เจนนาโร กัตตูโซ

เจนนาโร อีวัน "รีโน" กัตตูโซ (อิตาลี: Gennaro Ivan "Rino" Gattuso[1][5] Ufficiale OMRI; เกิดวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 1978) เป็นอดีตนักฟุตบอลและผู้จัดการทีมชาวอิตาลี ล่าสุดเป็นผู้จัดการของมาร์แซย์

เจนนาโร กัตตูโซ
กัตตูโซกับมิลานใน ค.ศ. 2008
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม เจนนาโร อีวัน กัตตูโซ[1]
วันเกิด (1978-01-09) 9 มกราคม ค.ศ. 1978 (46 ปี)
สถานที่เกิด โคริลยาโนคาลาโบร อิตาลี
ส่วนสูง 1.77 เมตร (5 ฟุต 10 นิ้ว)[1]
ตำแหน่ง กองกลางตัวรับ
สโมสรเยาวชน
1990–1995 เปรูจา
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
1995–1997 เปรูจา 10 (0)
1997–1998 เรนเจอส์ 34 (3)
1998–1999 ซาแลร์นีตานา 25 (0)
1999–2012 มิลาน 335 (9)
2012–2013 ซียง 27 (1)
รวม 483 (13)
ทีมชาติ
1995–1996 อิตาลี อายุไม่เกิน 18 ปี[2] 14 (3)
1998–2000 อิตาลี อายุไม่เกิน 21 ปี[2] 21 (1)
2000 อิตาลี โอลิมปิก[3] 3 (0)
2000–2010 อิตาลี[4] 73 (1)
จัดการทีม
2013 ซียง (ผู้เล่น-ผู้ฝึกสอน)
2013 ปาแลร์โม
2014–2015 OFI Crete
2015–2017 ปิซา
2017 มิลานปรีมาเวรา
2017–2019 มิลาน
2019–2021 นาโปลี
2022–2023 บาเลนเซีย
2023–2024 มาร์แซย์
เกียรติประวัติ
ฟุตบอล
ตัวแทนของ ธงชาติอิตาลี อิตาลี
ฟุตบอลโลก
ชนะเลิศ เยอรมนี 2006
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

สมัยที่เป็นผู้เล่น เขาเล่นในตำแหน่งกองกลางตัวรับเป็นหลัก และยังเล่นในตำแหน่งปีกได้ด้วย[6] เขาเริ่มต้นเล่นฟุตบอลกับสโมสรเปรูจา, ซาแลร์นีตานา และเรนเจอส์ แต่ช่วงเวลาที่เขาเป็นที่จดจำมากที่สุดคือช่วงที่เล่นให้กับมิลานในเซเรียอา ซึ่งเขาพาทีมคว้าแชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในฤดูกาล 2002–03 และ 2006–07 คว้าแชมป์โกปปาอีตาเลียในฤดูกาล 2002–03 และคว้าแชมป์เซเรียอาในฤดูกาล 2003–04 และ 2010–11 นอกจากนี้ เขายังคว้าแชมป์ซูแปร์โกปปาอีตาเลียนาสอง สมัย ยูฟ่าซูเปอร์คัพสองสมัย และฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลกอีกหนึ่งสมัย ในระดับทีมชาติ เขาเป็นตัวแทนของอิตาลีในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2000, ฟุตบอลโลกสามครั้ง, ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปสองครั้ง และฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2009

กัตตูโซเป็นกองกลางที่ประสานงานได้ดีกับเพลย์เมกเกอร์อย่างอันเดรอา ปีร์โล ทั้งในสโมสรและทีมชาติ พวกเขาเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้อิตาลีคว้าแชมป์ฟุตบอลโลก 2006 เช่นเดียวกันกับความสำเร็จของมิลานในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 2000 แม้ว่าเขาจะไม่โดดในด้านทักษะหรือเทคนิกในการเล่น แต่เขาก็มีความแข็งแกร่ง ความดุดันในการเล่น และการประสานที่ดีกับปีร์โล ทำให้เขาได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในกองกลางตัวรับที่ดีที่สุดในโลก[7][8][9][10] นอกจากนี้ เขายังมีความเป็นผู้นำที่ดี โดยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกัปตันของมิลานหลังจากที่เปาโล มัลดีนี เลิกเล่นฟุตบอลไป[5][11]

กัตตูโซเริ่มต้นทำหน้าที่เป็นผู้เล่น-ผู้ฝึกสอนให้กับสโมสรซียงในสวิสซูเปอร์ลีก ต่อมาได้รับหน้าที่เป็นผู้จัดการของปาแลร์โมและเกรเต ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2016 เขาคุมทีมปิซาเลื่อนชั้นสู่เซเรียบี หลังจากนั้น เขาเข้ารับตำแหน่งเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนของทีมชุดเยาวชนและชุดใหญ่ของมิลานในช่วง ค.ศ. 2017–2019 ก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่งผู้จัดการของนาโปลี ซึ่งเขาคว้าแชมป์แรกในฐานะผู้จัดการทีม นั่นคือ โกปปาอีตาเลีย ฤดูกาล 2019–20

สถิติอาชีพ

แก้

สโมสร

แก้

อ้างอิง:[12][13][14]

ฤดูกาล สโมสร ระดับ ลีก ถ้วย ยุโรป[n 1] อื่น ๆ[n 2] ทั้งหมด
ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู
อิตาลี ลีก โกปปาอีตาเลีย ยุโรป อื่น ๆ ทั้งหมด
1995–96 เปรูจา เซเรียบี 2 0 0 0 2 0
1996–97 เซเรียอา 8 0 0 0 8 0
สกอตแลนด์ ลีก สกอตติชคัพ ยุโรป ลีกคัพ ทั้งหมด
1997–98 เรนเจอส์ พรีเมียร์ดิวิชัน 29 3 6 0 2 1 3 0 40 4
1998–99 พรีเมียร์ลีก 5 0 0 0 5 1 1 0 11 1
อิตาลี เซเรียอา โกปปาอีตาเลีย ยุโรป อื่น ๆ ทั้งหมด
1998–99 ซาแลร์นีตานา เซเรียอา 25 0 0 0 25 0
1999–2000 มิลาน 22 1 1 0 5 0 28 1
2000–01 24 0 2 0 10 0 36 0
2001–02 32 0 5 0 10 0 47 0
2002–03 25 0 3 0 14 0 42 0
2003–04 33 1 2 0 7 1 3 0 45 2
2004–05 32 0 2 0 11 0 1 0 46 0
2005–06 35 3 3 0 11 0 49 3
2006–07 30 1 4 0 13 0 47 1
2007–08 31 1 1 0 8 0 3 0 43 1
2008–09 12 0 0 0 4 1 16 1
2009–10 22 0 1 0 1 0 24 0
2010–11 31 2 2 0 5 0 38 2
2011–12 6 0 0 0 0 0 1 0 7 0
สวิตเซอร์แลนด์ ลีก สวิสคัพ ยุโรป อื่น ๆ ทั้งหมด
2012–13 ซียง ซูเปอร์ลีก 27 1 5 0 32 1
ทั้งหมด เปรูจา 10 0 0 0 10 0
เรนเจอส์ 34 3 4 0 7 2 4 0 51 5
ซาแลร์นีตานา 25 0 0 0 25 0
มิลาน 335 9 26 0 99 2 8 0 468 11
ซียง 27 1 5 0 32 1
รวมทั้งหมด 431 13 37 0 106 4 12 0 586 17

ทีมชาติ

แก้
อิตาลี[4]
ปี ลงเล่น ประตู
2000 6 1
2001 3 0
2002 10 0
2003 4 0
2004 9 0
2005 8 0
2006 10 0
2007 6 0
2008 9 0
2009 5 0
2010 3 0
ทั้งหมด 73 1

ประตูในนามทีมชาติ

แก้
ลำดับ[4] วันที่ สนาม คู่แข่ง ประตู ผล รายการแข่งขัน
1. 15 พฤศจิกายน 2000 สตาดีโอเดลเลอัลปี ตูริน อิตาลี   อังกฤษ 1–0 1–0 กระชับมิตร

เกียรติประวัติ

แก้

ผู้เล่น

แก้

ผู้จัดการ

แก้

นาโปลี[15]

หมายเหตุ

แก้
  1. ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกและยูฟ่าคัพ (1997–98, 1998–99, 2001–02, 2008–09)
  2. ซูแปร์โกปปาอีตาเลียนา (2003, 2004, 2011), ยูฟ่าซูเปอร์คัพ (2003, 2007), อินเตอร์คอนติเนนตัลคัพ (2003) และฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก (2007 – ลงเล่น 2 นัด)

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 "FIFA World Cup South Africa 2010 – List of Players" (PDF). Fédération Internationale de Football Association (FIFA). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-05-17. สืบค้นเมื่อ 5 June 2013.
  2. 2.0 2.1 "Gennaro Gattuso" เก็บถาวร 28 กุมภาพันธ์ 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. FIGC. Retrieved 9 May 2013
  3. "Previous Tournaments – FIFA.com". Fédération Internationale de Football Association (FIFA). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2013. สืบค้นเมื่อ 6 June 2013.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Gennaro Gattuso". EU-Football.info. Retrieved 9 May 2013.
  5. 5.0 5.1 "Palermo: Panchina a Rino Gattuso" (ภาษาอิตาลี). Sport Mediaset. สืบค้นเมื่อ 11 September 2014.
  6. "Gennaro Gattuso". BBC Sport. 8 May 2002. สืบค้นเมื่อ 4 June 2016.
  7. "L' evoluzione di Gattuso, il muratore del Milan". Il Corriere della Sera (ภาษาอิตาลี). 26 November 2003. สืบค้นเมื่อ 11 September 2014.
  8. "Gattuso Io che corro per tutti i Palloni d' oro" [Gattuso I the one who runs for all the Ballon d'Or winners]. La Gazzetta dello Sport (ภาษาอิตาลี). 14 November 2008. สืบค้นเมื่อ 11 September 2014.
  9. "Gattuso, Gennaro" (ภาษาอิตาลี). Treccani: Enciclopedia dello Sport (2002). สืบค้นเมื่อ 11 September 2014.
  10. "Palombo, Blasi, Donadel: idee Milan per il centrocampo. Gattuso: "Sì stanno pensando di sostituirmi"" (ภาษาอิตาลี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-29. สืบค้นเมื่อ 11 September 2014.
  11. "Ancelotti perde Gattuso sei mesi di stop per infortunio". La Repubblica (ภาษาอิตาลี). สืบค้นเมื่อ 11 September 2014.
  12. Gattuso's career stats. Football Database.eu. Retrieved 22 December 2012.
  13. Gattuso's Rangers stats. Fitbastats.com. Retrieved 9 May 2013.
  14. "Matches in European Cups". RSSSF. Retrieved 22 December 2012.
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 "G. Gattuso". Soccerway. สืบค้นเมื่อ 18 December 2015.
  16. "France, Italy dominate World Cup all-star squad". CBC. 7 July 2006. สืบค้นเมื่อ 27 May 2015.
  17. "Gattuso a Cinisello Balsamo per ritirare il Premio Scirea 2012" (ภาษาอิตาลี). Canale Milan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 January 2015. สืบค้นเมื่อ 21 January 2015.
  18. "FIFPro World XI: The Players". FIFPro. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-22. สืบค้นเมื่อ 18 December 2015.
  19. "A.C. Milan Hall of Fame: GENNARO IVAN GATTUSO". A.C. Milan. สืบค้นเมื่อ 12 May 2017.
  20. "Coni: Consegna dei Collari d'Oro e dei Diplomi d'Onore. Premia il Presidente del Consiglio Romano Prodi. Diretta Tv su Rai 2". Coni.it. 16 October 2006. สืบค้นเมื่อ 23 December 2016.
  21. "ONORIFICENZE - 2006". quirinale.it (ภาษาอิตาลี). 12 ธันวาคม 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 January 2016. สืบค้นเมื่อ 19 March 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้