นครพิเศษของประเทศญี่ปุ่น
นครพิเศษ (ญี่ปุ่น: 特例市; โรมาจิ: Tokureishi; ทับศัพท์: โทกูเรชิ) ของประเทศญี่ปุ่น เป็นนครที่มีประชากรอย่างน้อย 200,000 คน และเป็นนครที่ได้รับมอบหมายอำนาจหน้าที่ที่ตามปกติแล้วจะดำเนินการโดยจังหวัด อำนาจหน้าที่เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่ที่มอบหมายให้กับนครศูนย์กลาง
การปกครองรูปแบบนี้กำหนดขึ้นโดยกฎหมายปกครองตนเองท้องถิ่นมาตรา 252 วรรค 26 นครพิเศษจะได้รับการแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรีหลังจากมีการร้องขอจากสภานครและสภาจังหวัด
เนื่องจากระดับความอิสระในการปกครองตนเองที่มอบหมายให้กับนครพิเศษนั้นคล้ายคลึงกับที่ให้กับนครศูนย์กลาง หลังจากประชุมปรึกษาหารือกับรัฐบาลท้องถิ่น การปกครองในรูปแบบนครพิเศษนี้จึงได้ถูกยกเลิกตามพระราชบัญญัติการปกครองตนเองท้องถิ่นฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2015 และทำให้นครที่มีประชากรอย่างน้อย 200,000 คนในขณะนี้สามารถขอยกฐานะเป็นนครศูนย์กลางได้โดยตรง ส่วนนครพิเศษที่ยังไม่ได้ยกฐานะก็ยังคงมีอำนาจปกครองตนเอง ซึ่งเรียกว่า นครพิเศษ ณ เวลาที่บังคับใช้ (施行時特例市, Shikōji Tokurei shi, ชิโกจิ โทกูเร ชิ) นอกจากนี้ นครพิเศษที่มีประชากรต่ำกว่า 200,000 คน สามารถขอยกฐานะเป็นนครศูนย์กลางเป็นกรณีพิเศษได้ภายในห้าปีหลังจากที่มีการยกเลิกการปกครองรูปแบบนครพิเศษ ซึ่งคือก่อนวันที่ 1 เมษายน 2020[1]
นครพิเศษนั้นไม่เหมือนกับเขตพิเศษของโตเกียว อีกทั้งยังแตกต่างจากนครพิเศษ (特別市, tokubetsu-shi, โทกูเบ็ตสึ-ชิ) ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายปกครองตนเองท้องถิ่นระหว่างปี 1947 ถึง 1956 แต่ไม่เคยมีการนำมาใช้ นครพิเศษดังกล่าวจะได้เป็นนครที่เป็นอิสระจากจังหวัด (ในเชิงเปรียบเทียบ เขตพิเศษก็คือเขตที่ไม่ขึ้นกับนคร) โดยก่อนหน้านั้นเรียกว่า "หกนครใหญ่" (โรกุ ไดโตชิ) ซึ่งประกาศใช้ในปี 1922 (เหลือเพียงห้าแห่งในปี 1947 เนื่องจากนครโตเกียวถูกยกเลิกในสงคราม) และได้กลายเป็นนครใหญ่ที่รัฐกำหนดในปี 1956 ซึ่งมีอำนาจปกครองตนเองมากขึ้น แต่ไม่ได้เป็นอิสระจากจังหวัดอย่างสมบูรณ์[2]
รายชื่อนครพิเศษ
แก้ณ วันที่ 1 เมษายน 2020 มีนคร 25 แห่งที่มีฐานะเป็น "นครพิเศษ ณ เวลาที่บังคับใช้" ได้แก่
ภูมิภาค | จังหวัด | ชื่อ | วันที่ยกฐานะ เป็นนครพิเศษ |
หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
คันโต | อิบารากิ | สึกูบะ | 1 เมษายน 2007 | กำลังพิจารณายกฐานะเป็นนครศูนย์กลาง[3] |
กุมมะ | อิเซซากิ | 1 เมษายน 2007 | ||
โอตะ | 1 เมษายน 2007 | |||
ไซตามะ | โทโกโรซาวะ | 1 เมษายน 2002 | ||
โซกะ | 1 เมษายน 2004 | |||
คาซูกาเบะ | 1 เมษายน 2008 | |||
คูมางายะ | 1 เมษายน 2009 | มีนโยบายยกเลิกการยกฐานะเป็นนครศูนย์กลางในกรณีพิเศษ[4] | ||
คานางาวะ | โอดาวาระ | 1 พฤศจิกายน 2000 | ||
ยามาโตะ | 1 พฤศจิกายน 2000 | |||
ฮิรัตสึกะ | 1 เมษายน 2001 | |||
อัตสึงิ | 1 เมษายน 2002 | |||
ชิงาซากิ | 1 เมษายน 2003 | |||
ชูบุ | นีงาตะ | นางาโอกะ | 1 เมษายน 2007 | |
โจเอ็ตสึ | 1 เมษายน 2007 | |||
ชิซูโอกะ | นูมาซุ | 1 พฤศจิกายน 2000 | ||
ฟูจิ | 1 เมษายน 2001 | |||
ไอจิ | คาซูงาอิ | 1 เมษายน 2001 | ||
มิเอะ | ยกกาอิจิ | 1 พฤศจิกายน 2000 | ||
คันไซ | โอซากะ | อิบารากิ | 1 เมษายน 2001 | |
คิชิวาดะ | 1 เมษายน 2002 | เป็นนครพิเศษที่มีประชากรโดยประมาณน้อยที่สุด ณ เวลาที่เริ่มบังคับใช้ มีเป้าหมายที่จะยกฐานะเป็นนครพิเศษในเดือนเมษายน 2018 แต่ประกาศเลื่อนออกไปเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2016 | ||
เฮียวโงะ | คาโกงาวะ | 1 เมษายน 2002 | ||
ทาการาซูกะ | 1 เมษายน 2003 | |||
คีวชู | ซางะ | ซางะ | 1 เมษายน 2014 | ที่ตั้งศาลากลางจังหวัด |
อ้างอิง
แก้- ↑ 日本總務省 - 中核市・施行時特例市. soumo.go.jp.
- ↑ Satoru Ohsugi (2011): The Large City System of Japan เก็บถาวร 2019-09-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Council of Local Authorities for International Relations and Institute for Comparative Studies in Local Governance, National Graduate Institute for Policy Studies. – หมายเหตุ: เอกสารนี้แปลโทกุเรชิเป็น "special case city" และใช้คำว่า "special city" สำหรับโทกูเบ็ตสึชิ
- ↑ つくば市が中核市候補市として中核市市長会へ加入しました(H27.12.1)|中核市市長会 สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2016
- ↑ จดหมายข่าวสภานครคูมางายะ ฉบับที่ 43 หน้า 9 เผยแพร่เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2016 (เข้าถึงเมื่อ 1 เมษายน 2018)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- "Japan's Evolving Nested Municipal Hierarchy: The Race for Local Power in the 2000s," by A.J. Jacobs at Urban Studies Research, Vol. 2011 (2011); doi:10.1155/2011/692764
- "Large City System of Japan"; graphic shows special cities compared with other Japanese city types at p. 1 [PDF 7 of 40]
- "Growth in Second Tier Cities - Urban Policy Lessons from Japan" เก็บถาวร 2019-09-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน briefing by CLAIR London on classes of Japanese cities (PDF)
- กระทรวงมหาดไทยและการสื่อสาร (ญี่ปุ่น)