อู้กะลา
อู้กะลา (พม่า: ဦးကုလား) เป็นนักประวัติศาสตร์และอาลักษณ์ชาวพม่า เป็นที่รู้จักอย่างดีจากการเรียบเรียง มหาราชวงศ์ พงศาวดารฉบับแรกของพม่า[2] อู้กะลาเป็นผู้ริเริ่มบันทึกประวัติศาสตร์พม่าโดยอิสระปราศจากการอุปถัมภ์ของราชสำนัก[3] ถือเป็นฆราวาสคนแรกที่ทำการบันทึกประวัติศาสตร์ด้วยตนเอง[4]
อู้กะลา | |
---|---|
ဦးကုလား | |
เกิด | ค.ศ. 1678 หมู่บ้านสินกู อาณาจักรตองอู |
เสียชีวิต | ค.ศ. 1738 (60 ปี)[1] |
สัญชาติ | พม่า |
อาชีพ | นักประวัติศาสตร์ อาลักษณ์ |
มีชื่อเสียงจาก | ผู้เรียบเรียง มหาราชวงศ์ |
อู้กะลาเกิดในครอบครัวที่มั่งคั่งทั้งฝ่ายบิดาและมารดา บิดาชื่อเทวเศรษฐะ เป็นมหาเศรษฐีชาวบ้านซินไกง์ ทางทิศใต้ของเมืองอังวะ เขาสืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองหรือผู้กินเมือง (မြို့စား) ในแถบนั้น[5] ส่วนมารดาชื่อเจ้ามณีโอฆะ เป็นสตรีที่สืบเชื้อสายไทใหญ่และพม่า มีบรรพชนเป็นขุนนางระดับสูงที่คอยรับใช้ราชวงศ์ตองอูมาตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15[5][6] มิคกี้ ฮาร์ท นักวิชาการชาวพม่า ให้ข้อมูลว่า เจ้ามณีโอฆะ มารดาของอู้กะลาเป็นเหลนของพระสุพรรณกัลยา[7]
อู้กะลาสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญจากราชสำนักตองอู เช่น พระราชหัตถเลขา ปะระไบ เอกสารของราชสำนักที่บันทึกโดยโหรและอาลักษณ์ บันทึกด้านการทหาร และลำดับพงศาวลีของพระราชวงศ์ เพื่อใช้ในการรวบรวมข้อมูลเพื่อเขียน มหาราชวงศ์[6] และเสริมด้วยข้อมูลจากเอกสารในท้องถิ่น จารึก อัตชีวประวัติ และประวัติศาสตร์ศาสนา ที่ถูกบันทึกและจัดเก็บไว้ตามวัดหรือหอพระสมุดหลวงในเขตราชธานี[6]
ลำดับสาแหรก
แก้ลำดับสาแหรกของอู้กะลา[8] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ Seekins, Donald M. (2006). Historical Dictionary of Burma (Myanmar). Scarecrow Press. p. 270. ISBN 9780810854765.
- ↑ Hla Pe (1985). Burma: Literature, Historiography, Scholarship, Language, Life, and Buddhism. Institute of Southeast Asian Studies. pp. 38–40. ISBN 9789971988005.
- ↑ "พงศาวดารพม่า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-13. สืบค้นเมื่อ 2019-07-24.
- ↑ Lieberman, Victor (2003). Strange Parallels: Volume 1, Integration on the Mainland. Cambridge University Press. p. 198. ISBN 9780521800860.
- ↑ 5.0 5.1 Myint-U, Thant (2001). The Making of Modern Burma (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. pp. 80. ISBN 9780521799140.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Lieberman, Victor (1986-01-01). "How Reliable Is U Kala's Burmese Chronicle? Some New Comparisons". Journal of Southeast Asian Studies. 17 (2): 236–255. doi:10.1017/s002246340000103x. JSTOR 20070918.
- ↑ มิคกี้ ฮาร์ท. โยเดียกับราชวงศ์พม่า เรื่องจริงที่ไม่มีใครรู้. กรุงเทพฯ : สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ, 2561, หน้า 114
- ↑ มิคกี้ ฮาร์ท. โยเดียกับราชวงศ์พม่า เรื่องจริงที่ไม่มีใครรู้. กรุงเทพฯ : สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ, 2561, หน้า 109-113