เจ้าฟ้าหลวงอัตถวรปัญโญ
สมเด็จเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ หรือ เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 57 และองค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ ขึ้นปกครองนครน่านสืบต่อจากเจ้ามงคลวรยศ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 56 ผู้เป็นพระมาตุลา (น้าชาย) และทรงเป็นพระปนัดดาในพระเจ้าหลวงติ๋นมหาวงศ์ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 51 และปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2347 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนพระเกียรติยศขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าฟ้าเมืองน่าน[2]
สมเด็จเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ | |||||
---|---|---|---|---|---|
เจ้าฟ้าเมืองน่าน | |||||
เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 57 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ | |||||
ราชาภิเษก | 19 สิงหาคม พ.ศ. 2331 | ||||
ครองราชย์ | 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2329 - 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2353 | ||||
รัชกาล | 24 ปี 9 เดือน 13 วัน | ||||
ก่อนหน้า | พระเจ้ามงคลวรยศ | ||||
ถัดไป | พระเจ้าสุมนเทวราช | ||||
เจ้าอุปราช | พระยาอุปราช (สมณะ) พระยาอุปราชนครน่าน | ||||
ประสูติ | ณ เมืองเทิง นครน่าน | ||||
พิราลัย | 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2353 กรุงเทพพระมหานคร อาณาจักรรัตนโกสินทร์ | ||||
พระมเหสี | แม่เจ้าคำน้อยอรรคราชเทวี | ||||
พระชายา | จำนวน 3 องค์ | ||||
พระราชบุตร | 14 พระองค์ | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | ติ๋นมหาวงศ์ | ||||
พระบิดา | พ่อเจ้าสุทธะ | ||||
พระมารดา | แม่เจ้ากรรณิกา |
พระประวัติ
แก้ สมเด็จเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ มีพระนามเดิมว่า เจ้าน้อยอัตถะ ประสูติ ณ เมืองเทิง เขตนครน่าน เป็นราชโอรสพระองค์เดียวในพ่อเจ้าสุทธะกับแม่เจ้ากรรณิกา (เจ้านางจากตระกูลไทลื้อ)[3]ทรงเป็นพระนัดดา (หลานปู่/ย่า) ในเจ้าไชยราชากับแม่เจ้านางเทพ และเป็นพระปนัดดา(เหลน)ในพระหลวงติ๋นมหาวงศ์ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 51 และปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ และเป็นพระภาติยะ (หลานลุง) ในพระเจ้าอริยวงษ์ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 52 ทรงได้ขึ้นเสวยราชย์สมบัตินครน่านสืบต่อจากพระเจ้ามงคลวรยศ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 56 ผู้เป็นพระมาตุลา (น้าชาย) ในปี พ.ศ. 2329
ต่อมาในปี พ.ศ. 2331 เดือน 9 ลง 13 ค่ำ เจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าเมืองน่าน ได้นำเจ้านายบุตรหลานแสนท้าวขุนนางในราชสำนักเมืองน่านเสด็จลงไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ณ กรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อขอเป็นข้าขอบขัณฑสีมาเมืองประเทศราช ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้าอัตถวรปัญโญ ขึ้นเป็น พระยาอัตถวรปัญโญ พระยาน่าน (พ.ศ. 2331 - พ.ศ. 2347) ต่อมาในปี พ.ศ. 2347 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระอิสริยยศ พระยาอัตถวรปัญโญ พระยาน่าน ขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ สมเด็จเจ้าฟ้าเมืองน่าน (พ.ศ. 2347 - พ.ศ. 2353)
พิราลัย
แก้เจ้าฟ้าหลวงอัตถวรปัญโญ ได้สนองพระเดชพระคุณด้วยความจงรักภักดี กระทั่งถึงวันพฤหัสบดี เดือน 9 แรม 13 ค่ำ ปีมะเส็ง เอกศก พ.ศ. 2352 เวลา 3 ยาม 7 บาท พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จสวรรคต สิริพระชนมพรรษาได้ 74 พรรษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2352 ปีกดซะง้า ไทยใต้ปีมะเมีย โทศก เดือน 12 ขึ้น 10 ค่ำ เจ้าฟ้าหลวงอัตถวรปัญโญ ได้เสด็จลงไปมาร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ กรุงรัตนโกสินทร์ แต่ยังไม่ทันถึง เจ้าฟ้าหลวงอัตถวรปัญโญก็เกิดประชวรโรคาพยาธิและถึงแก่พิราลัย เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2352 (นับเป็นปีปัจจุบัน คือ พ.ศ. 2353) ยามใกล้รุ่ง รวมระยะเวลาที่ทรงครองเมืองนครน่าน 25 ปี (ทรงดำรงอิสริยยศ: สมเด็จเจ้าฟ้าเมืองน่าน 5 ปี, เจ้าพระยาน่าน 17 ปี และทรงได้เป็นเจ้าเมืองน่านภายใต้การปกครองของพม่า ที่ตั้งอยู่เมืองเทิง (เขตเมืองน่านในอดีต) 3 ปี รวมระยะเวลา 25 ปี) และได้ถวายเพลิงพระศพเจ้าฟ้าหลวงอัตถวรปัญโญ ณ กรุงรัตนโกสินทร์[4]
พระชายา พระโอรส พระธิดา
แก้สมเด็จเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญมีพระมเหสี พระชายา 4 องค์ และพระโอรส/พระธิดา รวม 14 พระองค์ มีรายพระนามตามลำดับ ดังนี้[5]
- พระชายาที่ 1 แม่เจ้าคำน้อยอรรคราชเทวี ประสูติพระโอรส/พระธิดา 5 องค์ ดังนี้
- เจ้ามหายศ ภายหลังได้เป็น พระยามหายศ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 59
- ถึงแก่กรรมตั้งแต่เยาว์วัย
- เจ้านางประภาวดี
- เจ้านางวิมะลา
- เจ้านางยอดหล้า
- พระชายาที่ 2 แม่เจ้าแว่นราชเทวี ประสูติพระโอรส/พระธิดา 7 องค์ ดังนี้
- เจ้านางศรีวรรณา
- เจ้าถงแก้ว
- เจ้าแสนเมือง
- เจ้าคำฦๅ
- เจ้ามหาวงษ์ ภายหลังได้เป็น เจ้าอุปราชเมืองน่าน
- เจ้าสุริยไฮ้
- เจ้านันทไชย
- พระชายาที่ 3 แม่เจ้าขอดแก้วเทวี
- - ไม่มีประสูติกาล
- พระชายาที่ 4 แม่เจ้าขันแก้วเทวี ประสูติพระโอรส/พระธิดา 2 องค์ ดังนี้
- เจ้าอนันตยศ ภายหลังได้เป็น เจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 62
- เจ้านางต่อมคำ
พระกรณียกิจ
แก้ในปี พ.ศ. 2331 หลังจากที่ เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ ได้ลงมาเฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เพื่อขอเป็นข้าขอบขัณฑสีมา ก็ได้กราบบังคมทูลลากลับบ้านเมือง ในครั้งนั้นเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ ยังมิได้เข้าไปอยู่ในตัวเมืองน่านเนื่องจากคัวเมืองน่านยังรกร้างอยู่ จึงได้ย้ายไปอาศัยอยู่ตามที่ต่างๆ เช่น บ้านติ๊ดบุญเรือน ที่เมืองแก้ว (อำเภอนาน้อย) และที่เมืองพ้อ (อำเภอเวียงสา)
- ด้านบ้านเมือง
- พ.ศ. 2343 นอกจากนี้ยังให้ขุดเหมืองฝายสมุนขึ้น เพื่อชักน้ำจากลำน้ำสมุน ทางด้านทิศตะวันตกของเมืองน่านมาใช้ ที่บริเวณชานเมือง ทำให้เมืองน่านมีน้ำใช้ตลอดปี
- พ.ศ. 2343 - พ.ศ. 2344 ให้มีการบูรณะซ่อมแซมกำแพงเมือง และตัวเมืองน่านขึ้นใหม่ และกลับเข้ามาอยู่ในเมืองน่านเดิม เมื่อปี พ.ศ. 2344
- พ.ศ. 2347 เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ ได้นำกำลังของเมืองน่าน ร่วมกับเมืองเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง ช่วยเหลือกองทัพจากกรุงเทพฯ เพื่อไปตีเมืองเชียงแสนและขับไล่พม่าให้ออกไปจากแผ่นดินล้านนาได้สำเร็จ
- เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2348 เจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าเมืองน่าน ได้ยกทัพเมืองน่านขึ้นไปโจมตีหัวเมืองไทลื้อในเขตสิบสองปันนา ทรงยกขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปทางเมืองเวียงภูคา (Vieng Phouka) และเมืองหลวงน้ำทา (Luang Namtha) เจ้าเมืองเวียงภูคา ยอมจำนนแต่เจ้าเมืองหลวงน้ำทา ได้หลบหนีไปอยู่ที่เมืองพง (Mengpeng) เจ้าอัตถวรปัญโญ จึงนำทัพเมืองน่านติดตามขึ้นไปจนถึงเมืองพง เจ้าเมืองพงหนีไปอยู่เมืองนูน (Menglun) เมื่อทัพเมืองน่านยกล้ำขึ้นไปเรื่อยๆ เจ้าเมืองพง เจ้าเมืองรำ เจ้าเมืองนูน ต่างหลบหนีเข้าไปอยู่เมืองเชียงรุ่ง เจ้าอัตถวรปัญโญ ทรงยกทัพเข้าตีเมืองเชียงรุ่ง ในเวลานั้นเจ้าหม่อมมหาน้อย เจ้าเมืองเชียงรุ่งอายุเพียงสองชันษา เจ้าหม่อมมหาวังผู้เป็นอาว์สำเร็จราชการแทน เมืองเชียงรุ่งยอมจำนนต่อกองทัพเมืองน่านแต่โดยดีไม่สู้รบ เจ้าเมืองเชียงแข็ง (Kengcheng ปัจจุบันคือเมืองสิงห์) ยอมสวามิภักดิ์ต่อเมืองน่านเช่นกัน เจ้าอัตถวรปัญโญ ได้กวาดต้อนชาวไทลื้อจากหัวเมืองต่างๆ ในเขตสิบสองปันนาลงมาอยู่ในอาณาเขตเมืองน่านเป็นจำนวนถึง 40,000 ถึง 50,000 คน
- ด้านศาสนา
- สร้างพระพุทธรูปทันใจ ณ หัวขัวมุง
ในปี พ.ศ. 2331 ครั้นเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ ได้รับพระราชทานให้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองน่าน เมื่อมาถึงยังเมืองน่านพระองค์จึงได้โปรดให้สร้าง พระพุทธรูปทันใจ ณ บริเวณหัวขัวมุงฝ่ายเหนือ[6] - บูรณปฏิสังขรณ์ยอดฉัตรองค์พระธาตุแช่แห้ง
เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2332 เจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 57 ร่วมกับพระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง ชาวเมือง รวมถึงภิกษุสามเณรในเมืองนครน่าน ได้ทําความสะอาดวัดพระธาตุแช่แห้ง พร้อมกันนั้นได้ทรงโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์ ยอดฉัตรขององค์พระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง อีกด้วย - บูรณปฏิสังขรณ์พระประธานในวิหารหลวง วัดพระธาตุแช่แห้ง
ในปี พ.ศ. 2335 เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 57 พร้อมทั้งพระสงฆ์ทั้งปวงมีครูบาวัดพระธาตุแช่แห้งเป็นประธาน ได้เล็งเห็นถึงพระประธานในพระวิหารหลวงเกิดชํารุดทรุดโทรม จึงพากันบูรณปฏิสังขรณ์และลงรักปิดทองใหม่ - สร้างพระธาตุ วัดนาราบ (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน)
ในปี พ.ศ. 2335 เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 57 ทรงโปรดให้สร้างพระธาตุ ที่วัดนาราบ อําเภอนาน้อย ขึ้น ในการนั้นได้ทรงบรรจุพระบรมธาตุ 4 องค์ พระอรหันตธาตุ 11 องค์ พระพุทธรูปทองคํา 1 องค์พระพุทธรูปเงิน 1 องค์ สถิตย์ ณ ปราสาทบนเรือสําเภาเงิน พระธาตุองค์นี้เสร็จสมบูรณ์และทําการเฉลิมฉลองในปี พ.ศ. 2336 - สร้างพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดนาน้อย (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน)
เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2336 เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 57 พร้อมด้วยพระบิดา พระมารดา พระอรรคราชา พระโอรส พระธิดา ทรงโปรดให้หมื่นสรีสัพพะช่างและอาจารย์อุ่นเป็นนายช่างหล่อ พระพุทธรูป ณ วัดนาน้อย อําเภอนาน้อย ปัจจุบันประชาชนทั่วไปขนานนามว่า พระเจ้าทองทิพย์ - สร้างพระพุทธรูปปางมารวิชัย ณ วัดศรีบุญเรือง (ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน)
เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2336 เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 57 พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชบริพาร ทรงโปรดให้อาจารย์อุ่นเป็นนายช่างปั้นหุ่นเศียรพระพุทธรูป ณ วัดศรีบุญเรือง อําเภอภูเพียง - บูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุแช่แห้งและวิหารพระเจ้าทันใจ
ในปี พ.ศ. 2336 เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 57 ทรงโปรดให้ ซ่อมแซมองค์พระธาตุแช่แห้งและพระวิหารพระเจ้าทันใจที่ถูกต้นสําโรงล้มฟาดใส่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2335 - สร้างปราสาทหอธรรม ณ เมืองสา
ในปี พ.ศ. 2338 เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 57 ทรงโปรดให้สร้างปราสาทหอธรรมขึ้น ณ เวียงสา มีความสูงตั้งแต่พื้นดินถึงยอดประมาณ 18 เมตร ในการนั้นได้นําพระอรหันตธาตุ 20 องค์ พระพุทธรูปแก้ว 1 องค์ บรรจุในอาคารดังกล่าวด้วย - บูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุพลูแช่ ณ เมืองงั่ว (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน)
ในปี พ.ศ. 2338 ได้เกิดเทพสังหรณ์ในเมืองงั่ว (อําเภอนาน้อย) นัยยะว่าเทวดาต้องการให้ทําการบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุพลูแช่ อันชํารุดทรุดโทรม ครั้งนั้นเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 57 จึงโปรดให้ พระยามงคลวรยศ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 56 ผู้เป็นพระมาตุลา (น้าชาย) นําคณะศรัทธาประชาชนทําการบูรณะ ครั้นเสร็จเสด็จพระองค์จึงเสด็จไปยกฉัตร - สร้างหีบพระธรรม วัดบุญยืน เมืองสา (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอเวียงสาจังหวัดน่าน
ในปี พ.ศ. 2338 เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 57 พร้อมทั้งสวาธุเจ้าทิพพาลังการ เป็นประธานในการสร้างหีบพระธรรม ซึ่งหีบใบนี้มีความวิจิตรงดงาม อย่างมาก มีลักษณะเป็นหีบทรงลุ้ง ฝาตัด ฐานปัทม์ สลักภาพนูนต่ำและปั้นรักประดับ แสดงภาพเล่าเรื่องสิริจุฑามณชาดก ซึ่งเป็นหนึ่งใน ปัญญาสชาดก - สร้างวัดบุญยืน พระอารามหลวง (ปัจจุบันอยู่ในเขต อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน)
เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2341 เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 57 ได้เสด็จประพาสเวียงป้อ (เวียงสา) ทรงเห็นว่าวัดบุญยืน มีความคับแคบไม่อาจขยายให้กว้างขวางได้ ประกอบกับเจ้าอาวาสขณะนั้น คือ พระอธิการนาย (ครูบานาย) และราษฎรได้เห็นพ้องต้องกันด้วย ดังนั้น เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ จึงให้ย้ายวัดมาสร้างใหม่ห่างจากวัดเดิมประมาณ 3 เส้น ทางด้านทิศเหนือบนฝั่งขวาของลำน้ำน่าน เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2329 บริเวณที่ตั้งของวัดนั้น มีป่าไม้สักที่สมบูรณ์ จึงใช้ไม้สักสร้างวิหาร กุฎิสงฆ์ และศาสนวัตถุอื่นๆ เป็นจำนวนมาก และได้พระราชทานนามวัดใหม่แห่งว่า ..วัดป่าสักงาม .. ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2343 ได้โปรดให้หมื่นศรีสรรพช่างก่อสร้างพระวิหาร โดยมีความกว้าง 15 เมตร ยาว 30 เมตร และสร้างพระพุทธรูปปางประทับยืน เป็นพระประธานในวิหาร หันพระพักตร์ไปทางด้านทิศเหนือ มีขนาดความสูง 8 ศอก หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนชื่อวัดป่าสักงาม มาเป็น “วัดบุญยืน” ตามลักษณะพระพุทธธูป ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน - บูรณปฏิสังขรณ์ วัดพระธาตุแช่แห้ง
ในปี พ.ศ. 2345 เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 57 ทรงโปรดให้ทําการบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระธาตุแช่แห้ง เช่น ขยายกําแพงทางด้านทิศใต้ขององคพระธาตุ สร้างซุ้มประตู และปิดนรูปเทวดาไว้ บริเวณ 4 มุม เป็นต้น - สร้างพญานาค ทางขึ้นวัดพระธาตุแช่แห้ง
ในปี พ.ศ. 2349 เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 57 ทรงโปรดให้สร้างขึ้นโดยการนั้นเกณฑ์คนจํานวน 400 คน ก่อสร้างพญานาค 2 ตัว ซึ่งมีความ ยาว 68 วา สูง 4 ศอก หัวพญานาคนั้นสูงจากพื้นดินขึ้นไป 10 ศอก ณ เชิงดอยวัดพระธาตุแช่แห้ง ในปี พ.ศ. 2349 ขึ้นเป็นครั้งแรก การก่อสร้างพญานาคดังกล่าวให้เวลาประมาณ 1 ปีเศษ จึงแล้วเสร็จ และได้เฉลิมฉลองขึ้นในราวเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450 - ทูลเกล้าฯ ถวายพระบรมธาตุแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ในปี พ.ศ. 2351 ได้มีการพบไหบรรจุพระบรมธาตุพร้อมด้วยเครื่องบูชา โดยสามเณร 2 รูป รูปหนึ่งชื่อสามเณรอริยะ อีกรูปหนึ่งชื่อสามเณรประหญา ณ บริเวณท่าน้ําบ้านท่าแฝก เมื่อทรงทราบจึงจัดหาเครื่องบูชาเพิ่มเติมแล้ว จึงนําลงมาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ปัจจุบัน พระบรมธาตุดังกล่าวได้ประดิษฐานอยู่ในองค์ พระพุทธชินราช วโรวาทธรรมจักร อัครปฐมเทศนา นราศภบพิตร” วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ - สร้างพระไตรปิฎก (หอธรรม) บริเวณคุ้มหลวง
ในปี พ.ศ. 2371 เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 57 โปรดให้สร้างหอพระไตรปิฎก ขึ้นบริเวณคุ้มหลวงประดับประดาด้วยรูปปั้นกินรี นกยูง และรูปต้นไม้ ภายในอาคารประดับตกแต่งด้วยการลงรักปิดทอง ทั้งนี้ยังโปรดให้รวบรวมคัมภีร์ใบลานจากที่ต่างๆ มาเก็บรักษาไว้ยังหอนี้ด้วย
- สร้างพระพุทธรูปทันใจ ณ หัวขัวมุง
สถานที่อันเนื่องมาจากพระนาม
แก้ราชตระกูล
แก้พงศาวลีของเจ้าฟ้าหลวงอัตถวรปัญโญ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ ประชุมพงษาวดาร ภาคที่ ๑๐ เรื่อง ราชวงษปกรณ์ พงษาวดารเมืองน่าน ฉบับพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช พระเจ้านครน่าน ให้แต่งไว้สำหรับบ้านเมือง หน้าที่ 145[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชวงศปกรณ์ พงศาวดารเมืองน่าน (ฉบับพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช)
- ↑ ประชุมพงษาวดารภาคที่ 10 เรื่องราชวงษปกรณ์ พงษาวดารเมืองน่าน, หน้า 111
- ↑ พระมหากรุณาธิคุณของพระบรมราชจักรีวงศ์ที่มีต่อพสกนิกรชาวน่าน
- ↑ ประชุมพงษาวดาร ภาคที่ 10 เรื่องราชวงษปกรณ์ พงษาวดารเมืองน่าน, หน้า 112
- ↑ ข้อมูลวิชาการ หออัตลักษณ์นครน่าน ตอนที่ 4 ด้านศาสนา ความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรมของนครน่าน
- บรรณานุกรม
- ประชุมพงษาวดารภาคที่ 10 เรื่องราชวงษปกรณ์ พงษาวดารเมืองน่าน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2461. 210 หน้า.
- ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (2477). "พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๔". ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) [ที่ระลึก ในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงธรรมสารเนติ (อบ บุนนาค)
ก่อนหน้า | เจ้าฟ้าหลวงอัตถวรปัญโญ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระยามงคลยศประเทศราช | เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 57 และองค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ (พ.ศ. 2331 - พ.ศ. 2353) |
พระยาสุมนเทวราช |