การแปรใช้ใหม่
การแปรใช้ใหม่ (อังกฤษ: recycling) เป็นการจัดการวัสดุเหลือใช้ที่กำลังจะเป็นขยะโดยนำไปผ่านกระบวนการแปรสภาพ (โดยเฉพาะการหลอม) เพื่อให้เป็นวัสดุใหม่แล้วนำกลับมาใช้ได้อีก วัสดุที่ผ่านการแปรสภาพนั้นอาจจะเป็นผลิตภัณฑ์เดิมหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ก็ได้ การแปรใช้ใหม่มีความหมายต่างจาก การใช้ซ้ำ (reusing) ซึ่งหมายถึง การนำกลับมาใช้ใหม่โดยไม่ผ่านกระบวนการแปรสภาพใด ๆ ทั้งสิ้น
ในความเข้าใจของคนบางกลุ่มนั้น การแปรใช้ใหม่ยังหมายถึง การนำวัสดุเหลือใช้กลับมาปรับเปลี่ยนรูปแบบหรือพัฒนารูปร่างใหม่ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่น ๆ เช่น ขวดน้ำพลาสติก หากนำมาใช้ใส่น้ำอีกครั้งเป็นการใช้ซ้ำ แต่ถ้านำเอาขวดนำพลาสติกมาตัดให้เป็นกระป๋อง แล้วนำไปใช้ตัดดินบรรจุในถุง หรือนำขวดพลาสติกมาตัดครึ่งทำเป็นแจกันใส่ดอกไม้หรือเป็นที่ใส่ปากกา มักถูกเรียกว่าเป็นการแปรขวดน้ำพลาสติกเพื่อใช้ใหม่
ประวัติศาสตร์
แก้ต้นกำเนิด
แก้การแปรใช้ใหม่ได้รับการปฏิบัติทั่วไปในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติส่วนใหญ่ หลักฐานที่มีการบันทึกไว้สามารถย้อนกลับไปในอดีตอันยาวนานถึงยุคของเพลโตเมื่อ 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช จากการศึกษาทางโบราณคดีเกี่ยวกับการทิ้งขยะของเสียในยุคโบราณแสดงให้เห็นว่า ในช่วงระยะเวลาที่ทรัพยากรเริ่มหายากขึ้นนั้น ขยะจากบ้านเรือน (เช่น เถ้า เครื่องมือหัก เครื่องปั้นดินเผา) จะมีปริมาณน้อยลง บ่งบอกได้ถึงการนำขยะจำนวนไม่น้อยกลับไปแปรใช้ใหม่ เพราะไม่มีวัสดุใหม่มาแทนของเดิม[1]
ในยุคก่อนอุตสาหกรรม (pre-industrial) มีหลักฐานว่าเศษทองเหลืองและโลหะอื่น ๆ ถูกเก็บรวบรวมและนำไปหลอมเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ในยุโรป[2] ในสหราชอาณาจักร ขี้ฝุ่นและขี้เถ้าจากการเผาไหม้ไม้ฟืนและจากไฟถ่านหิน (coal fire)[3] จะถูกเก็บรวบรวมโดยคนเก็บขยะ (dustmen)[4] และนำไปแปรสภาพใหม่แม้จะมีคุณภาพด้อยลง (downcycled)[5] เพื่อใช้เป็นวัสดุพื้นฐานในการทำอิฐ แรงขับเคลื่อนหลักของการแปรใช้ใหม่ประเภทนี้มาจากผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในการได้เชื้อเพลิงจากวัสดุที่แปรใช้ใหม่แทนที่จะต้องซื้อวัตถุดิบบริสุทธิ์ทั้งหมด รวมทั้งความบกพร่องในการกำจัดขยะสาธารณะในพื้นที่ที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นมาก[1] ในปี 1813, เบนจามิน ลอว์ (Benjamin Law) จากเมืองแบตลีย์ ในมณฑลยอร์กเชอร์ ของอังกฤษ (Batley, Yorkshire) ได้พัฒนากระบวนการของการเปลี่ยนเศษผ้าที่ไม่ใช้แล้ว (rag) ให้กลายเป็น 'เส้นใยที่ได้จากเศษผ้าเก่า ๆ' (shoddy) และผ้าขนสัตว์คุณภาพต่ำ หรือ 'มังโก' (mungo) วัสดุชนิดใหม่นี้จะรวมประสานเส้นใยที่ได้จากการแปรใช้ใหม่กับขนสัตว์บริสุทธิ์ (virgin wool) เข้าไว้ด้วยกัน ในเขตมณฑลยอร์กเชอร์ทางภาคตะวันตก (West Yorkshire) อุตสาหกรรมเส้นใยที่ได้จากเศษผ้าขี้ริ้วในเขตเมือง เช่น แบตลีย์ และ ดิวส์เบอรี่ (Dewsbury), กินระยะเวลามาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 ไปจนถึงปี 1914 เป็นอย่างน้อย
วัสดุที่สามารถแปรใช้ใหม่
แก้- แก้ว, ขวด, กระจก
- กระดาษ
- พลาสติก ไม้
- โลหะ, เหล็ก, ทองแดง, อะลูมิเนียม
- ยางแอสฟัลต์
วัสดุที่ไม่สามารถแปรใช้ใหม่
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Black Dog Publishing (2006). Recycle : a source book. London, UK: Black Dog Publishing. ISBN 1-904772-36-6.
- ↑ "The truth about recycling". The Economist. 7 June 2007.
- ↑ http://taragraphies.org/tag/coal-fires/
- ↑ http://writer.dek-d.com/5o_o5/story/view.php?id=754423
- ↑ http://cbs.grundfos.com/thailand/downloads/Download_Files/Sustain_handbook_GTH.pdf
หนังสืออ่านเพิ่ม
แก้- Tierney, John. (1996). Recycling Is Garbage. The New York Times.
- Ackerman, Frank. (1997). Why Do We Recycle?: Markets, Values, and Public Policy. Island Press. ISBN 1-55963-504-5, 9781559635042
- Porter, Richard C. (2002). The economics of waste. Resources for the Future. ISBN 1-891853-42-2, 9781891853425
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- การแปรใช้ใหม่ ที่เว็บไซต์ Curlie
- "Study debunks myths around co-mingling". Recycling Waste World. 10 May 2010.