ข่อย
Streblus asper Lour.
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Utricales
วงศ์: Moraceae
สกุล: Streblus
สปีชีส์: S.  asper
ชื่อทวินาม
Streblus asper
Lour.

ข่อย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Streblus asper Lour.) มีชื่อทางการค้าคือ Siamese rough bush, Tooth brush tree ส่วนชื่อพื้นเมืองอื่นได้แก่ กักไม้ฝอย (ภาคเหนือ), ข่อย (ทั่วไป), ซะโยเส่ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ตองขะแหน่ (กะเหรี่ยงกาญจนบุรี), ข่อย(ร้อยเอ็ด), สะนาย (เขมร)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

แก้

ข่อยเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลาง สูง 5–15 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้น ค่อนข้างคดงอ มีปุ่มปมอยู่รอบ ๆ ต้น หรือเป็นพูเป็นร่องทั่วไป อาจจะขึ้นเป็นต้นเดียว หรือเป็นกลุ่ม แตกกิ่งต่ำ กิ่งก้านสาขามาก เปลือกสีเทาอ่อน เปลือกแตกเป็นแผ่นบาง ๆ มียางสีขาวเหนียวซึมออกมา ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับมีขนาดเล็ก รูปใบรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง 2–3.5 เซนติเมตร ยาว 4–7 เซนติเมตร เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวสากเหมือนกระดาษทรายทั้งสองด้าน ดอกเป็นช่อสีขาวเหลืองอ่อน ออกตามปลายกิ่ง ดอกเดี่ยวแต่รวมกันเป็นกระจุก ดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างดอกกัน ผลสดกลม เมล็ดมีขนาดโตเท่าเมล็ดพริกไทย มีเนื้อเยื่อหุ้ม ผลแก่จัดจะมีสีเหลือง ซึ่งมีรสหวาน นกจะชอบกินผลข่อย[1]

สรรพคุณทางยา

แก้
  • กิ่งข่อย ใช้ในการแปรง ฟันแทนแปรงสีฟันได้ แต่ต้องทุบให้นิ่มๆก่อน
  • เปลือก สามารถรักษาแผล แก้ท้องร่วง ดับพิษภายใน ทาริดสีดวงแก้พยาธิผิวหนัง และเมื่อต้มกับเกลือจะได้เป็นยาอมแก้รำมะนาด
  • ยาง มีน้ำย่อยชื่อ milk (lotting enzyme) ใช้ย่อยน้ำนม
  • ราก สามารถนำมารักษาแผลได้
  • แก่น / เนื้อ คนเชียงใหม่ใช้แก่นข่อยหั่นเป็นฝอยมวนเป็นบุหรี่สูบแก้ริดสีดวงจมูก
  • เมล็ด นำมารับประทานเป็นยาอายุวัฒนะได้ และทำให้เจริญอาหาร

อ้างอิง

แก้
  1. "ข่อย".