อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น

อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น (ชื่อเดิม อุทยานแห่งชาติพระพุทธฉาย) มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอแก่งคอย อำเภอหนองแค อำเภอวิหารแดง และอำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี ป่าเขาสามหลั่นอยู่ใกล้กรุงเทพฯ มาก มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ สภาพธรรมชาติป่าเขา น้ำตกที่สวยงาม โดยเฉพาะน้ำตกเขาสามหลั่น ซึ่งนักท่องเที่ยวรู้จักกันเป็นอย่างดี ทางคมนาคมสะดวกสบาย สามารถเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปกลับได้ในวันเดียว อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น มีเนื้อที่ประมาณ 27,856.25 ไร่ หรือ 44.57 ตารางกิโลเมตร[1][2]

อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น
น้ำตกสามหลั่น
แผนที่
ที่ตั้งจังหวัดสระบุรี ประเทศไทย
พิกัด14°26′14″N 100°57′47″E / 14.43722°N 100.96306°E / 14.43722; 100.96306
พื้นที่45 ตารางกิโลเมตร (28,000 ไร่)
จัดตั้ง2 มิถุนายน พ.ศ. 2524
ผู้เยี่ยมชม45,828 (2562)
หน่วยราชการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ลักษณะภูมิประเทศ แก้

สภาพภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน เป็นเทือกเขาสูงที่วางตัวตามแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีที่ราบแคบๆ ระหว่างหุบเขาอยู่ทางตอนเหนือของอุทยานแห่งชาติ ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ เขาครก มีความสูงประมาณ 329 เมตรจากระดับน้ำทะเล สามารถมองเห็นตัวเมืองสระบุรี และอำเภอใกล้เคียงได้อย่างชัดเจน ป่าแห่งนี้เป็นต้นกำเนิดของน้ำตกหลายแห่ง เป็นต้นน้ำลำธารที่ไหลไปหล่อเลี้ยงไร่นาของราษฎรที่อยู่ใกล้เคียง สภาพของดินเป็นดินเหนียวและดินร่วนปนทราย หินชั้นล่างเป็นพวกหินดินดาน[3]

ลักษณะภูมิอากาศ แก้

สภาพภูมิอากาศในเขตอุทยานแห่งชาติสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดูกาล ได้แก่

  • ฤดูร้อน จะร้อนอบอ้าวระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - เดือนเมษายน
  • ฤดูฝน จะมีฝนตกชุกระหว่างเดือนพฤษภาคม - เดือนกันยายน
  • ฤดูหนาว อากาศเย็นสบาย ระหว่างเดือนตุลาคม - เดือนมกราคม

อุณหภูมิเฉลี่ย 28oC มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,200 มิลลิเมตรต่อปี ซึ่งสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อนได้ตลอดปี

พืชพรรณและสัตว์ป่า แก้

สภาพป่าประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ แดง ประดู่ พลวง เต็ง รัง ตะเคียนทอง มะค่าโมง ตะแบก เป็นต้น และพันธุ์ไม้อื่นๆ ที่ทำการสำรวจไว้กว่า 800 ชนิด ส่วนไม้พื้นล่างเป็นพวกไม้ไผ่ชนิดต่างๆ ตลอดจนหวาย และกล้วยไม้ เป็นต้น

สำหรับสัตว์ที่มีอาศัยอยู่เป็นสัตว์ขนาดเล็ก เช่น ไก่ฟ้า ไก่ป่า เก้ง กระจง ลิง หมูป่า กระรอก กระแต และนกชนิดต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร ซึ่งคาดว่าจะสูญพันธุ์ ไปแล้ว[2][4]

อ้างอิง แก้

  1. "ข้อมูลพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ที่ประกาศในราชกิจจานุบกษา 133 แห่ง". กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. December 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-03. สืบค้นเมื่อ 1 November 2022, no 27{{cite web}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 "Namtok Samlan National Park". กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2013. สืบค้นเมื่อ 7 June 2013.
  3. "National Parks in Thailand: Namtok Sam Lan National Park" (PDF). กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2015. pp. 196–197. สืบค้นเมื่อ 26 May 2017.
  4. Williams, China; Beales, Mark; Bewer, Tim (February 2012). Lonely Planet Thailand (14th ed.). Lonely Planet Publications. pp. 171. ISBN 978-1-74179-714-5.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้