เทียนไถ (จีน: 天台; พินอิน: จีนกลางมาตรฐาน สป.จีน: Tiāntāi, จีนกลางมาตรฐานสาธารณรัฐจีน: Tiāntái, ภาษาอู๋สำเนียงไทโจว (ภาษาพื้นเมืองเทียนไถ): Thiethei) เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายมหายานในประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และเวียดนาม เป็นนิกายที่นับถือสัทธรรมปุณฑรีกสูตรว่าเป็นคำสอนสูงสุดของพุทธศาสนา[1] ในญี่ปุ่นนิกายนี้เรียกว่าเท็นได, ในเกาหลีเรียกว่าชอนแท, และในเวียดนามเรียกว่าเทียนไท

วัดกั๋วชิงบนเขาเทียนไถ สร้างขึ้นในปี 598 ในสมัยราชวงศ์สุย และได้รับการบูรณะในรัชสมัยจักรพรรดิยงเจิ้งในราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1722–35)
เทียนไถ
ชื่อภาษาจีน
ภาษาจีน天台
ฮั่นยฺหวี่พินอินจีนกลางมาตรฐาน สป.จีน: Tiāntāi
จีนกลางมาตรฐานสาธารณรัฐจีน: Tiāntái
ความหมายตามตัวอักษรมาจาก "เขาเทียนไถ" (หอคอยสวรรค์)
ชื่อภาษาเวียดนาม
ภาษาเวียดนามThiên Thai
ฮ้าน-โนม天台
ชื่อภาษาเกาหลี
ฮันกึล
천태
ฮันจา
天台
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ天台
การถอดเสียง
โรมาจิTendai

ชื่อนิกายมาจากการที่ท่านจื้ออี้ (538–597 CE) บูรพาจารย์ลำดับที่ 4 ของนิกายอาศัยอยู่บนเขาเทียนไถ[2] จื้ออี้ได้รับการยกย่องเช่นกันในฐานะที่เป็นบุคคลสำคัญคนแรก ที่แยกสำนักนิกายจากขนบพุทธศาสนาแบบอินเดีย แล้วสร้างขนบพุทธศาสนาแบบจีน นิกายเทียนไถบางครั้งก็เรียกว่า "นิกายสัทธรรมปุณฑรีก" เพราะสัทธรรมปุณฑรีกสูตรมีบทบาทสำคัญมากในคำสอน [3]

ในช่วงราชวงศ์สุย นิกายเทียนไถกลายเป็นหนึ่งในนิกายชั้นนำของศาสนาพุทธแบบจีน มีวัดขนาดใหญ่จำนวนมากที่ได้รับการสนับสนุนจากจักรพรรดิและผู้อุปถัมภ์ที่ร่ำรวย อิทธิพลของนิกายจางหายไปและฟื้นขึ้นมาอีกครั้งเมื่อถึงราชวงศ์ถัง และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงราชวงศ์ซ่ง หลักคำสอนและการปฏิบัติของนิกายนี้มีอิทธิพลต่อนิกายสำคัญอื่นในจีน เช่น ฉาน และ สุขาวดี

ประวัติ

แก้

ไม่เหมือนนิกายก่อนหน้านี้ของพุทธศาสนาแบบจีน นิกายเทียนไถนั้นมีต้นกำเนิดมาจากจีนทั้งกระบิ[4] นิกายของศาสนาพุทธที่มีอยู่ในประเทศจีนก่อนที่จะเกิดขึ้นของนิกายเทียนไถนั้น โดยทั่วไปเชื่อว่าจะเป็นแทนของนิกายที่ได้รับการถ่ายโดยตรงจากอินเดีย โดยมีการปรับเปลี่ยนคำสอนและวิธีการขั้นพื้นฐานด้านการปฏิบัติเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม เทียนไถเติบโตและเจริญรุ่งเรืองในฐานะนิกายพุทธแบบจีนพื้นเมืองแท้ๆ ในสมัยจื้ออี้ปรมาจารย์ที่ 4 ผู้พัฒนาระบบหลักคำสอนและการปฏิบัติแบบชาวพุทธชาวจีนอย่างกว้างขวางโดยเขียนตำราและอรรถกถามากมาย

เมื่อเวลาผ่านไป นิกายเทียนไถกลายมีหลักคำสอนที่กว้างขวางสามารถดูดซับแนวคิดจากนิกายอื่น ๆ แม้ว่าจะไม่มีโครงสร้างที่เป็นทางการใด ๆ[4] นิกายนี้เน้นทั้งการศึกษาพระคัมภีร์และการฝึกสมาธิและสอนว่าการรู้แจ้งสำเร็จได้ด้วยการพิจารณาจิต[5]

คำสอนของนิกายนี้ ส่วนใหญ่อิงกับคำสอนของจื้ออี้, จ้านหราน และจือหลี่ ซึ่งอยู่ระหว่างศตวรรษที่ 6 และ 11 คณาจารย์เหล่านี้ใช้วิธีการที่เรียกว่า "การจำแนกประเภทของคำสอน" โดยความพยายามที่จะประสานคำสอนทางพุทธศาสนาจำนวนมากที่มีแนวคิดขัดแย้งกัน ซึ่งถูกนำเข้ามาในจีน นี่คือความสำเร็จผ่านการตีความอิงกับสัทธรรมปุณฑรีกสูตร

หลักคำสอน

แก้

หนาน ไหวจิ่น ผู้เชี่ยวชาญด้านพุทธศาสนานิกายยฉานในศตวรรษที่ 20 สรุปการสอนหลักของนิกายเทียนไถดังต่อไปนี้:

การแบ่งคำสอนในพุทธศาสนา

แก้

นิกายนี้จัดแบ่งคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นห้าช่วงคือ

นิกายนี้แบ่งคำสอนของพระพุทธเจ้าตามวิธีการสอนและลักษณะคำสอนดังนี้

  • วิธีการสอน 4 อย่าง
    • วิธีฉับพลัน ใช้กับผู้มีปัญญาและความสามารถสูง
    • วิธีค่อยป็นค่อยไป ใช้กับบุคคลทั่วไป
    • วิธีลับเฉพาะตน ใช้กับคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ
    • วิธีอันไม่เจาะจง ใช้กับคนหมู่มาก
  • ลักษณะคำสอน 4 อย่าง
    • คำสอนในพระไตรปิฎก แสดงแก่พระสาวกและพระปัจเจกพุทธเจ้า
    • คำสอนสามัญ เป็นลักษณะร่วมของหีนยานและมหายาน แสดงแก่พระสาวก พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระโพธิสัตว์
    • คำสอนพิเศษ แสดงแก่พระโพธิสัตว์โดยเฉพาะ
    • คำสอนสมบูรณ์ แสดงหลักทางสายกลางและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคัมภีร์ทั้งหลาย

นิกายเท็นได

แก้

ก่อตั้งโดยไซโช ซึ่งเป็นที่รู้จักหลังมรณภาพว่าเดนเกียว ไดชิ ได้รับอิทธิพลจากนิกายเทียนไท้ของจีน โดยนับถือสัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็นคัมภีร์หลัก แนวความคิดพื้นฐานของนิกายนี้คือ “อิชิจิสุ” สัจจะมีเพียงหนึ่ง เน้นการปฏิบัติทางสมาธิภาวนา ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นหลักปฏิบัติของนิกายเซนด้วย

หลักอิชิจิสุทำให้นิกายนี้มีลักษณะประนีประนอมต่อนิกายอื่นและต่อศาสนาชินโตด้วย ไซโชได้สร้างวัดเอนเรียวกูจิขึ้นที่ภูเขาไฮอิ เมื่อ พ.ศ. 1341 วัดนี้เป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาในญี่ปุ่นกว่า 800 ปีซึ่งในช่วงดังกล่าว พระสงฆ์นิกายนี้มีบทบาททางการเมืองด้วย

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Groner 2000, p. 199–200.
  2. Snelling 1987, p. 154.
  3. Ziporyn 2004.
  4. 4.0 4.1 Groner 2000, pp. 248–256.
  5. Williams 2008, p. 162.
  6. Huaijin 1997, p. 91.

ข้อมูล

แก้
  • Buswell, Robert Jr; Lopez, Donald S. Jr., บ.ก. (2013), Princeton Dictionary of Buddhism., Princeton, NJ: Princeton University Press, ISBN 9780691157863
  • Chappell, David W. (1987), "Is Tendai Buddhism Relevant to the Modern World?" (PDF), Japanese Journal of Religious Studies, 14 (2/3), คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 4, 2009, สืบค้นเมื่อ August 16, 2008{{citation}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)
  • Donner, Neal (1991), Sudden and Gradual Intimately Conjoined: Chih-i's Tíen-t'ai View. In: Peter N. Gregory (editor), (1991), Sudden and Gradual. Approaches to Enlightenment in Chinese Thought, Delhi: Motilal Banarsidass Publishers Private Limited
  • Groner, Paul (2000), Saicho : The Establishment of the Japanese Tendai School, University of Hawaii Press, ISBN 0824823710
  • Hua, Hsuan (1977), The Shurangama Sutra, Volume 1, Dharma Realm Buddhist Association
  • Huai-Chin, Nan (1997). Basic Buddhism: Exploring Buddhism and Zen. York Beach, Me.: Samuel Weiser. ISBN 1578630207
  • Luk, Charles (1964), The Secrets of Chinese Meditation, Rider
  • Ng, Yu-kwan (1990). Chih-i and Madhyamika, dissertation, Hamilton, Ontario: McMaster University
  • Snelling, John (1987), The Buddhist handbook. A Complete Guide to Buddhist Teaching and Practice, London: Century Paperbacks
  • Williams, Paul (2008). Mahayana Buddhism: The Doctrinal Foundations 2nd edition. Routledge
  • Wu, Rujun (1993). T'ien-T'ai Buddhism and early Mādhyamika. National Foreign Language Center Technical Reports. Buddhist studies program. University of Hawaii Press. ISBN 0-8248-1561-0, ISBN 978-0-8248-1561-5. Source: [1] (accessed: Thursday April 22, 2010)
  • Ziporyn, Brook (2004). Tiantai School, in Robert E. Buswell, ed., Encyclopedia of Buddhism, New York, McMillan. ISBN 0-02-865910-4
  • Ziporyn, Brook (2004), Being and ambiguity: philosophical experiments with Tiantai Buddhism, Illinois: OpenCourt, ISBN 978-0-8126-9542-7

บรรณานุกรม

แก้
  • Chappell, David Wellington (2013). A Guide to the Tiantai Fourfold Teachings, in: Tsugunari Kubo; Terry Abbott; Masao Ichishima; David Wellington Chappell, Tiantai Lotus Texts (PDF). Berkeley, California: Bukkyō Dendō Kyōkai America. pp. 153–210. ISBN 9781886439450.[ลิงก์เสีย]
  • Chen, Jinhua (1999). Making and Remaking History: A Study of Tiantai Sectarian Historiography. Tokyo: International Institute for Buddhist Studies. ISBN 4906267432.
  • Hurvitz, Leon (1962). Chih-i (538–597): An Introduction to the Life and Ideas of a Chinese Buddhist Monk. Mélanges Chinois et Bouddhiques XII, Bruxelles: Institut Belge des Hautes Études Chinoises
  • Katō Bunno, Tamura Yoshirō, Miyasaka Kōjirō (tr.), (1975 ). The Threefold Lotus Sutra: The Sutra of Innumerable Meanings; The Sutra of the Lotus Flower of the Wonderful Law; The Sutra of Meditation on the Bodhisattva Universal Virtue, Weatherhill & Kōsei Publishing, New York & Tōkyō (Rissho Kosaikai) PDF
  • Magnin, Paul (1979). La vie et l'oeuvre de Huisi (515 - 577) : (les origines de la secte bouddhique chinoise du Tiantai). Paris: Adrien-Maisonneuve. ISBN 2-85539-066-4.
  • Penkover, Linda (1979). In the Beginning ... Guanding and the Creation of Early Tiantai. Journal of the international Association of Buddhist Studies 23 (2), 245-296.
  • Stevenson, Daniel B. (1986). The Four Kinds of Samādhi in Early T'ien-t'ai Buddhism. In: Peter N. Gregory: Traditions of Meditation in Chinese Buddhism Vol. 1, Honolulu: University of Hawaii Press, pp. 45–98. ISBN 0-8248-1088-0.
  • Swanson, Paul L. (1989). Foundations of T'ien-T'ai Philosophy, Asian Humanities Press, California. ISBN 0-89581-919-8.
  • Ziporyn, Brook. (2016) Emptiness and Omnipresence: An Essential Introduction to Tiantai Buddhism. Indiana University Press, Bloomington. ISBN 9780253021083
  • ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์. ศาสนาและปรัชญาในจีน ทิเบต และญี่ปุ่น. กทม. สุขภาพใจ. 2545

แหล่งข้อมูลอิ่น

แก้