มัตสึโมโตะ
มัตสึโมโตะ (ญี่ปุ่น: 松本市; โรมาจิ: Matsumoto-shi) เป็นนครแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนางาโนะ ประเทศญี่ปุ่น[1] มัตสึโมโตะได้รับการกำหนดให้เป็นนครพิเศษ และกำลังจะเป็นนครศูนย์กลางในปี 2020[2] จากข้อมูลเมื่อ 1 มีนาคม 2019 มัตสึโมโตะมีประชากร 239,466 คน 105,207 ครัวเรือน[3] ความหนาแน่นของประชากร 240 คนต่อตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 978.47 ตารางกิโลเมตร (377.79 ตารางไมล์)
มัตสึโมโตะ 松本市 | |
---|---|
ตามเข็มนาฬิกาเริ่มจากภาพบน: ใจกลางนครมัตสึโมโตะมองจากหอคอยปราสาทมัตสึโมโตะ, โรงเรียนไคจิ, แม่น้ำอาซูซางาวะและภูเขายาเกะ(คามิโกจิ), ถนนคนเดินนาวาเตะ, ปราสาทมัตสึโมโตะ | |
ที่ตั้งของมัตสึโมโตะในจังหวัดนางาโนะ | |
พิกัด: 36°14′16.8″N 137°58′19.1″E / 36.238000°N 137.971972°E | |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
ภูมิภาค | ชูบุ (โคชิงเอ็ตสึ) |
จังหวัด | นางาโนะ |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | โยชินาโอะ กาอุง (臥雲義尚) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 978.47 ตร.กม. (377.79 ตร.ไมล์) |
ประชากร (1 มีนาคม 2019) | |
• ทั้งหมด | 239,466 คน |
• ความหนาแน่น | 240 คน/ตร.กม. (630 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) |
สัญลักษณ์ | |
- ต้นไม้ | สนแดงญี่ปุ่น |
- ดอกไม้ | อาซาเลียญี่ปุ่น |
หมายเลขโทรศัพท์ | 0263-34-3000 |
ที่อยู่ศาลาว่าการ | 3-7 Marunouchi, Matsumoto-shi, Nagano-ken 390-8620 |
เว็บไซต์ | www |
มัตสึโมโตะเป็นเมืองที่ตั้งของปราสาทมัตสึโมโตะหรือปราสาทอีกา หนึ่งในปราสาทที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น
ภูมิศาสตร์
แก้มัตสึโมโตะตั้งอยู่ในลุ่มน้ำมัตสึโมโตะทางตอนกลางของจังหวัดนางาโนะ รายล้อมด้วยภูเขาและขึ้นชื่อในเรื่องทิวทัศน์ที่สวยงาม อยู่ห่างจากนครนางาโนะ เมืองหลวงของจังหวัดนางาโนะ ไปทางใต้ประมาณ 75 กิโลเมตร และห่างจากใจกลางกรุงโตเกียว 167 กิโลเมตร มีเทือกเขาฮิดะตั้งอยู่ทางตะวันตกของเมือง โดยยอดเขาโฮตากาดาเกะซึ่งสูง 3,190 เมตร ตั้งอยู่บนอาณาเขตระหว่างมัตสึโมโตะกับทากายามะ จังหวัดกิฟุ ถือเป็นจุดที่สูงที่สุดในเขตนครมัตสึโมโตะ
เทศบาลข้างเคียง
แก้- จังหวัดนางาโนะ
ภูมิอากาศ
แก้มัตสึโมโตะมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป (Dfa ตามการแบ่งแบบเคิพเพิน) ซึ่งติดกับเขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Cfa ตามการแบ่งแบบเคิพเพิน) โดยมีฤดูร้อนที่ร้อนและฤดูหนาวที่หนาวเย็น ปริมาณฝนจะค่อนข้างสูงในฤดูร้อน แต่ในฤดูหนาวอากาศจะค่อนข้างแห้งกว่า อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีในมัตสึโมโตะคือ 11.9 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนรายปีเฉลี่ย 1,982 มิลลิเมตร โดยมีเดือนกันยายนเป็นเดือนที่ฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิจะสูงสุดโดยเฉลี่ยในเดือนสิงหาคมที่ประมาณ 25.2 องศาเซลเซียส และต่ำสุดในเดือนมกราคมที่ประมาณ -0.5 องศาเซลเซียส[4]
ข้อมูลภูมิอากาศของมัตสึโมโตะ จังหวัดนางาโนะ (1981~2010) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 18.8 (65.8) |
21.1 (70) |
25.9 (78.6) |
30.9 (87.6) |
32.3 (90.1) |
35.9 (96.6) |
37.9 (100.2) |
38.5 (101.3) |
35.3 (95.5) |
31.8 (89.2) |
25.6 (78.1) |
21.5 (70.7) |
38.5 (101.3) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 5.0 (41) |
6.0 (42.8) |
10.5 (50.9) |
17.8 (64) |
22.9 (73.2) |
26.0 (78.8) |
29.4 (84.9) |
31.1 (88) |
25.7 (78.3) |
19.3 (66.7) |
13.6 (56.5) |
8.0 (46.4) |
17.9 (64.2) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | -0.4 (31.3) |
0.2 (32.4) |
3.9 (39) |
10.6 (51.1) |
16.0 (60.8) |
19.9 (67.8) |
23.6 (74.5) |
24.7 (76.5) |
20.0 (68) |
13.2 (55.8) |
7.4 (45.3) |
2.3 (36.1) |
11.8 (53.2) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | −5.2 (22.6) |
−4.8 (23.4) |
−1.5 (29.3) |
4.1 (39.4) |
9.9 (49.8) |
14.9 (58.8) |
19.2 (66.6) |
20.2 (68.4) |
15.9 (60.6) |
8.4 (47.1) |
2.1 (35.8) |
−2.7 (27.1) |
6.7 (44.1) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | −24.8 (-12.6) |
−20.4 (-4.7) |
−17.9 (-0.2) |
−10.1 (13.8) |
−2.7 (27.1) |
2.3 (36.1) |
10.2 (50.4) |
8.0 (46.4) |
3.0 (37.4) |
−3.6 (25.5) |
−8.4 (16.9) |
−19.2 (-2.6) |
−24.8 (−12.6) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 35.9 (1.413) |
43.5 (1.713) |
79.6 (3.134) |
75.3 (2.965) |
100.0 (3.937) |
125.7 (4.949) |
138.4 (5.449) |
92.1 (3.626) |
155.6 (6.126) |
101.9 (4.012) |
54.9 (2.161) |
28.1 (1.106) |
1,031 (40.591) |
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว) | 28 (11) |
24 (9.4) |
17 (6.7) |
1 (0.4) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
9 (3.5) |
79 (31.1) |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.5 mm) | 6.0 | 6.6 | 9.6 | 9.1 | 9.7 | 11.1 | 13.1 | 9.7 | 11.2 | 9.0 | 6.3 | 5.4 | 106.8 |
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย | 11.2 | 9.8 | 4.9 | 0.4 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 3.7 | 30 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 170.7 | 163.5 | 185.0 | 202.1 | 209.0 | 163.6 | 171.3 | 205.4 | 141.8 | 159.9 | 159.2 | 166.0 | 2,097.5 |
แหล่งที่มา 1: Japan Meteorological Agency[5] | |||||||||||||
แหล่งที่มา 2: Japan Meteorological Agency (records)[6] |
สถิติประชากร
แก้จากข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[7] จำนวนประชากรของมัตสึโมโตะเพิ่มขึ้นในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา
ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
1940 | 154,182 | — |
1950 | 183,775 | +19.2% |
1960 | 190,076 | +3.4% |
1970 | 203,571 | +7.1% |
1980 | 223,496 | +9.8% |
1990 | 233,756 | +4.6% |
2000 | 243,465 | +4.2% |
2010 | 243,070 | −0.2% |
การเมืองการปกครอง
แก้มัตสึโมโตะมีรูปแบบการปกครองแบบสภา–นายกเทศมนตรี โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภาเดี่ยวที่มีสมาชิกสภาเทศบาลนครจำนวน 31 คน สมาชิกสภาจังหวัดนางาโนะจากนครมัตสึโมโตะมีจำนวน 6 คน ในแง่ของการเมืองระดับชาติ นครมัตสึโมโตะอยู่ในเขตเลือกตั้งที่ 2 ของจังหวัดนางาโนะในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรญี่ปุ่น ซึ่งเขตเลือกตั้งนี้มีนครและอำเภออื่น ๆ อีก ได้แก่ นครโอมาจิ นครอาซูมิโนะ อำเภอฮิงาชิจิกูมะ อำเภอคิตาอาซูมิ อำเภอคามิมิโนจิ และบางส่วนของนครนางาโนะ
รายชื่อนายกเทศมนตรีนครมัตสึโมโตะ (ตั้งแต่ 1937)
แก้- โยรินางะ โอริ (小里頼永) กรกฎาคม 1937 – สิงหาคม 1937
- โอกิมาซะ โมโมเซะ (百瀬興政) สิงหาคม 1937 – เมษายน 1939
- วาตารุ โมโมเซะ (百瀬 渡) เมษายน 1940 – เมษายน 1944
- โมริโตะ ฮิราบายาชิ (平林盛人) พฤษภาคม 1944 – มีนาคม 1945
- ยาซูชิ ฮิรายามะ (平山 泰) กรกฎาคม 1945 – มีนาคม 1946
- อิกูอิจิ อากาฮาเนะ (赤羽幾一) มิถุนายน 1946 – ธันวาคม 1946
- นาโอฮิซะ สึตสึอิ (筒井直久) เมษายน 1947 – เมษายน 1951
- บุนชิจิโระ มัตสึโอกะ (松岡文七郎) เมษายน 1951 – มกราคม 1957
- โทกูยะ ฟูรูฮาตะ (降旗徳弥) มีนาคม 1957 – มีนาคม 1969
- มัตสึมิ ฟูกาซาวะ (深沢松美) มีนาคม 1969 – มีนาคม 1976
- โชจิ วาโงะ (和合正治) มีนาคม 1976 – มีนาคม 1992
- ทาดาชิ อารูงะ (有賀 正) มีนาคม 1992 – มีนาคม 2004
- อากิระ ซูเงโนยะ (菅谷 昭) มีนาคม 2004 – มีนาคม 2020
- โยชินาโอะ กาอุง (臥雲義尚) มีนาคม 2020 – ปัจจุบัน
เศรษฐกิจ
แก้มัตสึโมโตะเป็นศูนย์กลางการค้าในภูมิภาค มีชื่อเสียงด้านงานไม้และการปั่นไหมแบบดั้งเดิม อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมนม นอกจากนี้ การท่องเที่ยวตามฤดูกาลในบริเวณภูเขาที่ล้อมรอบตัวเมือง และรีสอร์ตบ่อน้ำพุร้อนออนเซ็น ก็ยังเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของท้องถิ่นอีกด้วย[8]
การขนส่ง
แก้ท่าอากาศยาน
แก้ทางรถไฟ
แก้- บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก - สายชิโนโนอิ
- บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก - สายโออิโตะ
- อัลพิโกคตสึ (Alpico Kōtsū) - สายคามิโกจิ
ทางหลวง
แก้เมืองพี่น้อง
แก้ภายในประเทศ
แก้- ฟูจิซาวะ จังหวัดคานางาวะ ตั้งแต่ 29 กรกฎาคม 1961
- ฮิเมจิ จังหวัดเฮียวโงะ ตั้งแต่ 17 พฤศจิกายน 1966
- ทากายามะ จังหวัดกิฟุ ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 1971
ระหว่างประเทศ
แก้- ซอลต์เลกซิตี รัฐยูทาห์ สหรัฐ ตั้งแต่ 1958
- กาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล ตั้งแต่ 17 พฤศจิกายน 1989
- หลางฝาง มณฑลเหอเป่ย์ ประเทศจีน นครมิตรภาพตั้งแต่ 21 มีนาคม 1995
- กรินเดิลวัลท์ รัฐแบร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตั้งแต่ 20 เมษายน 1972
อ้างอิง
แก้- ↑ Nussbaum, Louis-Frédéric. (2005). "Maatsumoto" in Japan Encyclopedia, p. 618; "Chūbu" at p. 126.
- ↑ Jacobs, A.J. "Japan's Evolving Nested Municipal Hierarchy: The Race for Local Power in the 2000s," Urban Studies Research, (2011); Table 3; retrieved 20132-2-11.
- ↑ Matsumoto city official statistics (ญี่ปุ่น)
- ↑ Matsumoto climate data
- ↑ 平年値(年・月ごとの値). Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ 2010-03-06.
- ↑ 観測史上1~10位の値(年間を通じての値). Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ 2011-11-18.
- ↑ Matsumoto population statistics
- ↑ Campbell, Allen; Nobel, David S (1993). Japan: An Illustrated Encyclopedia. Kodansha. p. 1147. ISBN 406205938X.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ มัตสึโมโตะ
- คู่มือการท่องเที่ยว Matsumoto จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- เว็บไซต์ทางการ (ญี่ปุ่น)(อังกฤษ)
- เว็บไซต์ท่องเที่ยวนครมัตสึโมโตะ (ญี่ปุ่น)(อังกฤษ)(จีน)(เกาหลี)(รัสเซีย)