พระปัจเจกพุทธเจ้า
พระปัจเจกพุทธเจ้า[1][2] (บาลี: ปจฺเจกพุทฺธ; สันสกฤต: ปฺรตฺเยกพุทฺธ) เป็นพระพุทธเจ้าประเภทหนึ่ง ที่ตรัสรู้เฉพาะตัว มิได้ประกาศพระพุทธศาสนา ที่เรียกดังนี้เพราะเมื่อได้ญาณสัมปยุตเป็นที่เฉพาะถึงตรัสรู้ธรรมแล้วให้เกิด อโปหะเป็นที่คล้องเกี่ยว ได้การสิ้นสงสัยและการสละทิ้งอย่างยิ่ง ในที่ที่เป็นเครื่องอุดหนุนให้บังเกิดอัปโปสุกกธรรม[3]เช่นนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงมิได้ขวนขวายที่จะแสดงธรรมและปฏิสังสันต์ในอันที่จะได้พ้นจากสันโดษและวิเวกซึ่งเป็นที่สมบูรณ์ น้อมแล้วแต่ที่ยิ่ง คือยินดีอยู่ด้วยสันโดษเป็นวิเวกเอกกะ ด้วยเป็นสำคัญเฉพาะเพียงแต่ลำพัง จึงมิกล่าวขวนขวาย จึงประจำอยู่แต่ในป่านาน ๆ เมื่อต้องจำเป็นด้วยสัมภาระ หรือเมื่อจวนเวลาแห่งธรรมุทเทศจำเป็นถึงจะเข้ามาในเมืองเพื่อโปรด และบิณฑบาตสักครั้งหนึ่ง
พระปัจเจกพุทธเจ้าได้บำเพ็ญบารมี 2 อสงไขยแสนกัป[4] และตรัสรู้อริยสัจ 4 ด้วยพระองค์เองเช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่จะเสด็จมาตรัสรู้ในคราวที่โลกว่างเว้นศาสนาพุทธ และมาตรัสรู้ได้หลายพระองค์ในสมัยเดียวกัน แต่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น มิได้ทรงประกาศพระศาสนาเกิดสาวกพุทธบริษัทเหมือนอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในปรมัตถโชติกา อรรถกถาสุตตนิบาตอธิบายว่า การบรรลุธรรมของ[5]พระปัจเจกพุทธเจ้า เปรียบเสมือนรสกับข้าวที่พรานป่าได้ลิ้มในเมือง ฉะนั้น จึงไม่อาจสอนให้บุคคลอื่นรู้ตามตนได้ (คือสอนได้แต่ไม่อาจให้รู้ตามได้)[6] ไม่ก่อตั้งหรือสถาปนาในรูปสถาบันศาสนา แต่เน้นอนุโมทนาแก่ผู้ถวายทานให้ และจะอุบัติขึ้นเฉพาะในช่วงระหว่างพุทธันดร กล่าวคือ ในช่วงเวลาเมื่อโลกว่างจากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตัวอย่างเช่นในระหว่างกาลแห่งพุทธาภิสมัยในปัจจุบันนี้ ได้มีพระปัจเจกพุทธเจ้าพระนามมาตังคะเสด็จอุบัติขึ้นและปรินิพพาน เมื่อพระโพธิสัตว์จุติลงมาอุบัติแล้วจากสวรรค์ชั้นดุสิตภพ (คือ พระปัจเจกพุทธเจ้าได้ปรินิพพานแล้วซึ่งนับเฉพาะกาลก่อนการประจวบแล้วซึ่งการประสูติกาลของพระโพธิสัตว์นั้น)[7]
พระปัจเจกพุทธเจ้าแต่ละพระองค์มีคติด้วยธรรมะประวัติคล้าย ๆ กัน คือ เป็นพระชาติมาจากราชามหากษัตริย์ พราหมณ์ หรือคหบดี[8]แต่โดยมาก ณ ที่นั้น ในที่ที่เบื่อหน่ายในโลกิยสมบัติทั้งหลายแล้ว ได้ออกบวชศึกษาพระธรรมจนบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ เมื่อบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณแล้ว ก็ไปชุมนุมที่ภูเขาคันธมาทน์ ซึ่งเป็นยอดเขาแห่งหนึ่งในป่าหิมพานต์หรือหิมาลัย มีฝูงช้างฉัททันต์คอยปรนนิบัติอยู่เป็นนิจ
คุณลักษณะพิเศษที่สำคัญประการหนึ่งของพระปัจเจกพุทธเจ้าคือ การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว หรือการดำเนินชีวิตอยู่เพียงลำพัง (เอกะ) ในวรรณคดีพระพุทธศาสนา เปรียบเทียบ การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวของพระปัจเจกพุทธเจ้า เหมือนกับนอแรด (ขคฺควิสาณกปฺโป) ซึ่งแรดของอินเดียมีเพียงนอเดียว ส่วนแรดในประเทศอื่นมี 2 นอก็มี แต่กระนั้นก็ตาม พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ต้องมาประชุมพร้อมกันเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน คือในวันที่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ใหม่อุบัติขึ้นและในวันอุโบสถ
พระปัจเจกพุทธเจ้ามีมากพระองค์และมีเป็นจำนวนมาก ดังปรากฏมาในพระไตรปิฎก ว่ามีพระปัจเจกพุทธเจ้า ถึง 5 พระองค์บ้าง และ 8 พระองค์บ้าง และในบทธรรมซึ่งเป็นนิทานสำคัญนั้นเอง กล่าวว่า ได้มีพระปัจเจกพุทธเจ้าคราวเดียวกันถึง 500 พระองค์ก็มี พระปัจเจกพุทธเจ้าประพฤติปฏิบัติตนและปรนนิบัติธรรมเป็นสัมโมทนียะอยู่ในที่ ณ ที่เรียกชื่อว่า ภูเขาคันธมาทน์อยู่ประมาณถึง 500 รูป หรือทั้งหมดในพระปัจเจกธรรมาภิสมัยนั้น แต่เพราะไม่ปรากฏตนต่อสาธารณะกระทำแต่เฉพาะมุ่งอยู่ในที่เร้น และไม่ปรารภธรรมอันเป็นอาจาริยวัตร[9]ในที่จะประกาศอุทเทศนั้นแก่ศิษย์ พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงไม่ปรากฏชื่อและเรื่องราวนั้นด้วยโดยทั่วไป ซึ่งที่จะทราบได้ทั้งหมดนั้นก็มาแต่โดยนัยที่พระพุทธเจ้าตรัสประทาน ดังที่ได้ตรัสถึง อิสิคีรีมหาบรรพตเป็นต้น ว่านั้นคือภูเขา[10]แห่งฤๅษี(หมายถึงพระปัจเจกพระพุทธเจ้า)
พระพุทธองค์ตรัสแก่พระอานนท์ในคัมภีร์ปัจเจกพุทธาปธานว่า "ในโลกทั้งปวง เว้นเราแล้ว ไม่มีใครเสมอพระปัจเจกพุทธเจ้าเลย"[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ปัจเจกพุทธะ"
ปัจเจกพุทธะ [ปัดเจกกะ-] น. ชื่อพระพุทธเจ้าพวกหนึ่งที่ตรัสรู้เฉพาะตัว มิได้สั่งสอนผู้อื่น. (ป.). แม่คำของ "ปัจเจกพุทธะ" คือ ปัจเจก ปัจเจก- โดย ฉบับราชบัณฑิต.,[ปัจเจกสัมพุทโธ (ปัด-เจก-กะ-สัม-พุด-โท) ก็ว่า จากพระไตรปิฎก ฉบับภาษาบาลี เล่มที่ ๑๔ ข้อที่ ๒๕๐], - ↑ ความหมายใน ฉบับประมวลศัพท์. ว่าคือ วิสุทธิเทพ,ปัจเจกโพธิสัมพุทธมหาเจดีย์ ว่าด้วยเรื่องพระปรางค์สีม่วง.,สารานุกรมฉบับกาญจนาภิเษก
- ↑ วิทยานิพนธ์ฯ บัณฑิตวิทยาลัยฯ พระครูวินัยธรภิรม กลฺยาโณ (ชื่นบาน) เก็บถาวร 2018-11-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, และมิลินทปัญหา อัปโปสุกตภาวปัญหา ที่ ๘,
- ↑ ไม่ต่ำกว่านั้น แม้ในสัทธา และวิริยาธิกะ เลยกำหนดไปกว่าเล็กน้อย แต่ไม่เกินไปกว่าอสงไขย ๓,มาใน พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถาแปล ฉบับพิมพ์ ๙๑ เล่ม เล่มที่ ๕๐ หน้าที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๑๘
- ↑ ฉบับ มมร เล่มที่ ๔๓ หน้าที่ ๑๕๕ แสดงเรื่องพระปัจเจกพุทธเจ้า จะสั่งสอนให้สุสิมมาณพให้ได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วย แต่ว่าจะต้องบรรพชาซะก่อน
- ↑ ในชั้นที่ลึกซึ้ง ว่า หมายถึง พระปัจเจกพุทธเจ้าไม่อาจกระทำพุทธพยากรณ์ด้วยกาล และด้วยกรณีย์กิจในเหตุนั้นๆ[ต้องการอ้างอิง]
- ↑ การนับเวลาประสูติกาล ให้นับในประเพณีที่นับวันประสูติด้วยการนับเวลาตั้งแต่ระยะกาลแห่งแรกปฏิสนธิ ซึ่งมีมาทั้งในอินเดียโบราณ และทั้งประเพณีจีน[ต้องการอ้างอิง]
- ↑ พระปัจเจกโพธิสัตว์อภิเษกพระปัจเจกสัมมาสัมโพธิญาณแล้วจากทุกๆสาขาอาชีพถึงเป็นนายพรานก็มี แต่ความมีปรากฏมาในชั้นอรรถกถา ด้วยนัยที่ได้กล่าวแต่หลักฐานในชั้นแรก ๆก่อน ใจความข้อนี้ถึงได้เลือน ๆ ไป จนถึงกะว่าไม่มีก็มีในผู้ที่ถือเข้าเฉพาะหลักในสำนักที่ไม่ถือและไม่นับบทธรรมที่มาในอรรถกถา ฉะนั้นจึงพอแต่อ้างอิงไว้เป็นแต่เพียงข้อสังเกตฯ ว่าพระชาติเมื่อจะอภิเษกด้วยพระปัจเจกธรรมถึงด้วยพระปัจเจกสัมมาสัมโพธิญาณนั้น ว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งนั้น ดังนั้นมีมาด้วยทุกแห่ง และอาจเป็นได้จากทุกๆอาชีพ ดังพอปรากฏหลักฐาน(มาในอรรถกถา)บ้าง ดังนี้
พระปัจเจกพุทธเจ้า พระชาตินายช่างกัลบก
พระปัจเจกพุทธเจ้า พระชาตินายพราน ได้รับคำสอนจากพระโพธิสัตว์พระชาตินกยูงทอง
พระปัจเจกพุทธเจ้า พระชาติชาวไร่ ,นักเดินทาง ,คนจ่ายตลาด ,นายอำเภอ
- ↑ หมายถึงการได้เป็นธรรมาจารย์ คือผู้สั่งสอน ปรากฏในพจนานุกรม ฉบับประมวลศัพท์ ว่า
ผู้ที่ถูกตั้งเป็นอาจารย์นั้น มี ๔ อย่าง คือ
๑) บัพพชาจารย์ หรือ บรรพชาจารย์ อาจารย์ในบรรพชา
๒) อุปสัมปทาจารย์ อาจารย์ในอุปสมบท
๓) นิสสยาจารย์ อาจารย์ผู้ให้นิสสัย
๔) อุทเทศาจารย์ หรือ ธรรมาจารย์ อาจารย์ผู้สอนธรรม - ↑ หมายถึงในเบญจคีรีบรรพต ๕ ยอดภูเขา แต่ภูเขา ๑ในห้าแห่งภูเขานั้น เรียกว่า “คิลิ” ซึ่งหมายถึงที่มีมาในอิสิคิลิสูตร แล้วนั้น
เรื่องเคยมีมาแล้ว เรื่องพระปัจเจกพุทธเจ้า,พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - ข้อที่ ๒๔๙ ถึง ๒๕๑ ใน อิสิคิลิสูตรที่ ๖ - ↑ มีคำเปรียบถึงความรู้ของพระปัจเจกพระพุทธเจ้า ที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ว่า “ ญาณของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นกับ ‘ แสงพระจันทร์ ’ ญาณของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นกับแสงสุริยมณฑลพันดวง ” (ในอรหันตสาวก เช่น แสงดาว)
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - จากฉบับพร้อมอรรถกถาแปล เล่มที่ 13 หน้า 71.
- ปัจเจกพุทธาปทาน, ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒
- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด. กรุงเทพฯ : วัดราชโอรสาราม, พ.ศ. 2548.