อุทยานโอลิมปิกพระราชินีเอลิซาเบธ

อุทยานโอลิมปิกลอนดอน (อังกฤษ: London Olympic Park) เป็นศูนย์กีฬาและสวนสาธารณะซึ่งจัดสร้างขึ้น สำหรับกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 และการแข่งขันพาราลิมปิกฤดูร้อน 2012 ตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันออกของลอนดอน ประเทศอังกฤษ ติดกับพื้นที่ขยายของย่านสแตรตเฟิร์ด (Stratford) ภายในมีหมู่บ้านนักกีฬาโอลิมปิก และสนามกีฬานานาชนิด รวมทั้งสนามกีฬาโอลิมปิกและศูนย์กีฬาทางน้ำ

อุทยานโอลิมปิกลอนดอน

London Olympic Park

(อุทยานโอลิมปิกราชินีเอลิซาเบธ
อันเนื่องมาจากโอลิมปิกฤดูร้อน 2012
และพาราลิมปิกฤดูร้อน 2012)[1]
อุทยานโอลิมปิก ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2555
อุทยานโอลิมปิก ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2555
แผนที่ของอุทยานโอลิมปิกราชินีเอลิซาเบธ
แผนที่ของอุทยานโอลิมปิกราชินีเอลิซาเบธ
พิกัด: 51°32′46″N 0°00′46″W / 51.54615°N 0.01269°W / 51.54615; -0.01269
ประเทศสหราชอาณาจักร อังกฤษ,
สหราชอาณาจักร
เมืองกรุงลอนดอน
เขตสแตรตเฟิร์ด, โบว์,
เลย์ตัน, โฮเมอร์ตัน
เขตเวลาUTC0 (เวลาสากลเชิงพิกัด)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+1 (BST)
รหัสไปรษณีย์E20
เว็บไซต์ลอนดอน 2012 (อังกฤษ)

หลังจากโอลิมปิกผ่านไป อุทยานแห่งนี้จะเปลี่ยนชื่อเป็น “อุทยานโอลิมปิกราชินีเอลิซาเบธ” (Queen Elizabeth Olympic Park) เพื่อเป็นอนุสรณ์ในวโรกาส พระราชพิธีพัชราภิเษกในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร[1] แม้จะไม่ได้เป็นอุทยานหลวงแห่งลอนดอนอย่างเป็นทางการก็ตาม[2]

ทำเลที่ตั้ง แก้

 
ภาพถ่ายทางอากาศของอุทยาน ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554

อุทยานแห่งนี้ มีที่ตั้งครอบคลุมบางส่วนของแขวงสแตรตเฟิร์ด, แขวงโบว์ (Bow), แขวงเลย์ตัน (Leyton), และแขวงโฮเมอร์ตัน (Homerton) ทางตะวันออกของกรุงลอนดอน โดยการไปรษณีย์หลวงแห่งสหราชอาณาจักร (The Royal Mail) กำหนดให้อุทยานและเมืองสแตรตเฟิร์ด ใช้รหัสไปรษณีย์ E20 ซึ่งก่อนหน้านี้มีการใช้กับชานเมืองวัลเฟิร์ด (Walford) ซึ่งไม่มีอยู่จริง เนื่องจากปรากฏในละครโทรทัศน์เรื่อง “อีสต์เอ็นเดอรส์” (EastEnders)[3]

การก่อสร้าง แก้

แผนแม่บทซึ่งเผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) กำหนดให้มีอาคารกีฬาภายในอุทยานทั้งหมด 3 หลัง โดยการแข่งขันวอลเลย์บอลย้ายไปเล่นที่ ศูนย์นิทรรศการเอิร์ลสคอร์ต (Earls Court Exhibition Centre)[4] ส่วนกีฬาฟันดาบย้ายไปแข่งขันที่ ศูนย์นิทรรศการเอ็กซ์เซล (Exhibition Centre London) ซึ่งอาคารกีฬาในร่มที่ยังคงอยู่คือ อาคารกีฬาบาสเกตบอล (Basketball Arena) และ ค็อปเปอร์บ็อกซ์ (Copper Box) ทั้งนี้เมื่อการก่อสร้างระยะหลักเริ่มขึ้น มีการเคลื่อนย้ายเสาไฟฟ้าสูง 65 เมตร จำนวน 52 ต้นออกไป แล้วเปลี่ยนไปใช้ระบบไฟฟ้าผ่านอุโมงค์ใต้ดินแทน[5]

สนามกีฬาที่จัดแข่งขัน แก้

สิ่งก่อสร้างสำคัญอื่น แก้

  • หมู่บ้านโอลิมปิก - เป็นที่พักของนักกีฬาชาติต่างๆ ที่เข้าร่วมแข่งขัน ทั้งในโอลิมปิกและพาราลิมปิก
  • ศูนย์สื่อมวลชนโอลิมปิกลอนดอน - เป็นอาคารศูนย์กระจายเสียงแพร่ภาพนานาชาติ และศูนย์สื่อมวลชนหลักที่รวมอยู่ด้วยกัน ตั้งอยู่บริเวณหัวมุมทางตะวันตกเฉียงเหนือของอุทยาน
  • ร้านแมคโดนัลด์ สาขาภายในอุทยาน - ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และจะเป็นจุดสนใจพิเศษระหว่างการแข่งขัน โดยเป็นแห่งแรกที่สร้างขึ้น จากโครงอาคารและอุปกรณ์ร้อยละ 75 ซึ่งทำจากวัสดุใช้ซ้ำ (Reuse) และนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) อย่างแข็งแรงทนทาน แต่จะต้องทำลายลงไป หลังจากสิ้นสุดกีฬาพาราลิมปิก[6]
  • พิพิธภัณฑ์โอลิมปิก - จะเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2557[7]

โครงการหลังการแข่งขัน แก้

หลังจากสิ้นสุดการแข่งขันโอลิมปิกและพาราลิมปิก อุทยานจะรองรับการใช้งานมากมาย ดังตัวอย่างต่อไปนี้


(จากซ้ายไปขวา) ศูนย์กีฬาทางน้ำ, หอสังเกตการณ์ อาร์ชเลอร์มิตตัล ออร์บิต, สนามกีฬาโอลิมปิก (ข้างหลัง), สนามกีฬาโปโลน้ำ (ข้างหน้า) ภายในอุทยานโอลิมปิกลอนดอน เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Staff (7 October 2010). "Games Site Renamed the Queen Elizabeth Olympic Park". BBC News. Retrieved 12 May 2012.
  2. Minton, Anna (2012). Ground Control (2nd ed.). Penguin. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-20. สืบค้นเมื่อ June 25, 2012.
  3. Staff (19 March 2011). "Olympic Park To Share EastEnders' Walford E20 Postcode". BBC News. Retrieved 12 May 2012.
  4. "London Unveils Olympic Masterplan". BBC News. 7 June 2006.
  5. [1] เก็บถาวร 2013-01-04 ที่ archive.today.
  6. "The Largest McDonald's Outlet To Open In London Olympic Park". DesignTaxi. 26 Jun 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-02. สืบค้นเมื่อ 2012-07-16.
  7. "Olympic Museum To Be Opened on Olympic Park after London 2012".
  8. "Cameron Reveals Silicon Valley Vision for East London". BBC News. 4 November 2010. สืบค้นเมื่อ 4 November 2010.
  9. "London Games promises beautiful green legacy". London Press Service. 01 February 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-08. สืบค้นเมื่อ 2012-07-16. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  10. Gourlay, Chris (2009-04-19). "University to be built in London Olympic Park". Times Online. สืบค้นเมื่อ 2009-11-28.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้