"หีนยาน" (/ˌhnəˈjɑːnə/) เป็นคำภาษาสันสกฤตแปลตรงตัวว่า "ยานลำเล็ก" หรือ "ยานชั้นเลว"[1][2] ศาสนาจารย์จีนและทิเบตดั้งเดิมนิยมแปลว่า "ยานที่เล็กกว่า"[3] ซึ่งตรงข้ามกับมหายาน ซึ่งแปลว่า "ยานใหญ่"

ในอดีต นักวิชาการตะวันตกนิยมใช้คำว่าหีนยานเพื่อเรียก "ระบบคำสอนที่เก่าแก่ที่สุดของศาสนาพุทธ" เช่นในพจนานุกรมภาษาสันสกฤตจาก ค.ศ. 1899[4] นอกจากนี้ยังปรากฏ หีนยาน ใช้เป็นคำเรียกแทนเถรวาท ซึ่งเป็นนิกายของศาสนาพุทธที่นิยมปฏิบัติมากในประเทศศรีลังกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นักวิชาการ รอเบิร์ท เธอร์แมนระบุอ้างมาซาโทชิ นางาโทมิ ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดว่า 'ศาสนาพุทธนิกายหีนยาน' เป็นคำที่สมาชิกบางส่วนของเถรวาทมองว่าเป็นคำที่ดูหมิ่นและไม่เหมาะสม[5]

ศัพทมูล แก้

หีนยาน มาจากคำว่า หีน[6] แปลว่า "เล็ก", "เลว", "ต่ำ", "ถูกทิ้งร้าง", "คับแคบไม่เพียงพอ", "บกพร่อง" ประกอบกับคำว่า ยาน (यान):[7] แปลว่า "ยานพาหนะ" ในแง่ของ "หนทางสู่การตรัสรู้" ส่วนในพจนานุกรมภาษาบาลีของสมาคมบาลีปกรณ์แปล หีน ว่า "เลว, น่าสังเวช; ทราม, พื้น ๆ, น่าสงสาร, น่าเหยียดหยาม" และ "น่าดูหมิ่น"

ผู้แปลคัมภีร์ เช่น พระกุมารชีวะ แปลคำนี้เป็นภาษาจีนคลาสสิกว่า "ยานเล็ก" (小 คือ "เล็ก", 乘 คือ "ยาน") อย่างไรก็ตาม ปรากฏคำแปลจีนอื่น ๆ ที่เก่าแก่กว่าเช่นกัน ส่วนในภาษามองโกเลีย (Baga Holgon) แปลว่ายานลำเล็กเช่นกัน[8] ส่วนในภาษาทิเบตใช้คำว่า theg chung แปลว่า "ยานเล็ก"[9] และ theg dman แปลว่า "ยานด้อย"[10]

อย่างไรก็ตาม ตรังกู รินโปเช เคยเน้นย้ำว่า หีนยาน ไม่เคยมีความหมายสื่อถึง "ความด้อยกว่า" โดยเขาระบุว่า "หีนยาน คือ "ยานลำเล็กกว่า" และไม่มีทางที่จะด้อยกว่ามหายาน"[11]

ต้นกำเนิด แก้

คำว่า “หินยาน” และ “มหายาน” ปรากฏครั้งแรกในคัมภีร์ปรัชญาปารมิตาสูตร[12] ต่อมามีคณาจารย์พระพุทธศาสนาช่วงพุทธศตวรรษที่ 6 ได้ปฏิรูปคำสอนและการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา โดยถือเอาวิถีทางพระโพธิสัตว์เป็นอุดมคติแทนที่การบรรลุเป็นพระอรหันต์ในชาตินี้[13] ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติดั้งเดิมที่มีมาตั้งแต่ศาสนาพุทธยุคแรก จึงเรียกกลุ่มตนเองว่า มหายาน และเรียกกลุ่มเดิมว่า หินยาน โดยมีนิกายเถรวาทเป็นหนึ่งในนั้น อย่างไรก็ตามหีนยานกลุ่มที่มหายานวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดคือนิกายสรวาสติวาท (ซึ่งต่อมาได้แตกออกเป็นไวภาษิกะและเสาตรานติกะ)[12]

พระพุทธศาสนา 18 นิกายที่ฝ่ายมหายานถือว่าเป็นฝ่ายหีนยาน ได้แก่

อ้างอิง แก้

  1. "Sanskrit Dictionary".
  2. "Meaning of hina | hina meaning in sanskrit | origin and history of hina | sanskrit syllables and sounds and text in hina".
  3. Rinpoche 1995, p. 15.
  4. Monier-Williams Sanskrit-English Dictionary (Oxford, 1899), "Proper Noun: simpler or lesser vehicle. Name of the earliest system of Buddhist doctrine (opposite to the later Mahayana; see Yana)."
  5. Robert Thurman and Professor Masatoshi Nagatomi of Harvard University: Robert Thurman, in The Emptiness That is Compassion, footnote 10, 1980.
  6. "Sanskrit Dictionary for Spoken Sanskrit". สืบค้นเมื่อ 2010-06-29.
  7. "Sanskrit Dictionary for Spoken Sanskrit". สืบค้นเมื่อ 2009-04-15.
  8. "It is also certain that Buddhist groups and individuals in China (including Tibet), Korea, Vietnam, and Japan have in the past, as in the very recent present, identified themselves as Mahayana Buddhists, even if the polemical or value claim embedded in that term was only dimly felt, if at all.", Macmillan Encyclopedia of Buddhism, 2004, page 492
  9. "Rangjung Yeshe Wiki - Dharma Dictionary:theg chung". Rangjung Yeshe Wiki. Tsadra Foundation.
  10. "Rangjung Yeshe Wiki - Dharma Dictionary:theg dman". Rangjung Yeshe Wiki. Tsadra Foundation.
  11. Rinpoche 2004, p. 113.
  12. 12.0 12.1 Berzin, Alexander. The Terms Hinayana and Mahayana. The Berzin Archives, เผยแพร่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2545, เรียกข้อมูลวันที่ ตุลาคม พ.ศ. 2555
  13. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 331-2

บรรณานุกรม แก้