เจ้าเพชรราช รัตนวงศา

พระราชวงศ์ลาว

สมเด็จเจ้ามหาอุปราชเพชราช รัตนวงศา (ลาว: ເພັດຊະລາດ ລັດຕະນະວົງສາ; 19 มกราคม พ.ศ. 2443 - 14 ตุลาคม พ.ศ. 2502) วีรบุรุษของชาวลาว ผู้ทรงจัดตั้งรัฐบาลลาวอิสระเพื่อปลดแอกจากการปกครองของฝรั่งเศส และรวมแผ่นดินลาวทั้งหมดให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทรงเป็นพระมหาอุปราชพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์ของประเทศลาวในสมัยประเทศลาวยังเป็นพระราชอาณาจักรลาว และทรงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของลาวในช่วง พ.ศ. 2485 - 2488 ทรงได้รับการนับถือจากชาวลาวเป็นอย่างมากตราบจนถึงทุกวันนี้

สมเด็จเจ้ามหาอุปราชเพชรราช
ເຈົ້າເພັຊຣ໌ຣາຊ
นายกรัฐมนตรีของพระราชอาณาจักรลาว คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2484 – 10 ตุลาคม พ.ศ. 2488
ก่อนหน้าไม่มี
ถัดไปพระยาคำม้าว วิไล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 มกราคม พ.ศ. 2443
ตำหนักวังหน้า หลวงพระบาง ประเทศลาว
เสียชีวิต14 ตุลาคม พ.ศ. 2502 (59 ปี)
วังเชียงแก้ว หลวงพระบาง ประเทศลาว
ศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท
พรรคการเมืองลาว ลาวอิสระ (ต่อมาเป็นพรรคประชาชนปฏิวัติลาว)
คู่สมรสเจ้าหญิงคำแว่น, หม่อมศรี, หม่อมอภิณพร รัตนวงศา (ยงใจยุทธ)

ประวัติ แก้

เจ้าเพชรราช ประสูติ ณ ตำหนักวังหน้า นครหลวงพระบาง เมื่อวันอาทิตย์ เดือนยี่ แรม 9 ค่ำ ปีฉลู จุลศักราช 1251 เวลา 11.55 น. ตรงกับวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2433 ( ค.ศ.1890 ) เป็นโอรสองค์ที่ 3 ของเจ้ามหาอุปราชบุญคง ซึ่งสืบตระกูลมาจากเจ้ามหาอุปราชอุ่นแก้วซึ่งเป็นต้นตระกูลเดิม เมื่ออายุได้ 7 ปีกว่าจึงเริ่มเรียนหนังสือลาวและหนังสือสยามและภาษาฝรั่งเศส พร้อมๆกับการติดสอยตามพระบิดาไปตรวจงานหัวเมืองเสมอ ปี พ.ศ. 2442 ผนวชเป็นสามเณรที่วัดธาตุหลวงเรียนภาษาบาลี ปี พ.ศ. 2447 ได้เสด็จไปเรียนต่อที่ฝรั่งเศส ที่โรงเรียนโกโลนิยาล (Colonial) ซึ่งเป็นร.ร.ที่ฝรั่งเศสตั้งขึ้นเพื่ออบรมผู้ที่จะไปเป็นข้าราชการปกครองในประเทศหัวเมืองขึ้น ต่อมาเข้าโรงเรียนมัธยมมงเตเยอ แผนกวิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษ เพื่อฝึกภาษาอังกฤษ ในระหว่างปิดเทอมได้ข้ามไปพักในอังกฤษ อาศัยอยู่กับมิสเตอร์เลนน อาจารย์สอนดาราศาสตร์จึงทำให้เกิดสนใจในดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ตั้งแต่นั้นมา ต่อมาได้แต่งหลักคำนวณปฏิทินลาวไว้ด้วย พระองค์ศึกษาต่อในโรงเรียนมัธยมเซนต์หลุยส์ถึงปี 2453 เสด็จกลับมาผนวชเป็นพระภิกษุที่วัดหนองสระแก้วตามประเพณี เมื่อลาผนวชแล้ว เข้ารับราชการเป็นผู้ร่างหนังสืออยู่กองคลัง หลวงพระบาง

พระองค์อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงคำแว่น พระพี่นางเธอของเจ้าศรีสว่างวงศ์ ซึ่งตกพุ่มหม้ายและมีอายุมากกว่าหลายปี ทั้งนี้ว่ากันว่าเป็นการประสานรอยร้าวระหว่างราชวงศ์หลวงพระบางสายเจ้ามันธาตุราชกับสายเจ้าอุ่นแก้ว (ตระกูลวังหน้ากับตระกูลวังหลัง) มีพระโอรสและพระธิดา 3 องค์ คือ เจ้าหญิงคำผิว (เสียชีวิต) เจ้าหญิงคำจันทร์ (สามีเป็นชาวฝรั่งเศส) และเจ้าชายสุริยะราช

ขณะรับตำแหน่งผู้ตรวจราชการหัวเมืองลาวที่นครเวียงจันทน์ ได้อนุชายา ชื่อนางศรี (ชาวเวียงจันทน์) บุตรธิดา 2 คน ได้แก่ เจ้าหญิงอรุณา (เจ้านา) เพชรราช และเจ้าชายอุ่นแก้ว (เจ้าแก้ว) เพชรราช [1] (ภายหลังเมื่อสิ้นเจ้าเพชรราชแล้ว ทั้งสองท่านนี้ได้ตามหม่อมอภิณพร รัตนวงศามาอยู่ในเมืองไทย เจ้านาเรียนพยาบาล และเจ้าแก้วรับราชการทหาร)[2]

พ.ศ. 2489 เมื่อต้องทรงลี้ภัยทางการเมืองเข้ามาอยูในประเทศไทย พร้อมรัฐบาลลาวอิสระและประชาชนเมืองลาวผู้รักอิสรภาพหลายพันคนเป็นเวลานานถึง 11 ปี ขณะพำนักลี้ภัยในประเทศไทย มีคุณอภิณพร ยงใจยุทธเป็นแม่บ้าน ต่อมาได้สมรสกับคุณอภิณพรเปลี่ยนเป็นหม่อมอภิณพร รัตนวงศา (นามสกุล “รัตนวงศา” ทรงตั้งขึ้นเองเมื่ออยู่ในเมืองไทย สืบเนื่องจากพระมหาอุปราชอุ่นแก้วพระปัยกา) หม่อมอภิณพรฯ เป็นกำลังสำคัญของการปฏิบัติการกู้ชาติ ผู้ทำหน้าที่แม่บ้านปกครองดูแลผู้คนจำนวนมาก เป็นเจ้าหน้าที่ประสานงานกับรัฐบาลไทย บริหารการจัดการเงินจัดหาค่าใช้จ่าย เป็นเลขานุการส่วนพระองค์ ปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนพระองค์เจ้าเพชรราช เจรจาการเมืองและ เรื่องส่วนพระองค์ ทั้งในและนอกราชอาณาจักรไทย ไปพนมเปญ ไปย่างกุ้ง เพื่อทำความเข้าใจร่วมระหว่างลาวเขมรญวนและพม่าที่ต่างมุ่งล้างอิทธิพลชาวผิวขาวด้วยกัน

พ.ศ. 2490 รัฐบาลฝรั่งเศสยินยอมให้ประเทศลาวเป็นเอกราชในเครือสหพันธ์ฝรั่งเศส เจ้าเพชรราชทรงไม่เห็นด้วยเพราะเห็นว่าเอกราชนั้นไม่สมบูรณ์ จึงทรงวางมือทางการเมืองไม่เข้ากับฝ่ายใด เพราะเจ้าสุวรรณภูมา พระอนุชาองค์ที่ 1 เข้ากับฝรั่งเศส, เจ้าสุภานุวงศ์ อนุชา องค์ที่ 2 เข้ากับเวียดนามเหนือ, รัฐบาลไทยโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี รับรองรัฐบาลลาวตามนโยบายการเมืองที่จำเป็น

ขณะที่ประทับในเมืองไทยนับแต่วางมือจากการเมือง และหายจากโรคกระเพาะอาหารที่ต้องรับการผ่าตัด จึงหันหน้าเข้าป่าล่าเนื้อกับบรรดาเจ้านายไทยและข้าราชการไทยผู้ที่ชอบกีฬาล่าเนื้อเหมือนกัน [3] จนเป็นที่รักชอบกัน

พ.ศ. 2499 เสด็จเจ้าสุวรรณภูมา​ ได้ทูลเชิญเจ้าเพชรราชกลับเพื่อแก้ปัญหายุ่งยากในประเทศ และได้เสด็จกลับในวันที่ 22 มีนาคม 2500 โดยทางรถไฟจากกรุงเทพถึงหนองคาย มีประชาชนลาวไปต้อนรับอย่างล้นหลาม เมื่อเสด็จกลับสู่ราชอาณาจักรลาวอีกครั้ง เป็นความปลี้มปิติและความหวังใหม่ที่ชาติลาวจะได้สงบร่มเย็น เจริญรุ่งเรืองไร้การครอบครองของชาติอื่น ท่านกลายเป็นเทพเจ้าของคนลาว แต่ก็เป็นชนวนให้เกิดความไม่พอใจ รวมทั้งอุปสรรคขวากหนามต่างๆ ที่ทำให้พระองค์ตระหนักถึงความล้มเหลว ในการรวมตัวกันสร้างชาติใหม่ และทรงทราบถึงอันตรายบางประการ

 
พระฉายาลักษณ์ของเจ้าเพชรราชได้รับการยอมรับเป็นวัตถุมงคลสักการะบูชาของชาวลาว

ประมาณเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2502 ทรงมีลายพระหัตถ์ถึงพระสหายนักนิยมไพรในกรุงเทพฯ [4] บรรยายถึงความผิดหวังและล้มเหลว รับสั่งว่าถึงคราวที่ต้องเสด็จนิราศจากแผ่นดินเกิด เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในเมืองไทยอีกครั้ง ประมาณว่าจะเสด็จในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2502 แต่แล้วเหตุการณ์ที่ไม่มีผู้ใดคาดฝัน อุบัติขึ้นเช้าวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2502 พระสหายในกรุงเทพฯ ได้รับแจ้งจากเจ้าคำปาน เอกอัครราชทูตแห่งราชอาณาจักร​ลาว​ประจำประเทศ​ไทย ณ กรุงเทพมหานคร ว่า เจ้าเพชรราชสิ้นพระชนม์แล้วเมื่อ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2502 ณ วังเชียงแก้ว สาเหตุเส้นโลหิตในพระสมองแตก

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

พระราชอาณาจักรลาว แก้

ประเทศไทย แก้

อ้างอิง แก้

  • หนังสือเจ้าเพชรราช เรียบเรียงโดยมหาสิลา วีระวงส์
  • บทความเรื่อง "เจ้าเพชรราช มหาอุปราชแห่งเวียงจันทน์ " เรียบเรียงโดยนายสรศัลย์ แพ่งสภา และนายอติศัย แพ่งสภา และโดยความร่วมมือของสมาชิกนิยมไพรไทยจากประสบการณ์จริง รวมทั้งนายอติศัยฯ ที่ได้ช่วยเหลืองานด้านการเกษตรขององค์การ USOM ในประเทศลาว พักอาศัยอยู่ที่วังเวียงจันทน์ จนวันสุดท้าย 15 ตุลาคม 2502
  1. มหาสิลา วีระวงศ์
  2. (ข้อมูลจากนายอติศัย แพ่งสภา)
  3. สหายนักนิยมไพร : พล.ต.พระศัลยเวทย์วิศิษฐ์,พ.อ.พระยาสุรพันธเสนีย์,พันเอกพระอินทร์สรศัลย์ , นายสรศัลย์ แพ่งสภา, นายอติศัย แพ่งสภา ฯ
  4. ตามอ้างอิงสมาชิกสมาคมนักนิยมไพร

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า เจ้าเพชรราช รัตนวงศา ถัดไป
   
นายกรัฐมนตรีลาว
(พ.ศ. 2483 – 10 ตุลาคม พ.ศ. 2488)
  พระยาคำม้าว วิไล