สมถะ เป็นภาษาบาลี แปลว่า สงบ ในคัมภีร์มีใช้ใน 3 แบบ ดังนี้ :

  1. จิตตสมถะ - ความสงบระงับจากอกุศลนิวรณ์แห่งจิต ดู : สมถกรรมฐาน.
  2. อธิกรณสมถะ - วิธีการสงบระงับอธิกรณ์การทะเลาะมีเรื่องมีราวกันในหมู่สงฆ์ มี 7 อย่าง เรียก สัตตาธิกรณสมถะ.
  3. สัพพสังขารสมถะ ความสงบระงับสังขารทั้งปวง หมายถึง พระนิพพาน[1]

สมถกรรมฐาน แก้

สมถกรรมฐาน หมายถึง กรรมฐานอันเป็นอุบายสงบใจ ซึ่งคู่กับวิปัสสนากรรมฐานอันเป็นอุบายเรืองปัญญา สมถกรรมฐาน คือ วิธีการในอันที่จะเพิ่มพูนสมาธิ คู่กับ วิปัสสนากรรมฐาน คือวิธีการในอันที่จะเพิ่มพูนสติ

สมถกรรมฐาน อารมณ์กรรมฐานที่ทำให้บรรลุอุปจารสมาธิขึ้นไป มีอยู่ 40 อย่าง[2] คือ

  1. กสิณ 10
  2. อสุภ 10
  3. อนุสสติ 10
  4. อัปปมัญญาหรือพรหมวิหาร 4
  5. อรูปฌาน 4
  6. จตุธาตุววัฏฐาน
  7. อาหาเรปฏิกูลสัญญา[3]

พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ มรณานุสสติ อุปสมานุสสติ จตุธาตุววัฏฐาน อาหาเรปฏิกูลสัญญา เป็นอารมณ์ให้สำเร็จอุปจารสมาธิ (หมายถึงทำได้สูงสุดที่อุปจารสมาธิ)

อสุภ 10 และกายคตาสติ เป็นอารมณ์ให้สำเร็จปฐมฌาน

เมตตา กรุณา มุทิตา เป็นอารมณ์ให้สำเร็จตติยฌาน

อุเบกขา ปฐวีกสิณ อาโปกสิณ วาโยกสิณ เตโชกสิณ โลหิตกสิณ นีลกสิณ ปีตกสิณ โอทาตกสิณ อาโลกกสิณ และอานาปานสติ เป็นอารมณ์ให้สำเร็จจตุตถฌาน

อากาสกสิณ เป็นอารมณ์ให้สำเร็จ อากาสานัญจายตนะ, วิญญาณัญจายตนะ เป็นอารมณ์ให้สำเร็จ วิญญาณัญจายตนะ, อากิญจัญญายตนะ เป็นอารมณ์ให้สำเร็จ อากิญจัญญายตนะ, เนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นอารมณ์ให้สำเร็จ เนวสัญญานาสัญญายตนะ

กสิณ 10 และอัปปมัญญา 4 ควรขยายอารมณ์กรรมฐาน

อรูปกรรมฐาน ก้าวล่วง รูป, เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก้าวล่วง เวทนาและสัญญา

กสิณ 10 เป็นปัจจัยแห่งอภิญญา5 และกรรมฐานที่เหลือไม่เป็นปัจจัยแห่งอภิญญา5

เนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่เป็นเหตุแห่งวิปัสสนา

กสิณ 10 อสุภ 10 กายคตาสติ และอานาปานสติ มีนิมิตเป็นอารมณ์กรรมฐาน

วิญญาณัญจายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ มรณานุสสติ อุปสมานุสสติ จตุธาตุววัฏฐาน อาหาเรปฏิกูลสัญญา มีสภาวธรรมเป็นอารมณ์กรรมฐาน

อัปปมัญญา 4 อากาสานัญจายตนะและอากิญจัญญายตนะ เป็นอารมณ์ที่พูดไม่ถูก ไม่มีทั้งนิมิตและสภาวธรรมเป็นอารมณ์กรรมฐาน

อสุภ 10 ปฐวีกสิณ อาโปกสิณ วาโยกสิณ เตโชกสิณ โลหิตกสิณ นีลกสิณ ปีตกสิณ โอทาตกสิณ อาโลกกสิณ กำหนดนิมิตโดยการเห็น

อานาปานสติ กำหนดนิมิตโดยการถูกกระทบ

วาโยกสิณ กำหนดนิมิตโดยการเห็นและการถูกกระทบ

พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ มรณานุสสติ อุปสมานุสสติ จตุธาตุววัฏฐาน อาหาเรปฏิกูลสัญญา เมตตา กรุณา มุทิตา กำหนดนิมิตโดยการฟังหรือคิดพิจารณา

กายคตาสติ กำหนดนิมิตโดยการเห็นและการฟังหรือคิดพิจารณา

อุเบกขาเป็นบาทฐานต่อจากตติยฌานของผู้เจริญเมตตา กรุณา มุทิตา, อากาสกสิณเป็นบาทฐานต่อจากปฐมฌานของผู้เจริญกสิณทั้ง9(เว้นอากาสกสิณ) อรูปกรรมฐานเป็นบาทฐานต่อจากจตุตถฌานของผู้เจริญอากาสกสิณ, อรูปกรรมฐานบทต่ำกว่าย่อมเป็นปัจจัยเกื้อหนุนแก่อรูปกรรมฐานบทที่สูงกว่าโดยลำดับ คือ อากาสกสิณย่อมเป็นปัจจัยเกื้อหนุนแก่อากาสานัญจายตนะ อากาสานัญจายตนะย่อมเป็นปัจจัยเกื้อหนุนแก่วิญญาณัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะย่อมเป็นปัจจัยเกื้อหนุนแก่อากิญจัญญายตนะ อากิญจัญญายตนะย่อมเป็นปัจจัยเกื้อหนุนแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ, อุเบกขา อากาสกสิณ อรูปกรรมฐาน ผู้ใหม่ไม่พึงปฏิบัติก่อนเพราะเป็นอารมณ์ที่ลึกซึ้ง,

อสุภ 10 กายคตาสติ อานาปานสติ จตุธาตุววัฏฐาน เป็นทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน เพราะมีรูปนามเป็นอารมณ์ , กสิณ 10 อัปปมัญญา 4 อรูปฌาน 4 พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ มรณานุสสติ อุปสมานุสสติ อาหาเรปฏิกูลสัญญา จัดเป็นสมถกรรมฐานอย่างเดียว เพราะไม่มีรูปนามเป็นอารมณ์

อ้างอิง แก้

  1. http://www.palungjit.com/tripitaka/search.php?kword=%CD%C7%D4%CA%D2%CB%D2%C3%D0[ลิงก์เสีย]
  2. คัมภีร์วิสุทธิมรรค
  3. คัมภีร์วิมุตติมรรค