สมุดข่อย
สมุดข่อย หรือ สมุดไทย เป็นสมุดเอกสารตัวเขียนแบบพับที่เคยนิยมใช้ในวัฒนธรรมพุทธ ได้แก่ ประเทศไทย, ประเทศกัมพูชา, ประเทศลาว และประเทศศรีลังกา เช่นเดียวกับในประเทศพม่าที่ซึ่งรู้จักกันในชื่อ ปะระไบ เทคนิคในการผลิตน่าจะมาจากราชอาณาจักรซีลอนโบราณ (ปัจจุบันคือประเทศศรีลังกา) ส่วนใหญ่ทำมาจากข่อย โดยไม่เย็บเล่มเหมือนหนังสือตะวันตก แต่จะพับรวมกันแบบรอยพับ สมุดข่อยอาจทำมาจากกระดาษสีดำ (สมุดไทยดำ) หรือกระดาษขาว (สมุดไทยขาว) การใช้สมุดข่อยในประเทศไทยสามารถสืบไปได้ถึงสมัยสุโขทัย[1] ส่วนใหญ่มักใช้เขียนตำราทางโลก เช่น พระราชพงศาวดาร เอกสารทางกฎหมาย และงานวรรณกรรม ในขณะที่เอกสารตัวเขียนใบลานมักใช้กับตำราทางศาสนา[2][3]
สมุดเขมรแก้ไข
กระดาษที่ทำสมุดเขมร มีชื่อว่า ไกรง์ (kraing) ที่ทำมาจากเปลือกไม้ของต้นหม่อน เก็บไว้ในเจดีย์ทั่วประเทศ ในช่วงสงครามกลางเมืองกัมพูชาและต่อมาในสมัยของเขมรแดงในคริสต์ทศวรรษ 1960 ถึง 1970 เจดีย์กัมพูชารวมถึงห้องสมุดมากถึงร้อยละ 80 ถูกเผาทำลาย[4] ในประเทศกัมพูชา มี ไกรง์ ตั้งแต่สมัยจักรวรรดิเขมรจำนวนน้อยมากที่ยังคงอยู่[5]
อ้างอิงแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: สมุดข่อย |
- ↑ "The History of Paper". Nakorn Phanom National Library (Thailand).
- ↑ "สมุดข่อย และคัมภีร์ใบลาน กรุสมบัติจากบรรพชน" [Samut khoi and palm-leaf manuscipts: treasure troves from our ancestors]. Ayutthaya Studies Institute, Ayutthaya Rajabhat University. สืบค้นเมื่อ 17 October 2015.
- ↑ Igunma, Jana (2013). "Southeast Asia (2): The Mainland". ใน Suarez, Michael F.; Woudhuysen, H. R. (บ.ก.). The Book: A Global History. Oxford: Oxford University Press. ISBN 9780191668753.
- ↑ Sen David and Thik Kaliyann (19 September 2015). "Palm leaves preserving history". The Phnom Penh Post. 6.
- ↑ Prof. K. R. Chhem and M. R. Antelme (2004). "A Khmer Medical Text "The Treatment of the Four Diseases" Manuscript". Siksācakr, Journal of Cambodia Research. 6: 33–42.