ฮามามัตสึ

นครในจังหวัดชิซูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น
(เปลี่ยนทางจาก ฮะมะมัตสึ)

ฮามามัตสึ (ญี่ปุ่น: 浜松市โรมาจิHamamatsu-shi) เป็นนครที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของจังหวัดชิซูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น นครฮามามัตสึได้ควบรวมพื้นที่เข้ากับเมืองและอำเภอโดยรอบจำนวน 11 เมืองและอำเภอ ในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 และได้ยกระดับเป็นนครใหญ่ที่รัฐกำหนด ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 2007

ฮามามัตสึ

浜松市
สถานที่ต่าง ๆ ในนครฮามามัตสึ
สถานที่ต่าง ๆ ในนครฮามามัตสึ
ธงของฮามามัตสึ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของฮามามัตสึ
ตรา
สมญา: 
"เมืองแห่งดนตรี"
แผนที่
ที่ตั้งของนครฮามามัตสึในจังหวัดชิซูโอกะ
ที่ตั้งของนครฮามามัตสึในจังหวัดชิซูโอกะ
ฮามามัตสึตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
ฮามามัตสึ
ฮามามัตสึ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 34°42′39″N 137°43′39″E / 34.71083°N 137.72750°E / 34.71083; 137.72750
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคชูบุ (โทไก)
จังหวัดชิซูโอกะ
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรียาซูโตโมะ ซูซูกิ (鈴木康友)
พื้นที่
 • นครใหญ่ที่รัฐกำหนด1,558.06 ตร.กม. (601.57 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 ธันวาคม 2019)
 • นครใหญ่ที่รัฐกำหนด791,707 คน
 • ความหนาแน่น510 คน/ตร.กม. (1,300 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล[1] (2015)1,129,296 (ที่ 13) คน
สัญลักษณ์
 • ต้นไม้สนเกี๊ยะ
 • ดอกไม้มิกัง (Citrus unshiu)
 • นกนกกระจ้อยญี่ปุ่น
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
โทรศัพท์53-457-2111
ที่อยู่103-2 Motoshiro-chō, Naka-ku, Hamamatsu-shi, Shizuoka-ken 430-8652
เว็บไซต์www.city.hamamatsu.shizuoka.jp

ประวัติ

แก้

พื้นที่ในอาณาเขตของนครฮามามัตสึในปัจจุบัน มีประวัติศาตร์ยาวนานมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยมีการพบโบราณวัตถุในจากยุคโจมง และยุคโคฟุง ซึ่งรวมถึง อากาโมนูเอโกฟุง ซึ่งเป็นหลุมศพโบราณรูปกุญแจที่นิยมสร้างในยุคโคฟุง ปัจจุบัน ตั้งอยู่ในเขตฮามากิตะ ในยุคนาระ ฮามามัตสึก็ได้เป็นเมืองหลวงของอดีตแคว้นโทโตมิ ต่อมา ในยุคเซ็งโงกุ ปราสาทฮามามัตสึ ก็เคยเป็นในฐานที่มั่นของโทกูงาวะ อิเอยาซุ ก่อนจะขึ้นเป็นโชกุนในยุคเอโดะ ฮามามัตสึเจริญเฟื่องฟูเนื่องจากเป็นเมืองที่ตั้งปราสาทอันเป็นที่อาศัยของไดเมียว และยังเป็นเมืองที่เส้นทางโทไกโดพาดผ่าน ซึ่งเป็นเพียงเส้นทางบกหลักที่ใช้เดินทางระหว่างกรุงเอโดะและกรุงเกียวโต หลังการปฏิรูปเมจิ เมืองฮามามัตสึได้ถูกยกเป็นจังหวัดในระยะเวลาสั้น ๆ คือ ใน ค.ศ. 1871–1876 หลังจากนั้น ก็ได้ถูกรวมอยู่ในจังหวัดชิซูโอกะ ใน ค.ศ. 1889 ได้มีการเปิดสถานีรถไฟฮามามัตสึ ขึ้นบนทางรถไฟสายหลักโทไกโด ซึ่งพาดผ่านเมือง ในปีเดียวกันนั้นเอง เมืองฮามามัตสึก็ได้สถานะเป็นเมืองจากการแบ่งเขตการปกครองครั้งใหม่

ภูมิประเทศ

แก้

ภูมิประเทศของเมืองฮามามัตสึ ทางใต้ เป็นที่ราบและที่ราบสูงมิกาตาฮาระ ทางด้านเหนือเป็นเขตภูเขา สุดเขตด้านตะวันตกติดทะเลสาบฮามานะ สุดเขตด้านตะวันออกติดแม่น้ำเท็นรีว สุดเขตด้านใต้ติดมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนภูมิอากาศ ทางด้านใต้ อุณหภูมิไม่สูงไม่ต่ำจนเกินไป และมีหิมะตกเล็กน้อยในช่วงฤดูหนาว อย่างไรก็ตาม ลมมรสุมที่ชื่อเอ็นชูโนการากาเซะทำให้เมืองนี้มีลมแรงในช่วงฤดูหนาว และต่างจากภูมิภาคอื่น ทางด้านเหนือมีลักษณะเป็นภูเขา ทำให้มีภูมิอากาศที่รุนแรงกว่า อันมีสาเหตุจากลมเฟิน หรือลมที่พัดมาจากทางลดของภูเขา ซึ่งอุ่นและแห้ง ในฤดูร้อน อุณหภูมิอาจสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะในอำเภอเท็นรีว ในขณะที่มีหิมะตกในฤดูหนาว

เขตการปกครอง

แก้

นครฮามามัตสึ แบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 7 เขตดังนี้

สถานที่ท่องเที่ยว

แก้
 
อาคารแอคท์ซิตี้ฮามามัตสึ
  • ปราสาทฮามามัตสึ

ปราสาทฮามามัตสึ (ญี่ปุ่น: 浜松城โรมาจิHamamatsu-jō) ตั้งอยู่บนเนินเขาทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของสวนสาธารณะปราสาทฮามามัตสึ ซึ่งอยู่ถัดจากศาลาว่าการนครหลังใหม่ไปทางด้านเหนือ ปราสาทสร้างโดยโทกูงาวะ อิเอยาซุ ก่อนจะขึ้นเป็นโชกุน ณ กรุงเอโดะ โทกูงาวะ อิเอยาซุพำนักอยู่ที่นี่ระหว่าง ค.ศ. 1571–1588 ด้านในปราสาท จัดเป็นพิพิธภัณฑ์เล็ก ๆ จัดแสดงอาวุธและโบราณวัตถุจากยุคเอโดะ รวมถึงแบบจำลองเมืองในสมัย 400 ปีที่แล้ว ทางด้านเหนือของปราสาท มีสวนญี่ปุ่น บ่อปลาคาร์ป รวมถึงหอพิธีชงชาด้วย

  • จุดชมวิวตึกแอคท์ซิตี้

จุดชมวิวตึกแอคท์ซิตี้ (Act City Tower Observatory) ตั้งอยู่บนชั้น 45 เป็นชั้นสูงสุดของอาคารแอคท์ซิตี้ฮามามัตสึ (ญี่ปุ่น: アクトシティ浜松โรมาจิAkutoshitei Hamamatsu) อันเป็นตึกสูงเสียดฟ้าเพียงตึกเดียวในเมือง และถือเป็นสัญลักษณ์ของเมืองนี้ ตั้งอยู่ถัดจากสถานีรถไฟฮามามัตสึ ตึกถูกออกแบบให้คล้ายกับฮาร์โมนิกา เพื่อตอกย้ำว่าเมืองฮามามัตสึเป็นที่รู้จักในนาม "เมืองแห่งดนตรี" ภายในตึก เป็นที่ตั้งของร้านค้าและศูนย์อาหาร รวมถึงโรงแรมโอกูระ ณ จุดชมวิวนี้ จะสามารถเห็นเมืองฮามามัตสึจากใจกลางเมือง ไปจนถึงเนินทรายริมมหาสมุทรแปซิฟิก ในวันอากาศดีอาจเห็นภูเขาฟูจิได้อีกด้วย

  • เนินทรายนากาตาจิมะ

เนินทรายนากาตาจิมะ (ญี่ปุ่น: 中田島砂丘โรมาจิNakatajima-sakyū) ณ ชายหาดทางใต้ของเมือง ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นเนินทรายใหญ่อันดับ 3 ของญี่ปุ่น ด้วยความกว้างจากเหนือลงใต้ 600 เมตร และความยาวจากตะวันออกถึงตะวันตก 4,000 เมตร

  • อนุสาวรีย์โชแปง

อนุสาวรีย์โชแปงที่ฮามามัตสึ เป็นการสร้างจำลองอนุสาวรีย์แนวอาร์ตนูโวของอันโด่งดังของเฟรเดริก ฟรองซัวส์ โชแปง คีตกวีชาวโปแลนด์ ในสัดส่วน 1:1 ซึ่งอนุสาวรีย์ต้นแบบนี้ สร้างโดย Wacław Szymanowski ศิลปินชาวโปแลนด์ และตั้งอยู่ที่เมืองวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ อันเป็นเมืองพี่น้องของเมืองฮามามัตสึ

อุตสาหกรรม

แก้

เมืองฮามามัตสึ เป็นเมืองอุตสาหกรรมด้วยเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุตสาหกรรมผลิตเครื่องดนตรีและจักรยานยนต์ นอกจากนี้ ในอดีตเมืองฮามามัตสึยังเคยขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองอุตสาหกรรมทอผ้าอีกด้วย แต่โรงทอผ้าส่วนใหญ่ได้เลิกกิจการไปในช่วงทศวรรษ 1990 ปัจจุบันชาวบราซิลเชื้อสายญี่ปุ่นที่ทำงานอยู่ในเมืองฮามามัตสึ 19,000 คน จากที่ทำงานในประเทศทั้งหมด 274,700 คน

เมืองฮามามัตสึ เป็นเมืองต้นกำเนิดและเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของบริษัทญี่ปุ่นชั้นนำหลายบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทในอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องดนตรี ที่คนไทยรู้จักกันดี ได้แก่ ซูซูกิ ยามาฮ่า และโรแลนด์ (บริษัทแม่ของเอฟเฟคท์กีตาร์ BOSS) ส่วนฮอนด้านั้นก็กำเนิดในเมืองนี้เช่นกัน แต่ปัจจุบันมีสำนักงานใหญ่ในกรุงโตเกียว

การเดินทาง

แก้

รถไฟ

แก้

นครฮามามัตสึ อยู่บนทางรถไฟสายโทไกโด ชิงกันเซ็งและสายหลักโทไกโด ณ ค.ศ. 2009 รถไฟชิงกันเซ็ง ขบวนที่จอด ณ เมืองนี้ มีเพียงขบวนโคดามะ ซึ่งจอดทุกสถานี และขบวนฮิการิ ไม่กี่ขบวนเท่านั้น สถานีรถไฟฮามามัตสึอยู่เกือบกึ่งกลางของเส้นทางสายโทไกโด ดังนั้น การเดินทางไปยังสถานีรถไฟโตเกียวหรือสถานีรถไฟชินโอซากะ หากใช้ขบวนฮิการิ จะใช้เวลาหนึ่งชั่วโมงครึ่ง หากใช้ขบวนโคดามะ จะใช้เวลาสองชั่วโมง

ถนน

แก้

เมืองฮามามัตสึ มีทางด่วนสายโทเมซึ่งเชื่อมระหว่างกรุงโตเกียวและนาโงยะพาดผ่าน ทำให้การเดินทางด้วยรถยนต์สะดวกมาก

เครื่องบิน

แก้

เมืองฮามามัตสึไม่มีท่ากาศยานพลเรือน ท่าอากาศยานที่ใกล้ที่สุดคือท่าอากาศยานชิซูโอกะ ซึ่งอยู่ห่างจากสถานีรถไฟฮามามัตสึ 43 กิโลเมตร ท่ากาศยานที่ใกล้รองมาคือท่าอากาศยานนานาชาติชูบุเซ็นแทรร์ ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดไอจิ อยู่ห่างจากเมืองฮามามัตสึไปทางตะวันตกประมาณ 87 กิโลเมตร

อ้างอิง

แก้
  1. "UEA Code Tables". Center for Spatial Information Science, University of Tokyo. สืบค้นเมื่อ January 26, 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้