เจ้าหญิงมินอะทเว
ภุ้นชิ่,[1] มินอะทเว (မင်းအထွေး, [mɪ́ɴ ʔə tʰwé])[2] หรือปรากฏในเอกสารไทยว่า เมงอะทเว[3][4] เป็นพระราชธิดาในพระเจ้าบุเรงนอง ประสูติแต่พระสุพรรณกัลยา และเป็นพระภาคิไนยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช[3] ในเอกสารไทยมักอธิบายว่า พระองค์ถูกพระเจ้านันทบุเรงสังหารด้วยโทสะพร้อมกับพระสุพรรณกัลยา พระชนนี[4][5] ขณะที่พงศาวดารพม่าไม่ได้ระบุเนื้อหาดังกล่าวไว้เลย[6][7][8]
มินอะทเว | |
---|---|
พิษณุโลกเมียวซา | |
พระภัสดา | เจ้าโกโตรันตรมิตร |
พระบุตร | เจ้าจันทร์วดี |
ราชวงศ์ | ตองอู |
พระบิดา | พระเจ้าบุเรงนอง |
พระมารดา | พระสุพรรณกัลยา |
ศาสนา | พุทธ |
พระประวัติ
แก้มหาราชวงศ์ ระบุว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชาถวายตัวพระสุวรรณ พระสุพรรณกัลยา ซึ่งเป็นพระราชบุตรีแก่พระเจ้าบุเรงนองในคราวขึ้นไปตีอาณาจักรล้านช้างเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2113 ขณะนั้นพระสุพรรณกัลยามีพระชนมายุ 17 พรรษา พร้อมพระพี่เลี้ยง 15 คน ตามเสด็จไปเมืองเวียงจันทน์ด้วย[9][10] พระสุพรรณกัลยามีพระนามว่า อะเมี้ยวโยง[11] หรือ อมโรรุ้ง[12] (အမျိုးရုံ, [ʔə mjó jòʊɴ]) พระอิสริยยศเป็น พะยาเง คือพระมเหสีเล็ก และ โกโละดอ คือ เจ้าจอมมารดาผู้เป็นพระราชธิดาของเจ้าฟ้า[13]
หลังเสร็จศึกกับล้านช้างแล้ว พระสุพรรณกัลยาก็ให้ประสูติกาลพระราชธิดาที่พระราชวังกัมโพชธานี กรุงหงสาวดี มีพระนามว่า ภุ้นชิ่ แปลว่า ผู้มีบารมีและสติปัญญา และพระชนกชนนีมักเรียกด้วยพระนาม มินอะทเว แปลว่า เจ้าหญิงน้อย[1] เดือนมีนาคม พ.ศ. 2116 พระสุพรรณกัลยาและมินอะทเวประทับเรือพระที่นั่งโดยเสด็จพระเจ้าบุเรงนองไปสักการะเจดีย์ชเวดากอง ใช้เวลาแสวงบุญที่นั่นนานห้าวัน[14] หลังกลับกรุงหงสาวดีพระเจ้าบุเรงนองทรงนิมนต์พระสงฆ์มาทำบุญ พร้อมกับพระราชทานพระอิสริยยศต่าง ๆ แก่พระราชโอรสธิดาทุกพระองค์ ทรงตั้งให้มินอะทเวเป็นเมียวซา (မြို့စား) หรือผู้กินเมืองพิษณุโลก เพราะพระเจ้าบุเรงนองทรงมอบสิทธิกินเงินภาษีของเมืองพิษณุโลกแก่พระราชธิดาพระองค์นี้[1][15]
หลังการสวรรคตของพระเจ้าบุเรงนอง พระเจ้านันทบุเรงเสวยราชสมบัติสืบมา และหลังเหตุการณ์ที่มังกยอชวาสิ้นพระชนม์เมื่อคราวศึกยุทธหัตถีเมื่อ พ.ศ. 2135 ทำให้พระเจ้านันทบุเรงแค้นพระทัย คำให้การขุนหลวงหาวัด ระบุว่า "...ส่วนพระเจ้าหงสาวดีก็ทรงพระโกรธยิ่งนัก ก็เสด็จเข้าไปในพระราชฐาน จึงเห็นองค์พระพี่นางพระนเรศร์นั้นประทมอยู่ในพระราชโอรสเสวยนมอยู่ที่ในที่ พระเจ้าหงสาวดีจึงฟันด้วยพระแสง ก็ถูกทั้งพระมารดาและพระราชโอรสทั้งสองพระองค์ ก็ถึงแก่ความพิราลัยไปด้วยกันทั้งสองพระองค์ ด้วยพระเจ้าหงสาทรงพระโกรธยิ่งนักมิทันที่จะผันผ่อนได้..." ขณะที่ คำให้การชาวกรุงเก่า ระบุว่าอีกว่า "...พระเจ้าหงสาวดียังไม่คลายพิโรธ จึงใช้พระแสงดาบฟันพระธิดาน้อย อันเกิดแก่จันทกัลยาพระพี่นางพระนริศกับพระเจ้าหงสาวดีเองจนสิ้นพระชนม์..."[16][17] ซึ่งอู้เตงลาย นักประวัติศาสตร์ชาวพม่า มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง เชื่อว่า ผู้ที่ถูกสังหารน่าจะเป็นพระธิดาของพระสุพรรณกัลยามากกว่า[8][18] ขณะที่มิคกี้ ฮาร์ท นักวิชาการชาวพม่าให้ข้อมูลว่า มินอะทเวเสด็จออกมาประทับร่วมกับพระสุพรรณกัลยาที่พระตำหนักส่วนพระองค์นอกเขตพระราชวังกัมโพชธานีตามพระราชประเพณีหลังสิ้นรัชกาลก่อน และมิได้ถูกปลงพระชนม์[19][20]
มิคกี้ ฮาร์ท ให้ข้อมูลว่า มินอะทเวเสกสมรสกับเจ้าโกโตรันตรมิตร (พระนามเดิมว่า เจ้าเกาลัด) เป็นบุตรของเจ้าอสังขยา (พระนามเดิม เจ้าเมืองคำ) เจ้าเมืองหญังเป็นหนึ่งในรัฐเจ้าฟ้าไทใหญ่ ที่ถูกพระเจ้าบุเรงนองกวาดต้อนไปหงสาวดีตั้งแต่ พ.ศ. 2100 เป็นต้นมา[21] เจ้าโกโตรันตรมิตรได้รับการแต่งตั้งจากพระเจ้านันทบุเรงให้เป็นเจ้าเมืองตะลุป มินอะทเวติดตามพระสวามีไปอยู่เมืองอังวะพร้อมกับพระชนนี มินอะทเวประสูติการพระธิดาพระองค์หนึ่ง มีพระนามว่า จันทร์วดี[22]
ทายาท
แก้โยเดียกับราชวงศ์พม่า เรื่องจริงที่ไม่ทีใครรู้ ของมิคกี้ ฮาร์ท ระบุว่า จันทร์วดี พระธิดาเพียงองค์เดียวของมินอะทเว ซึ่งขณะนั้นมีพระชันษา 20 ปี เสกสมรสกับเจ้าจอสูร์ ซึ่งเป็นเจ้าเมืองส้า เมื่อ พ.ศ. 2168 และประสูติการพระโอรสคือ เจ้าจันทร์ญี และพระธิดาคือ เจ้ามณีโอฆะ[23][24]
เจ้ามณีโอฆะเสกสมรสกับเทวเศรษฐะ มหาเศรษฐีเมืองอังวะ มีบุตรคนหนึ่งคือ อู้กะลา ซึ่งเป็นผู้รวบรวมพงศาวดาร มหาราชวงศ์[23][24]
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของเจ้าหญิงมินอะทเว | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ 1.0 1.1 1.2 โยเดียกับราชวงศ์พม่า เรื่องจริงที่ไม่ทีใครรู้, หน้า 95
- ↑ Hmannan Vol. 3 2003: 72
- ↑ 3.0 3.1 พระสุพรรณกัลยา จากตำนานสู่หน้าประวัติศาสตร์, หน้า 164-165
- ↑ 4.0 4.1 กษัตริยา แก้วกัลยาแห่งแผ่นดิน อธิราชา โลกทัศน์ของนักเขียนที่มีต่อพม่า : ศึกษางานเขียนของ ทมยันตี (PDF). คณะศิลปศาสตร์ มหาวทิยาลัยธรรมศาสตร์. p. 55. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-12-11. สืบค้นเมื่อ 2022-12-11.
- ↑ พระสุพรรณกัลยา จากตำนานสู่หน้าประวัติศาสตร์, หน้า 142
- ↑ Maha Yazawin Vol. 3 2006: 103
- ↑ "พระสุพรรณกัลยาในมุมมองนักประวัติศาสตร์พม่า". MCOT. 5 กันยายน 2564. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 8.0 8.1 สุเนตร ชุตินธรานนท์ (1 มกราคม 2565). "ค้นหลักฐานชะตากรรมพระสุพรรณกัลยา "ขัตติยนารี" แห่งอยุธยา และเหตุสิ้นพระชนม์". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ มหาราชวงษ์ พงษาวดารพม่า, หน้า 203
- ↑ พระสุพรรณกัลยา จากตำนานสู่หน้าประวัติศาสตร์, หน้า 122
- ↑ พระสุพรรณกัลยา จากตำนานสู่หน้าประวัติศาสตร์, หน้า 143
- ↑ โยเดียกับราชวงศ์พม่า เรื่องจริงที่ไม่ทีใครรู้, หน้า 94
- ↑ พระสุพรรณกัลยา จากตำนานสู่หน้าประวัติศาสตร์, หน้า 141
- ↑ โยเดียกับราชวงศ์พม่า เรื่องจริงที่ไม่ทีใครรู้, หน้า 100
- ↑ โยเดียกับราชวงศ์พม่า เรื่องจริงที่ไม่ทีใครรู้, หน้า 101
- ↑ พระสุพรรณกัลยา จากตำนานสู่หน้าประวัติศาสตร์, หน้า 148
- ↑ Taylor (2001), History, Simulacrum and the real, p. 6
- ↑ พระสุพรรณกัลยา จากตำนานสู่หน้าประวัติศาสตร์, หน้า 149
- ↑ โยเดียกับราชวงศ์พม่า เรื่องจริงที่ไม่ทีใครรู้, หน้า 108
- ↑ ตำนานนางกษัตริย์, หน้า 294
- ↑ โยเดียกับราชวงศ์พม่า เรื่องจริงที่ไม่ทีใครรู้, หน้า 109
- ↑ โยเดียกับราชวงศ์พม่า เรื่องจริงที่ไม่ทีใครรู้, หน้า 111
- ↑ 23.0 23.1 โยเดียกับราชวงศ์พม่า เรื่องจริงที่ไม่ทีใครรู้, หน้า 113-115
- ↑ 24.0 24.1 ตำนานนางกษัตริย์, หน้า 295
- บรรณานุกรม
- กิตติ วัฒนะมหาตม์. ตำนานนางกษัตริย์. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2553. ISBN 978-974-341-666-8
- นายต่อ (แปล). มหาราชวงษ์ พงษาวดารพม่า. กรุงเทพฯ : บริษัท ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006) จำกัด, 2562. 588 หน้า. ISBN 978-616-514-625-8
- มิคกี้ ฮาร์ท. โยเดียกับราชวงศ์พม่า เรื่องจริงที่ไม่มีใครรู้. กรุงเทพฯ : สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ, 2561. 222 หน้า. ISBN 978-974-13-3129-1
- สุเนตร ชุตินธรานนท์. พระสุพรรณกัลยา จากตำนานสู่หน้าประวัติศาสตร์. นนทบุรี : เมืองโบราณ, 2562. 168 หน้า. ISBN 978-616-465-016-9
- Kala, U (1724). Maha Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2006, 4th printing ed.). Yangon: Ya-Pyei Publishing.
- Royal Historical Commission of Burma (1832). Hmannan Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2003 ed.). Yangon: Ministry of Information, Myanmar.
- Taylor, Jim (2001), "History, Simulacrum and the real: the making of a Thai princess", From Fact to Fiction: History of Thai-Myanmar Relations in Cultural Context, Institute of Asian Studies, Chulalongkorn University, pp. 1–16