นกกระจ้อยญี่ปุ่น
นกกระจ้อยญี่ปุ่น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Horornis diphone) รู้จักกันในชื่อภาษาญี่ปุ่นว่า อูงูอิซุ (ญี่ปุ่น: 鶯; โรมาจิ: uguisu) เป็นนกจาบปีกอ่อน (passerine) สายพันธ์หนึ่งที่พบได้ยาก เนื่องจากมีธรรมชาติชอบหลบซ่อน แต่เสียงร้องของมันสามารถได้ยินในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศญี่ปุ่นในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ นกกระจ้อยญี่ปุ่นมักมีสีคล้ายใบมะกอกแก่ (brown) แต่โทนสีค่อนข้างหม่น มีพฤติกรรมชอบหลบซ่อนสายตามนุษย์แต่ชอบร้องส่งเสียง มีความยาวลำตัวประมาณ 15.5 เซนติเมตร (6.1 นิ้ว)[2] และมีโภชนาการเป็นแมลงขนาดเล็ก
นกกระจ้อยญี่ปุ่น | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์ปีก Aves |
อันดับ: | Passeriformes Passeriformes |
วงศ์: | Cettiidae Cettiidae |
สกุล: | Horornis Horornis (Kittlitz, 1830) |
สปีชีส์: | Horornis diphone |
ชื่อทวินาม | |
Horornis diphone (Kittlitz, 1830) | |
ชื่อพ้อง | |
Cettia diphone |
เนื่องจากพฤติกรรมที่ชอบร้อง(เพลง)ส่งเสียง จึงทำให้นกชนิดนี้มีชื่อเล่นภาษาอังกฤษว่า "Japanese Nightingale"[3] และมีผู้นิยมจับนกกระจ้อยญี่ปุ่นใส่กรงขังไว้เพื่อฟังเสียงของมัน นอกจากนี้เสียงที่ไพเราะของนกกระจ้อยญี่ปุ่นก็เป็นธีม หรือหัวข้อที่สำคัญในบทกวีของญี่ปุ่น โดยมีงานประพันธ์ร้อยกรองทั้งประเภทไฮกุและเร็งกะที่เอ่นถึงชื่อนก "อุงุยสึ" เพื่อแสดงการมาถึงของฤดูใบไม้ผลิ และการเบ่งบานของดอกซากุระ
อ้างอิง
แก้- ↑ BirdLife International (2017). "Horornis diphone". IUCN Red List of Threatened Species. 2017: e.T22714380A111072668. doi:10.2305/IUCN.UK.2017-1.RLTS.T22714380A111072668.en. สืบค้นเมื่อ 12 November 2021.
- ↑ Wild Bird Society of Japan; Joseph A. Massey; Shogo Matsui; Tsutomu Suzuki; Elizabeth P. Swift; Akira Hibi; Noritaka Ichida; Yozo Tsukamoto; Koichiro Sonobe (1990). Koichiro Takano; Jane Washburn Robinson (บ.ก.). A Field Guide to the Birds of Japan (Seventh Printing, First ed.). Tokyo and New York: Kodansha International, LTD. p. 254. ISBN 0-87011-746-7.
- ↑ Reynolds, Frank; Carbine, Jason A. (2000). The Life of Buddhism. Berkeley: University of California Press. p. 32.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Japanese bush-warbler, Mike Danzenbaker's bird photo website.