พระยาสุมนเทวราช

(เปลี่ยนทางจาก เจ้าหลวงสุมนเทวราช)

เจ้าสุมนเทวราช[3] หรือ เจ้าหลวงสุมนเทวราช [4]ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 58 และองค์ที่ 8 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ ทรงเป็นราชโอรสในเจ้าอริยวงษ์ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 52 และทรงเป็นพระนัดดา(หลานปู่)ในพระเจ้าหลวงติ๋นมหาวงศ์ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 51 และปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ ทรงครองเมืองน่าน ระหว่างปี พ.ศ. 2354 - พ.ศ. 2368

เจ้าสุมนเทวราช
พระยาน่าน
เจ้าผู้ครองนครน่าน
องค์ที่ 58 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์
ราชาภิเษก12 มิถุนายน พ.ศ. 2354
ครองราชย์13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2354 - 26 มิถุนายน พ.ศ. 2368
รัชกาล14 ปี 4 เดือน 13 วัน
พระอิสริยยศพระยาประเทศราช
ก่อนหน้าสมเด็จเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ
ถัดไปเจ้ามหายศ
ประสูติพ.ศ. 2294
พิราลัย26 มิถุนายน พ.ศ. 2367 (74 ปี)
กรุงเทพพระมหานคร อาณาจักรรัตนโกสินทร์
ถวายเพลิงพระศพ16 สิงหาคม พ.ศ. 2367
ณ พระเมรุชั่วคราว วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพ
พระอัครชายาแม่เจ้าพิมพาอรรคราชเทวี
พระชายา7 องค์
พระราชบุตร10 พระองค์
พระนามเต็ม
พระยาสุมนเทวราช พระยาน่าน
ราชสกุลสมณะช้างเผือก [1]
ราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์
พระบิดาพระเจ้าอริยวงษ์
พระมารดาแม่เจ้าเมืองรามราชเทวี[2]

พระประวัติ

แก้

เจ้าสุมนเทวราช มีพระนามเดิมว่า เจ้าสมณะ[5] ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2294 ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ 3 ในเจ้าอริยวงษ์ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 52 ประสูติแต่แม่เจ้าเมืองรามราชเทวี (ชายาที่ 2) และทรงเป็นพระนัดดา(หลานปู่)ในพระเจ้าหลวงติ๋นมหาวงศ์ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 51 และปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ เจ้าสุมนเทวราชทรงมีพระเชษฐาร่วมพระมารดา 2 องค์ ดังนี้

  1. เจ้าขวา ภายหลังเป็น เจ้าพระยาจางวางขวา เมืองน่าน
  2. เจ้าซ้าย ภายหลังเป็น เจ้าพระยาจางวางซ้าย เมืองน่าน
  3. เจ้าสมณะ ภายหลังเป็น พระเจ้าสุมนเทวราช เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 58

พระอิสริยยศ และบรรดาศักดิ์

แก้
  1. พระยาอุปราชสมณะ พระยาอุปราชเมืองน่าน (พ.ศ. 2331 - พ.ศ. 2353)
  2. พระยาสุมนเทวราช เจ้าพระยาน่าน (พ.ศ. 2353 - พ.ศ. 2368


(ใน พ.ศ. 2331 เจ้าอัตวรปัญโญ ได้ลงมาเข้าเฝ้าฯ เพื่อขอเป็นข้าขอบขัณฑสีมาในรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และได้รับการสถาปนาเป็น “เจ้าฟ้าอัตวรปัญโญ” แล้วกลับให้ครองนครน่านต่อพร้อม กับสถาปนา เจ้าสุมนเทวราช ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้าของเจ้าฟ้าอัตวรปัญโญ เป็นเจ้าอุปราชหอหน้า (มีฐานะรอง จากเจ้าผู้ครองนคร)

เครื่องยศ

แก้

เครื่องยศ ที่พระยาสุมนเทวราช ทรงได้รับพระราชทาน[6] ดังนี้ วันพุธ ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2354 หรือ (จุลศักราชได้ ๑๑๗๓ ตัวปีลวงเม็ดเดือน ๗ ลง ๖ ค่ำ) พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯพระราชทาน เครื่องยศ แก่พระยาสุมนเทวราช ดังนี้

  • พานพระศรีคำ 1 ใบ
  • จอกคำ 2 ใบ
  • ผะอบยาสูบคำ 2 อัน
  • ซองพลูคำ 1 อัน
  • มีดด้ามคำ 1 อัน
  • อุบนวดคำ 1 ใบ
  • คนโทคำ 1 ลูก
  • กะโถนคำ 1 ใบ
  • แหวนธำมรงค์ราชลูกดีพลอยเพ็ชร ต้น 10 กลาง 10 2 วง
  • พระกลดแดงดอกคำ 1 ใบ
  • ปืนลองชนเครือคำ 1 กระบอก
  • ปืนลองชนต้นเรียบ 2 กระบอก
  • ปืนลองชนต้นกลม 3 บอก
  • ผ้ายกไหมคำหลวงสังเวียน 1 ผืน
  • ผ้านุ่งยกไหมคำ 4 ผืน
  • ผ้าโพกริ้วทอง 1 ผืน
  • เสื้อจีบเอวภู่ตราดอกคำ 1 ผืน
  • แพรขาวผุดดอกคำ 1 ผืน
  • มุ้งแพร 2 หลัง
  • สโต๊กเงิน 2 ใบ

พระโอรส พระธิดา

แก้

 เจ้าสุมนเทวราช เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 58 ทรงมีพระชายา 8 องค์ และพระโอรส/พระธิดา รวม 10 พระองค์ มีรายพระนามดังนี้

  • พระชายาที่ 1 แม่เจ้าพิมพาอรรคราชเทวี
 - ไม่มีประสูติกาล
  • พระชายาที่ 2 แม่เจ้ามาลาวีราชเทวี ประสูติพระโอรส 2 พระองค์ ดังนี้
    1. เจ้าอินทบุตร
    2. เจ้าอชิตวงษ์ ภายหลังได้เป็น พระเจ้าอชิตวงษ์ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 60
  • พระชายาที่ 3 แม่เจ้าสุคันทาราชเทวี ประสูติพระโอรส 1 พระองค์ ดังนี้
    1. เจ้าบุญสาร
  • พระชายาที่ 4 แม่เจ้าคำทิพย์เทวี ประสูติพระโอรส 2 พระองค์ ดังนี้
    1. เจ้าอนุรุธ
    2. เจ้าค่ายแก้ว
  • พระชายาที่ 5 แม่เจ้าคำเฟือยเทวี
 - ไม่มีประสูติกาล
  • พระชายาที่ 6 แม่เจ้าปวงพระเจ้าเทวี
 - ไม่มีประสูติกาล
  • พระชายาที่ 7 แม่เจ้าคำปวนเทวี ประสูติพระโอรส/พระธิดา 3 พระองค์ ดังนี้
    1. เจ้าบุษรถ ภายหลังได้เป็น เจ้าเมืองแก่น
    2. เจ้าพัทธิยะ
    3. เจ้านางแปงเมือง
  • พระชายาที่ 8 แม่เจ้าต่อมแก้วเทวี ประสูติพระโอรส/พระธิดา 2 พระองค์ ดังนี้
    1. เจ้านางขวดแก้ว
    2. เจ้าพุทธวงษ์ [7]

พระกรณียกิจ

แก้
  • ด้านศาสนา
    1. บูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุเขาน้อย (เขาแก้ว)
      ปี พ.ศ. 2354 ก่อนที่เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ จะเสด็จลงไปเข้าร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 นั้นได้มีพระบัญชาให้เจ้าสุมนเทวราช ผู้เป็นเจ้าอุปราชได้ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุเขาน้อย ภายหลังเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ ได้เสด็จถึงแก่พิราลัย และได้พระราชทานเพลิงพระศพ ณ กรุงเทพฯ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งเจ้าอุปราช (สุมณะ) ขึ้นครองนครน่านสืบต่อ พระองค์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุและพระวิหารวัดพระธาตุเขาน้อยจนแล้วเสร็จและสมโภชในปี พ.ศ. 2357
    2. บูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
      เจ้าสุมนเทวราช เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 58 ทรงโปรดให้ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร และทำการสมโภชในปี พ.ศ. 2356
    3. สร้างพระวิหารหลวง วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
      ในปี พ.ศ. 2355 เจ้าสุมนเทวราช เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 58 ทรงโปรดให้เหล่าข้าราชบริพารทำการก่อสร้างพระวิหารหลวง วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร พระวิหารหลังดังกล่าวได้ดำเนินการก่อสร้างเป็นเวลา 7 ปี จึงแล้วเสร็จและทำการสมโภชในปี พ.ศ. 2361
    4. บูรณปฏิสังขรณ์พระวิหารหลวง พระประธาน และถวายสิ่งต่างๆ ไว้ ณ วัดพระธาตุแช่แห้ง
      ในปี พ.ศ. 2363 เจ้าสุมนเทวราช เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 58 ทรงโปรดให้ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์พระวิหารหลวง และพระประธาน พร้อมกันนั้นได้สร้างสิ่งต่างๆ ไว้เป็นพุทธบูชา ณ วัดพระธาตุแช่แห้ง เช่น ฉัตรไม้บุด้วยแผ่นทองแดง ประดับประดาด้วยลวดลายอันงดงามวิจิตรจำนวน 4 คัน ระฆังสำริด จำนวน 2 ใบ เพื่อใช้ตีในพิธีบูชาพระมหาชินธาตุเจ้า และข้าวัดจำนวน 3 คน
    5. สถาปนาพระสังฆราช
      เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2364 เจ้าสุมนเทวราช เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 58 ได้ทรงสถาปนาพระมหาเถระวัดพญาวัดนามว่า “ทิพฺพวํโส” ขึ้นเป็น “พระสังฆราชแห่งนครน่าน”
    6. สร้างพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดสถารส (เวียงเหนือ)
      เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2366 เจ้าสุมนเทวราช เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 58 พร้อมกับพระนางพิมพาราชเทวี พระศรีอนุกัญญา พระราชบุตร พระราชนัดดา พร้อมด้วยเสนาอำมาตย์ข้าราชบริพารทั้งหลายร่วมกันสร้างพระพุทธรูปทองสำริด ประดิษฐาน ณ วัดสถารส (เวียงเหนือ) (ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ วัดสถารศ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน)
  • ด้านบ้านเมือง
    1. เมื่อปี พ.ศ. 2353 พระยาสุมนเทวราช เจ้าผู้ครองนครน่าน ได้สนองพระเดชพระคุณเผยแพร่พระบารมีให้แผ่ไพศาลออกไปอีกครั้ง ด้วยการกรีฑาทัพเมืองน่านขี้นไปตีหัวเมืองไทลื้อต่างๆในสิบสองปันนา เช่น เมืองล้า เมืองพง เมืองเชียงแขง เมืองหลวงภูคา เป็นต้น และได้กวาดต้อนเชลยศึกเข้ามาไว้ในอาณาเขตเมืองนครน่านถึง 60,000 คนเศษ เมื่อเสร็จศึกสงครามแล้วจึงเสด็จลงไปเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ณ กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อนั้นก็ทรงยินดีโสมนัสเป็นอย่างมาก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสิ่งของให้เหล่าแม่ทัพอํามาตย์มากมาย ดังในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑๐ บันทึกไว้ว่า .. “ในศักราชเดียวนี้ เดือน ๓ อาชญาเจ้าหลวงท่านก็กวาดเอาคนครัวเมืองล้า เมืองพง เชียงแขง เมืองหลวงภูคา ลงมาไว้เมืองน่าน มีคน ๖๐,๐๐๐ คนหั้นแล” .. (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑๐ , ๒๔๖๑ : ๑๔๗)
    2. เมื่อปี พ.ศ. 2360 (ในรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ได้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ น้ำในแม่น้ำน่านไหลเข้าสู่ตัวเมืองน่านด้วยความแรงและเชี่ยว ได้พัดพากำแพงเมืองทางด้านทิศตะวันตกพังทลายลงทั้งแถบ บ้านเรือนพังทลายเกือบหมด วัดวาอารามในนครน่านหักพังเป็นอันมาก
    3. เมื่อปี พ.ศ. 2362 พระยาสุมนเทวราช เจ้าผู้ครองนครน่าน จึงได้ย้ายเมืองไปอยู่บริเวณดงพระเนตรช้างซึ่งเป็นที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเมืองน่าน (ปัจจุบัน) ทรงใช้เวลาในการก่อสร้างเพียง 6 เดือน จึงแล้วเสร็จ แล้วโปรดให้เรียกว่า "เวียงเหนือ" (ปัจจุบันอยู่ในเขตบ้านมหาโพธิ์ และบ้านสถารส อ.เมืองน่าน) ห่างจากเวียงใต้ (เมืองน่าน ปัจจุบัน) ประมาณ 2 กิโลเมตร เวียงเหนือ มีลักษณะของเมืองคือทอดไปตามลำน้ำน่าน อยู่ห่างจากแม่น้ำน่านประมาณ 800 เมตร มีคูเมืองล้อมรอบ ซึ่งปัจจุบันยังพบร่องรอยคูน้ำคันดินของพื้นที่หัวเวียงเหนืออยู่ ในปัจจุบัน คือ ถนนหน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน

 หัวเวียงเหนือ มีพื้นที่อาณาเขต ดังนี้

 • ทิศใต้ จดกับ ทุ่งนาริน
 • ทิศตะวันออก ทอดตัวยาวไปตามถนนสุมนเทวราช
 • ทิศตะวันตก จดกับ มุมรั้วสนามกีฬา อบจ. น่าน
 • ทิศเหนือ จดกับ ทุ่งควายเฒ่าข้าวสาร

 • วัดสถารส สันนิษฐานว่าเป็นวัดหลวงกลางเวียงของหัวเวียงเหนือ ซึ่งเป็นวัดแห่งเดียวในหัวเวียงเหนือที่มีพระธาตุเจดีย์ จึงสันนิษฐานว่าเป็นวัดหลวงกลางเวียง

• ศูนย์กลางการปกครองของนครน่าน ที่ตั้งอยู่ที่เวียงเหนือสืบกันมาได้ 36 ปี จนถึงในรัชสมัยพระเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 62 จึงได้โปรดให้ย้ายศูนย์กลางการปกครองของนครน่านกลับลงมาอยู่ ณ เวียงนครน่าน (เดิม) หรือที่ตั้งของเมืองน่านในปัจจุบัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2400 เป็นต้นมา

  • ด้านการถวายความจงรักภักดีต่อราชวงศ์จักรี
    1. เมื่อปี พ.ศ. 2359 พระยาสุมนเทวราช เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 58 ได้นำช้างพลายเผือกเอก ลงมาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ณ กรุงเทพฯ ครั้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2359 (แรม ๙ ค่ำ เดือน ๕ ปีฉลูนพศก) เสด็จขึ้นไปรับแลมีการแห่สมโภช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อขึ้นรวางเป็น ..."พระยาเสวตรคชลักษณ์ ประเสริฐศักดิสมบูรณ์ เกิดตระกูลสารสิบหมู่ เผือกผู้พาหนะนารถ อิศราราชธำรง บัณฑรพงษ์จตุรภักตร์ สุรารักษรังสรรค์ ผ่องผิวพรรณผุดผาด ศรีไกรลาศเลิศลบ เฉลิมพิภพอยุทธยา ขัณฑเสมามณฑล มิ่งมงคลเลิศฟ้า"... แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบำเหน็จรางวัลแก่ พระยาสุมนเทวราช พระยานครน่าน เป็นอันมาก แต่มิได้เลื่อนยศขึ้น เพราะเหตุที่ว่าเจ้าผู้ครองเมืองน่านในครั้งนั้น เป็นตระกูลเจ้ามาแต่ก่อน ใช้นามในพื้นเมืองว่า "เจ้าฟ้าเมืองน่าน" เหมือนอย่างเจ้าเมืองไทยใหญ่ทั้งปวง ไม่ใช่เป็นตระกูลซึ่งตั้งเป็นเจ้าขึ้นใหม่เหมือนเจ้าเจ็ดตน เมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองนครลำพูน [8]

สถานที่อันเนื่องมาจากพระนาม

แก้
  1. ถนนสุมนเทวราช

ราชตระกูล

แก้

อ้างอิง

แก้

ดูเพิ่ม

แก้
ก่อนหน้า พระยาสุมนเทวราช ถัดไป
สมเด็จเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ   เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 58
และองค์ที่ 8 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์

(พ.ศ. 2353 - พ.ศ. 2368)
  พระเจ้ามหายศ