พุทธนาถ

(เปลี่ยนทางจาก Boudhanath)

เพาทธนาถ หรือ พุทธนาถ (อักษรโรมัน: Boudhanath หรือ Baudhanath, เนปาล: बौद्धनाथ; เนวาร์: खास्ति चैत्य; ทิเบต: བྱ་རུང་ཁ་ཤོར།, อักษรโรมัน: Jarung Khashor, ไวลี: bya rung kha shor) หรือ ขาสติเจดีย์ (อักษรโรมัน: Khasti Chaitya, อักษรเทวนาครี: खास्ति माहाचैत्य) เป็นสถูปในกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล[2] ตั้งอยู่ห่างไปราว 11 km (6.8 mi) จากศูนย์กลางของกาฐมาณฑุ อยู่ในชานเมืองทางตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยขนาดของมณฑลนี้ทำให้พุทธนาถถือเป็นสถูปทรงกลมที่ใหญ่ที่สุดในเนปาล[3] ตามธรรมเนียมทิเบตว่ากันว่าพระธาตุที่ประดิษฐานในพระสถูปเป็นพระธาตุของพระกัสสปพุทธเจ้า

พุทธนาถสถูป
बौद्धनाथ
खास्ति माहाचैत्य
ภาพมุมกว้างของมหาสถูป
ศาสนา
ศาสนาศาสนาพุทธ, ศาสนาฮินดู
ที่ตั้ง
ที่ตั้งกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล
พุทธนาถตั้งอยู่ในหุบเขากาฐมาณฑุ
พุทธนาถ
ที่ตั้งในหุบเขากาฐมาณฑุ
พุทธนาถตั้งอยู่ในรัฐพาคมตี
พุทธนาถ
พุทธนาถ (รัฐพาคมตี)
พุทธนาถตั้งอยู่ในประเทศเนปาล
พุทธนาถ
พุทธนาถ (ประเทศเนปาล)
พิกัดภูมิศาสตร์27°43′17″N 85°21′43″E / 27.72139°N 85.36194°E / 27.72139; 85.36194
สถาปัตยกรรม
ประเภทสถูป
ความสูงสูงสุด36 เมตร (118 ฟุต)[1]
ชื่อทางการ: เพาทธนาถ ส่วนกนึ่งของหุบเขากาฐมาณฑุ
ประเภทวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณาiii, iv, vi
แต่งตั้ง1979 (กรรมการชุดที่ 3), ทบทวนในปี 2006
หมายเลขอ้างอิง121bis-005
รัฐ เนปาล

เหตุแผ่นดินไหวในเนปาลเมื่อเมษายน 2015 เป็นผลให้เพาทธนาถสถูปได้รับความเสียหายมาก ส่วนยอดแตกหัก โครงสร้างทั้งหมดเหนือส่วนโค้งของสถูปและพระธาตุรวมถึงวัตถุทางศาสนาทั้งหมดในพระสถูปถูกขนย้ายออกมาชั่วคราว การขนย้ายแล้วเสร็จในปลายเดือนตุลาคม 2015 การก่อสร้างซ่อมแซมเริ่มต้นในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2015 โดยมีการประกอบพิธีตั้งเสากลางต้นใหม่ หรือ "ชีวพฤกษ์" ("life tree") สำหรับยอดของสถูปเหนือส่วนโค้งขึ้นไป[4] การก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดสถูปอีกครั้งในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2016 ภายใต้การซ่อมแซมในกำกับดูแลของคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่เพาทธนาถ (Boudhanath Area Development Committee; BADC) เงินทุนสำหรับซ่อมแซมทั้งหมดมาจากภาคเอกชน ผ่านเงินบริจาคส่วนบุคคลจากกลุ่มศาสนาและอาสาสมัคร ข้อมูลของ BADC ระบุว่าการซ่อมแซมใช้เงินรวม $2.1 พันล้าน และทองคำมากกว่า 30 กิโลกรัม ในขณะที่รัฐบาลเนปาลถูกวิจารณ์อย่างหนักถึงการซ่อมแซมโบราณสถานที่เสียหายไปอย่างเชื่องช้า ในขณะที่บางสิ่งปลูกสร้างยังคงถูกทิ้งไว้ในสภาพที่พังทลาย[5][6]

อ้างอิง แก้

  1. Department of Archaeology (Nepal). "Bouddha Stupa". สืบค้นเมื่อ 3 May 2014.
  2. Snellgrove, David. Indo-Tibetan Buddhism: Indian Buddhists and Their Tibetan Successors, 2 vols., p. 365. (1987) Shambhala Publications, Boston. ISBN 0-87773-311-2 (v. 1); ISBN 0-87773-379-1 (v. 2).
  3. "Fables of Boudha Stupa and Changunarayan". nepalnews.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-09. สืบค้นเมื่อ 2007-07-30.
  4. "Boudha Stupa". Nepal Trekking. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-31. สืบค้นเมื่อ 22 August 2019.
  5. "Nepal's earthquake-hit Boudhanath stupa reopens after restoration". The Guardian. 22 November 2016. สืบค้นเมื่อ 22 August 2019.
  6. "Nepal earthquake: Boudhanath monastery reopened". BBC News. 22 November 2016. สืบค้นเมื่อ 22 August 2019.