตร์ได้ยกความกล้าหาญและวีรกรรมครั้งนี้ของอุยกายไว้มาก[1]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 หน้า 3, อุยกาย ผู้ชนะศึกผาแดง. "ชักธงรบ" โดย กิเลน ประลองเชิง. ไทยรัฐปีที่ 68 ฉบับที่ 21727: วันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 แรม 9 ค่ำ เดือน 8 ปีระกา