ภาษาเนปาล
ภาษาเนปาล เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันที่พูดในประเทศเนปาล ประเทศอินเดีย ประเทศภูฏาน และบางส่วนของประเทศพม่า เป็นภาษาราชการของประเทศเนปาล ประชากรประมาณครึ่งหนึ่งของเนปาลพูดภาษาเนปาลเป็นภาษาแม่ และชาวเนปาลอื่น ๆ หลายคนพูดเป็นภาษาที่สอง
ภาษาเนปาล | |
---|---|
नेपाली (เนปาลี) | |
คำว่า เนปาล ที่เขียนในอักษรเทวนาครี | |
ประเทศที่มีการพูด | ประเทศเนปาล ประเทศอินเดีย ประเทศภูฏาน |
ภูมิภาค | เอเชียใต้ |
ชาติพันธุ์ | ชาวคัส[1] (ประวัติ) |
จำนวนผู้พูด | 9 ล้าน ภาษารอง (สำมะโน ค.ศ. 2011)[2] |
ตระกูลภาษา | อินโด-ยูโรเปียน
|
ระบบการเขียน | อักษรเทวนาครี อักษรเบรลล์เทวนาครี ทาครี (ประวัติ) |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | เนปาล อินเดีย (รัฐสิกขิม, เบงกอลตะวันตก) |
ผู้วางระเบียบ | สถาบันภาษาเนปาล |
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | ne |
ISO 639-2 | nep |
ISO 639-3 | nep – รหัสรวม รหัสเอกเทศ: npi – Nepalidty – โดเตลี |
Linguasphere | 59-AAF-d |
ภาษาเนปาลมีวรรณกรรมขนาดเล็กในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งรวมถึง "อัธยาตมะ รามายณะ" (Adhyatma Ramayana) ประพันธ์โดย สุนทรานันทะ พร (Sundarananda Bara) (1833) ซึ่งเป็นการรวมนิทานพื้นเมืองที่ไม่ปรากฏผู้แต่ง และรามายณะ โดย ภานุภักตะ (Bhanubhakta) นอกจากนี้ยังมีผลงานแปลจากภาษาสันสกฤต รวมถึงไบเบิลด้วย
การจัดจำแนก
แก้ภาษาเนปาล ตั้งแต่แรกเรียกว่า ขสภาษา (खस भाषा) หมายถึงภาษาของ ชาวขัส/ชาวคัส (खस) ชื่อของภาษาเนปาลในภาษาเนปาลคือ ขสกุรา/คัสกุรา (खस कुरा) ปัจจุบันเรียกอย่างเป็นทางการว่า เนปาลีภาษา (नेपाली भाषा) ชื่ออื่น ๆ ของภาษานี้มีมากมาย คนที่พูดภาษาอังกฤษเรียกว่า เนปาลี (Nepali) หรือ เนปาลีส (Nepalese) นอกจากนี้มีชื่ออื่น เช่น โกร์ขลีภาษา (गोर्खाली भाषा) หรือ โกรขาภาษา (गोरखा भाषा) แปลว่าภาษาของชาวกุรข่า และ ปรรวเตกุรา (पर्वते कुरा) แปลว่าภาษาของภูเขา
ภาษาเนปาลเป็นภาษาในภาษากลุ่มปาหารีที่อยู่ทางตะวันออกสุด ซึ่งเป็นกลุ่มของภาษาที่มีความสัมพันธ์กันภาษาที่พูดทั่วทั้งระดับต่ำของเทือกเขาหิมาลัยระหว่างเนปาลตะวันออกไปถึงรัฐอุตตรจัลประเทศและรัฐหิมาจัลประเทศของอินเดีย ภาษาเนปาลพัฒนาในพื้นที่ใกล้เคียงกับตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่าจำนวนหนึ่ง โดยเฉพาะภาษาเนวารี และแสดงถึงอิทธิพลของตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่าที่มีต่อภาษานี้
ภาษาเนปาลมีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับภาษาฮินดี แต่เป็นภาษาที่มีความอนุรักษนิยมมากกว่า เนื่องจากยืมคำจากภาษาเปอร์เซีย และภาษาอังกฤษน้อยกว่า และใช้คำที่มาจากภาษาสันสกฤตมากกว่า ในปัจจุบัน ภาษาเนปาลเขียนโดยใช้อักษรเทวนาครี (Devanagari script) ส่วนภูชิโมล (Bhujimol) เป็นอักษรโบราณพื้นเมืองของเนปาล
จำนวนผู้พูด
แก้ประชากรของเนปาลมากกว่า 2 ใน 3 ใช้ภาษาเนปาลเป็นภาษาแม่ มีผู้พูดภาษานี้ทั่วโลกมากกว่า 17 ล้านคน อยู่ในเนปาล 11 ล้านคน)[3] จุดกำเนิดของภาษาเนปาลอยู่ที่หุบเขาทางตะวันตกของเนปาล เคยเป็นภาษากลางในเทือกเขากาฐมาณฑุ ปัจจุบันเป็นภาษาราชการและภาษาในชีวิตประจำวัน ในภูฏาน มีผู้พูดภาษาเนปาล 40 - 50% ของประชากรทั้งหมด รวมแล้วประมาณ 1 ล้านคน ส่วนหนึ่งกลายเป็นผู้อพยพในเนปาลตะวันออก
ในอินเดีย มีผู้พูดภาษาเนปาลในรัฐสิกขิมและบริเวณใกล้เคียงในรัฐเบงกอลตะวันตก มีผู้พูดภาษาเนปาล 300,000 คนในสิกขิม รวมแล้วมีผู้พูดภาษาเนปาลในอินเดียราว 1 ล้านคน
ประวัติ
แก้เมื่อ 500 ปีที่ผ่านมาชาวข่าจากที่ราบการ์นาลี-เภรี-เซตีอพยพไปทางตะวันออกเข้าสู่ที่ราบสูงคาม แล้วไปสู่ที่ราบคันทาลีที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวกลุ่มหนึ่งที่แพร่ขยายไปคือชาวกุรข่าซึ่งเป็นกลุ่มที่อยู่ระหว่างโปขราแลกาฐมาณฑุ ใน พ.ศ. 2243 ผู้นำของชาวกุรข่าคือปริฐวี นารายัณ ชาห์ นำกองทหารเข้ายึดครองกุรุง มาคัร และชาวเผ่าตามหุบเขาอื่นๆ และจัดตั้งอาณาจักรในแถบเทือกเขาหิมาลัย เมื่อชาวกุรข่าเข้ามามีอำนาจเหนือราชวงศ์ดั้งเดิมที่เป็นชาวคาส ภาษาของชาวกุรข่าจึงมีชื่อว่าภาษาคาสกุรา
กองทหารปริฐวี นารายัณยึดครองได้ตั้งแต่หุบเขากาฐมาณฑุไปจนถึงที่ราบคันทาลี บริเวณนี้มีชื่อว่าเนปาลในสมัยนั้น เมืองกาฐมาณฑุกลายเป็นเมืองหลวง และได้ขยายอำนาจออกไปทุกทิศ ทำให้เกิดความขัดแย้งกับอังกฤษและจีน จึงมีการตกลงกำหนดเขตของบริเวณที่จะเป็น "เนปาล" และทั้งจีนและอังกฤษรับรองความเป็นรัฐของเนปาล เมื่อหุบเขากาฐมาณฑุกลายเป็นศูนย์กลางของเนปาล ภาษาของชาวกุรข่าจึงเป็นที่รู้จักในชื่อภาษาเนปาลไปด้วย
ตัวอย่างข้อความภาษาเนปาล
แก้- นมัสเต -- नमस्ते -- ใช้ทุกโอกาส ในการทักทายแบบฮินดู มักจะแปลว่า "ขอนมัสการพระเจ้าในตัวคุณ" (นมัสเต ยังใช้เป็นคำทักทาย และบอกลาได้ด้วย)
- เมโร นาม อาโลก โห -- मेरो नाम आलोक हो -- ฉันชื่อ อาโลก
- ขานา ขาเน ฐาเอาง กหาง ฉะ? -- खाना खाने ठाउँ कहाँ छ ? -- ที่รับประทานอาหารอยู่ที่ไหน?
- กาฐมาเฑาง ชาเน พาโฏ เธไร ลาโม ฉะ -- काठमाडौँ जाने बाटो धेरै लामो छ -- ถนนไปกาฐมาณฑุไกลมาก
- เนปาลมา พเนโก -- नेपालमा बनेको -- ทำในเนปาล (Made in Nepal)
- ม เนปาลี หูน -- म नेपाली हुँ -- ฉันเป็นชาวเนปาล
- ปุคโย -- पुग्यो — พอแล้ว
อ้างอิง
แก้- ↑ Richard Burghart 1984, pp. 118–119.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อe21
- ↑ Ethnologue Report for Nepali (Accessed 1 February 2009).