กาฐมาณฑุ
กาฐมาณฑุ [กาด-มาน-ดุ] (อักษรโรมัน: Kathmandu [a]) หรือชื่อทางการ กาฐมาณฑุมหานครปาลิกา[b] เป็นเมืองหลวงและเมืองที่มีประชากรมากสุดของประเทศเนปาล มีประชากร 845,767 คนตามสำมะโนปี ค.ศ. 2021[1] และมีประชากรถึง 2.9 ล้านคนหากรวมเขตปริมณฑล กาฐมาณฑุตั้งอยู่ในหุบเขากาฐมาณฑุในเนปาลกลาง ที่ความสูง 1,400 เมตร (4,600 ฟุต) จากระดับน้ำทะเล
กาฐมาณฑุ | |
---|---|
กาฐมาณฑุมหานคร | |
คำขวัญ: | |
พิกัด: 27°43′02″N 85°19′26″E / 27.7172°N 85.3240°E | |
ประเทศ | เนปาล |
รัฐ | พาคมตี |
อำเภอ | กาฐมาณฑุ |
ผู้ก่อตั้ง | พระมันชุศรี |
จำนวนแขวง | 32 |
การปกครอง | |
• ประเภท | นายกเทศบาล-สภาเทศบาลนคร |
• องค์กร | รัฐบาลกาฐมาณฑุมหานคร |
• นายกเทศบาล | พาเลนทร์ ชาห์ (อิสระ) |
• รองนายก | สุนิตา ดังโกล (UML) |
พื้นที่ | |
• เมืองหลวง | 49.45 ตร.กม. (19.09 ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 899 ตร.กม. (347 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 1,400 เมตร (4,600 ฟุต) |
ประชากร | |
• เมืองหลวง | 845,767 คน |
• อันดับ | ที่ 1 |
• ความหนาแน่น | 17,103 คน/ตร.กม. (44,300 คน/ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 2.9 ล้าน คน |
• อันดับเขตนคร | ที่ 1 |
เขตเวลา | UTC+05:45 (เวลามาตรฐานเนปาล) |
รหัสไปรษณีย์ | 446088 |
รหัสพื้นที่ | 01 |
เว็บไซต์ | www |
กาฐมาณฑุเป็นหนึ่งในสถานที่ที่มีการอยู่อาศัยต่อเนื่องยาวนานที่สุด ตั้งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 2 และมีชื่อเรียกในสมัยโบราณว่า "เนปาลมณฑล" เป็นที่อยู่อาศัยของชาวเนวาร์ ซึ่งเป็นอารยธรรมของชนเชิงเขาหิมาลัย กาฐมาณฑุมีสถานะเป็นราชธานีของราชอาณาจักรเนปาลและเป็นที่ตั้งของพระราชวังและอุทยานหลวงที่สร้างขึ้นโดยพระบรมวงศานุวงศ์ของเนปาล กาฐมาณฑุยังเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางสำหรับสมาคมเอเชียใต้เพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาค (SAARC) มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985 ในปัจจุบัน กาฐมาณฑุเป็นเมืองหลวงของประเทศเนปาล
ประชากรของกาฐมาณฑุมีวัฒนธรรมที่ผสมผสานทั้งฮินดูและพุทธ การท่องเที่ยวจัดเป็นธุรกิจสำคัญหนึ่งของกาฐมาณฑุ ข้อมูลจากปี ค.ศ. 2013 ระบุว่ากาฐมาณฑุอยู่อันดับสามในฐานะเมืองจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่กำลังมาแรงจากทั่วโลก และเป็นที่หนึ่งของเอเชีย จากการจัดอันดับของทริปแอดไวเซอร์ ถือกันว่ากาฐมาณฑุเป็นประตูสู่เขาหิมาลัยในเนปาล และยังเป็นที่ตั้งของแหล่งมรดกโลก เช่น จัตุรัสดูรบาร์, สวายัมภูนาถ, พุทธานาถ และปศุปตีนาถ หุบเขากาฐมาณฑุมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 4 ต่อปี ตามข้อมูลของธนาคารโลกในปี ค.ศ. 2010 ทำให้เป็นหนึ่งในเขตมหานครที่เติบโตเร็วที่สุดในเอเชียใต้ รวมถึงยังเป็นภูมิภาคแรกในเนปาลที่ต้องเผชิญกับการนคราภิวัตน์อย่างรวดเร็ว[3]
ภูมิอากาศ
แก้ข้อมูลภูมิอากาศของกาฐมาณฑุ (ค.ศ. 1981–2010) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 19.1 (66.4) |
21.4 (70.5) |
25.3 (77.5) |
28.2 (82.8) |
28.7 (83.7) |
29.1 (84.4) |
28.4 (83.1) |
28.7 (83.7) |
28.1 (82.6) |
26.8 (80.2) |
23.6 (74.5) |
20.2 (68.4) |
25.63 (78.14) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 2.4 (36.3) |
4.5 (40.1) |
8.2 (46.8) |
11.7 (53.1) |
15.7 (60.3) |
19.1 (66.4) |
20.2 (68.4) |
20.0 (68) |
18.5 (65.3) |
13.4 (56.1) |
7.8 (46) |
3.7 (38.7) |
12.1 (53.78) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 14.4 (0.567) |
18.7 (0.736) |
34.2 (1.346) |
61.0 (2.402) |
123.6 (4.866) |
236.3 (9.303) |
363.4 (14.307) |
330.8 (13.024) |
199.8 (7.866) |
51.2 (2.016) |
8.3 (0.327) |
13.2 (0.52) |
1,454.9 (57.28) |
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย | 2 | 3 | 4 | 6 | 12 | 17 | 23 | 22 | 15 | 4 | 1 | 1 | 110 |
แหล่งที่มา 1: Department of Hydrology and Meteorology (1981–2010) [4] | |||||||||||||
แหล่งที่มา 2: World Meteorological Organization (UN) (precipitation days only)[5] |
เมืองพี่น้อง
แก้กาฐมาณฑุมีข้อตกลงเมืองพี่น้องกับ:[6]
หมายเหตุ
แก้- ↑ ภาษาอังกฤษ: /ˌkætmænˈduː/ [2] เนปาล: काठमाडौँ, เสียงอ่านภาษาเนปาล: [ˌkaʈʰmaɳˈɖu], เนวาร์: 𑐫𑐾𑑃 𑐡𑐾𑐫𑑂/ येँ देय्
- ↑ เนปาล: काठमाडौँ महानगरपालिका หรือ เยม มหานครปาลิกา เนวาร์: 𑐫𑐾𑑃 𑐩𑐴𑐵𑐣𑐐𑐬𑐥𑐵𑐮𑐶𑐎𑐵 / येँ महानगरपालिका
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 राष्ट्रिय जनगणना २०७८ को प्रारम्भिक प्रतिवेदन (PDF) (ภาษาเนปาล). Central Bureau of Statistics, Nepal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2022. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2022.
- ↑ "Definition of Kathmandu in English". Oxford Dictionaries. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2014. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2022.
- ↑ "Managing Nepal's Urban Transition" (ภาษาอังกฤษ). World Bank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2019. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2019.
- ↑ "NORMALS FROM 1981-2010" (PDF). Department of Hydrology and Meteorology (Nepal). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 11 พฤษภาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2012.
- ↑ "World Weather Information Service – Kathmandu". World Meteorological Organization. สิงหาคม 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 ตุลาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2010.
- ↑ "KMC International Relationship With Sister Cities". kathmandu.gov.np. Kathmandu Metropolitan City. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2020. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2020.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ กาฐมาณฑุ
- คู่มือการท่องเที่ยว กาฐมาณฑุ จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)