เพียรศักดิ์ นิสสัยสุข

เพียรศักดิ์ นิสสัยสุข เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสิงห์บุรี 5 สมัย ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495

เพียรศักดิ์ นิสสัยสุข
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสิงห์บุรี
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2495 – พ.ศ. 2514
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2522 – พ.ศ. 2526
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดพ.ศ. 2456
เสียชีวิตพ.ศ. 2532
พรรคการเมืองกิจสังคม

ประวัติ

แก้

เพียรศักดิ์ นิสสัยสุข เป็นนักการเมืองชาวสิงห์บุรี ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสิงห์บุรีครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 และได้รับเลือกตั้งอย่างต่อเนื่อง 4 สมัยติดต่อกัน คือ ครั้งที่สองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา ของจอมพล ป.พิบูลสงคราม[1] ครั้งที่สามในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500[2] โดยไม่สังกัดพรรคการเมือง เนื่องจากกระแสของจอมพล ป. ไม่ค่อยดีนัก สมาชิกส่วนใหญ่จึงไม่สังกัดพรรคการเมืองใด แต่เพียรศักดิ์ก็ได้เข้าร่วมรัฐบาลโดยสนับสนุน ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาครั้งที่สี่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 สังกัดพรรคสหประชาไทย นำโดยจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. 2511

เพียรศักดิ์ห่างหายไปจากการเมือง 2 สมัย และกลับมาร่วมจัดตั้งพรรคสังคมชาตินิยม[3] และชนะการเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 ในนามพรรคกิจสังคม ของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช

ในระหว่างดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสิงห์บุรี เขาได้มีบทบาทในการริเริ่มผลักดันการจัดตั้งโรงเรียนหลายแห่ง อาทิ โรงเรียนทองเอนวิทยา[4] โรงเรียนศรีศักดิ์สุวรรณวิทยา[5] โรงเรียนบางระจันวิทยา[6] เป็นต้น

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2500/D/036/890.PDF
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2500/D/112/3065.PDF
  3. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งพรรคการเมือง เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 193 วันที่ 18 กันยายน 2517
  4. โรงเรียนทองเอนวิทยา[ลิงก์เสีย]
  5. "โรงเรียนศรีศักดิ์สุวรรณวิทยา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-30. สืบค้นเมื่อ 2020-04-20.
  6. "โรงเรียนบางระจันวิทยา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-19. สืบค้นเมื่อ 2020-04-20.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๓, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔๐๘, ๒๑ เมษายน ๒๕๒๓