กรรมฐาน (บาลี :kammaṭṭhāna, กมฺมฏฺฐาน) (สันสกฤต: karmasthana) หมายถึง ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรมจิต หรืออุบายหรือกลวิธีเหนี่ยวนำให้เกิดสมาธิ กรรมฐานจึงเป็นสิ่งที่เอามาให้จิตกำหนด เพื่อให้จิตสงบอยู่ได้ ไม่เที่ยวเตลิดเลื่อนลอยฟุ้งซ่าน ไปอย่างไร้จุดหมาย

อย่างไรในพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวงแปลคำว่า กมฺมฏฺฐาน ว่า ฐานะแห่งการงาน[1] [2] มากไปกว่านั้นในพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐพบคำว่า กมฺมฏฺฐาน เฉพาะในเล่มที่ 13 ข้อที่ 711 ถึง 713 เท่านั้น[3]

เสยฺยถาปิ มาณว กสิกมฺมฏฺาน มหตฺถ มหากิจฺจ

มหาธิกรณ มหาสมารมฺภ วิปชฺชมาน อปฺปปฺผล โหติ เอวเมว โข มาณว ฆราวาสกมฺมฏฺาน มหตฺถ มหากิจฺจ มหาธิกรณ มหาสมารมฺภ วิปชฺชมาน อปฺปปฺผล โหติ ฯ เสยฺยถาปิ มาณว กสิเยว กมฺมฏฺาน มหตฺถ มหากิจฺจ มหาธิกรณ มหาสมารมฺภ สมฺปชฺชมาน มหปฺผล โหติ เอวเมว โข มาณว ฆราวาสกมฺมฏฺาน มหตฺถ มหากิจฺจ มหาธิกรณ มหาสมารมฺภ สมฺปชฺชมาน มหปฺผล โหติ ฯ เสยฺยถาปิ มาณว วนิชฺชากมฺมฏฺาน อปฺปตฺถ อปฺปกิจฺจ อปฺปาธิกรณ อปฺปสมารมฺภ วิปชฺชมาน อปฺปปฺผล โหติ เอวเมว โข มาณว ปพฺพชฺชากมฺมฏฺาน อปฺปตฺถ อปฺปกิจฺจ อปฺปาธิกรณ อปฺปสมารมฺภ วิปชฺชมาน อปฺปปฺผล โหติ ฯ เสยฺยถาปิ มาณว วนิชฺชาเยว กมฺมฏฺาน อปฺปตฺถ อปฺปกิจฺจ อปฺปาธิกรณ อปฺปสมารมฺภ สมฺปชฺชมาน มหปฺผล โหติ เอวเมว โข มาณว ปพฺพชฺชากมฺมฏฺาน อปฺปตฺถ อปฺปกิจฺจ อปฺปาธิกรณ อปฺปสมารมฺภ

สมฺปชฺชมาน มหปฺผล โหตีติ ฯ

— พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 13 สุตฺตนฺตปิฏเก มชฺฌิมนิกายสฺส มชฺฌิมปณฺณาสกํ หน้าที่ 653 ข้อที่ 713

ดูกรมาณพ เปรียบเหมือนฐานะคือกสิกรรม ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีความเริ่มมาก เมื่อวิบัติ ย่อมมีผลน้อย ฉันใด ฐานะแห่งการงาน ของฆราวาส ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย. ฐานะคือกสิกรรมนั่นแล ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก เมื่อเป็นสมบัติ ย่อมมีผลมาก ฉันใด ฐานะแห่งการงานของฆราวาสก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก เมื่อเป็นสมบัติ ย่อมมีผลมาก การงานคือการค้าขาย ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อย เมื่อวิบัติ ย่อมมีผลน้อย ฉันใด ฐานะแห่งการงานฝ่ายบรรพชาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่มีความ ต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อย เมื่อวิบัติ ย่อมมีผลน้อย. ฐานะแห่งการงานคือการค้าขายนั่นแล ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อย เมื่อเป็นสมบัติ ย่อมมีผลมาก ฉันใด ฐานะแห่งการงานฝ่ายบรรพชาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อย เมื่อเป็นสมบัติ ย่อมมีผลมาก

— พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง เล่มที่ 13 สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ หน้าที่ 593 ข้อที่ 713

กรรมฐาน 40

แก้

กรรมฐาน 40 เป็นอุบาย 40 วิธีที่ใช้ฝึกจิตให้เกิดสมาธิ ระดับอุปจารสมาธิขึ้นไปได้ ก็คือสิ่งที่เอามาให้จิตกำหนด เพื่อชักนำให้เกิดสมาธิ พอจิตกำหนดจับสิ่งนี้เข้าแล้ว จะชักนำให้จิตแน่วแน่อยู่กับสิ่งนี้ จนเป็นสมาธิได้มั่นคงและเร็วที่สุด ในคัมภีร์อรรถกถาและปกรณ์ ได้รวบรวมแสดงกรรมฐานไว้ 40 อย่าง คือ

กสิณ 10
แปลว่า วัตถุอันจูงใจ หรือวัตถุสำหรับเพ่ง เพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ เป็นวิธีใช้วัตถุภายนอกเข้าช่วย โดยวิธีเพ่งเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง มี 10 อย่าง คือ
  1. ภูตกสิณ 4 (กสิณ คือ มหาภูตรูป) ได้แก่ ปฐวีกสิณ อาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ
  2. วรรณกสิณ 4 ได้แก่ นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ
  3. กสิณอื่น ๆ ได้แก่ อาโลกกสิณ อากาสกสิณ
อสุภะ 10
ได้แก่ การพิจารณาซากศพ ที่มีอาการต่าง ๆ กัน รวมกัน 10 อาการ
อนุสติ 10
คือ อารมณ์ดีงามที่ควรระลึกถึงเนือง ๆ ได้แก่ พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ สีลานุสติ จาคานุสติ เทวตานุสติ มรณานุสติ กายคตานุสติ อานาปานุสติ อุปสมานุสติ
อัปปมัญญา 4
คือ ธรรมที่พึงแผ่ไปในมนุษย์ สัตว์ทั้งหลาย อย่างมีจิตใจสม่ำเสมอทั่วกันไม่มีประมาณ ไม่จำกัดขอบเขต โดยมากเรียกกันว่า พรหมวิหาร 4 คือ
  1. เมตตา คือ ปรารถนาดี มีไมตรีอยากให้มนุษย์ สัตว์ทั้งหลาย มีความสุขทั่วหน้า
  2. กรุณา คือ อยากช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์
  3. มุทิตา คือ พลอยมีใจแช่มชื่นบาน เมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข และเจริญงอกงาม ประสบความสำเร็จยิ่งขึ้นไป
  4. อุเบกขา คือ วางจิตเรียบสงบ สม่ำเสมอ เที่ยงตรงดุจตาชั่ง มองเห็นมนุษย์ สัตว์ทั้งหลาย ได้รับผลดีร้าย ตามเหตุปัจจัยที่ประกอบ ไม่เอนเอียงไปด้วยชอบหรือชัง
อาหาเร ปฏิกูลสัญญา
กำหนดหมายความเป็นปฏิกูลในอาหาร 9 ขั้นตอน ตั้งแต่หยิบจับเข้าปากไปจนออกมากลายเป็นอุจจาระ
จตุธาตุววัฏฐาน
กำหนดพิจารณาธาตุ 4 คือ พิจารณาเห็นร่างกายของตน โดยสักว่าเป็นธาตุ 4 แต่ละอย่าง
อรูป 4
กำหนดสภาวะที่เป็นอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ใช้ได้เฉพาะผู้ที่เพ่งกสิณ 9 อย่างแรก แล้วเจริญอากาสกสิณ จนได้จตุตถฌานมาแล้ว แล้วจึงยกจิตขึ้นสู่ กรรมฐานแบบอรูปตามลำดับ มี 4 อย่าง คือ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ


ขีดขั้นความสำเร็จ

แก้

กรรมฐาน 2 อย่าง

แก้

ในคัมภีร์ทางพระอภิธรรมบรรยายเกี่ยวกับกรรมฐานไว้ว่า การงานที่เป็นเหตุแห่งการบรรลุธรรม และแบ่งกรรมฐานเป็นสองอย่าง คือ

  • สมถะ เป็นอุบาย การยั้งกิเลส นิวรณ์ทั้งหลายให้สงบ ระงับ
  • วิปัสสนา เป็นปัญญา เห็นโดยอาการต่างๆ มีความไม่เที่ยง เป็นต้น

อ้างอิง

แก้
  1. พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง เล่มที่ 13 สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ หน้าที่ 593 ข้อที่ 713
  2. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 13 สุตฺตนฺตปิฏเก มชฺฌิมนิกายสฺส มชฺฌิมปณฺณาสกํ หน้าที่ 653 ข้อที่ 713
  3. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้