อำเภอเขวาสินรินทร์
เขวาสินรินทร์ [เขฺวา-สิน-นะ-ริน] เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์
อำเภอเขวาสินรินทร์ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Khwao Sinrin |
คำขวัญ: เขวาสินรินทร์ ดินแดนหัตถกรรม เลิศล้ำภูมิปัญญา ตระการตาผ้าไหม ระบือไกลประคำสวย ร่ำรวยประเพณี มีปราสาทโบราณ สืบสานเพลงกันตรึม | |
แผนที่จังหวัดสุรินทร์ เน้นอำเภอเขวาสินรินทร์ | |
พิกัด: 15°0′8″N 103°35′47″E / 15.00222°N 103.59639°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุรินทร์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 191.135 ตร.กม. (73.798 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 33,947 คน |
• ความหนาแน่น | 177.40 คน/ตร.กม. (459.5 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 32000 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3216 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเขวาสินรินทร์ เลขที่ 229 หมู่ที่ 1 ตำบลเขวาสินรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 32000 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอเขวาสินรินทร์ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอจอมพระ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอศีขรภูมิ
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองสุรินทร์
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองสุรินทร์
ประวัติ
แก้ท้องที่อำเภอเขวาสินรินทร์เดิมเป็นส่วนหนึ่งของตำบลบึง ตำบลตากูก อำเภอท่าตูม และตำบลเขวาสินรินทร์ อำเภอเมืองสุรินทร์ ในปี พ.ศ. 2482 ทางราชการได้โอนพื้นที่ตำบลบึง (ยกเว้นพื้นที่หมู่ที่ 16) ตำบลตากูก ของอำเภอท่าตูม มาขึ้นกับอำเภอเมืองสุรินทร์[1] เนื่องจากประชาชนได้แจ้งแก่ทางราชการว่าพื้นที่ตำบลบึง และตำบลตากูก ไปติดต่อราชการกับอำเภอเมืองสุรินทร์ สะดวกกว่าไปติดต่อกับอำเภอท่าตูม ยกเว้นพื้นที่หมู่ 16 (ในขณะนั้น) ของตำบลบึง ที่ยังสะดวกในการติดต่อราชการกับอำเภอท่าตูม
ปี พ.ศ. 2530 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนชุมชนเขวาสินรินทร์เพื่อทอดพระเนตรผ้าไหม ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่ทำให้ผ้าไหมของชุมชนเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย มีนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวเพื่อดูวิธีการและซื้อผ้าไหม ต่อมาชุมชนได้เข้าร่วมโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ทำให้คนในชุมชนมีรายได้จากการขายผ้าทอมากขึ้น เนื่องจากสภาพพื้นที่ห่างไกลคมนาคม เจ้าหน้าที่ของรัฐออกตรวจตราและเยี่ยมเยียนราษฎรไม่ทั่วถึง จึงมีโครงการที่จัดตั้งกิ่งอำเภอขึ้นในพื้นที่ จึงตั้งตำบลเพิ่มเพื่อให้เข้าเงื่อนไข โดยแยกพื้นที่หมู่ 4 บ้านแร่ รวมกับอีก 7 หมู่บ้านในเขตตำบลเขวาสินรินทร์ ตั้งเป็น ตำบลบ้านแร่ ในปีพ.ศ. 2532[2] และแยก 13 หมู่บ้านในเขตตำบลตากูก ตั้งเป็น ตำบลปราสาททองในปี พ.ศ. 2533[3]
ปี พ.ศ. 2539 ทางราชการได้เห็นว่าพื้นที่ทั้ง 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลบึง ตำบลตากูก ตำบลเขวาสินรินทร์ ตำบลบ้านแร่ และตำบลปราสาททอง ของอำเภอเมืองสุรินทร์ มี 52 หมู่บ้าน[4]และมีประชากรถึง 35,480 คน สามารถแบ่งพื้นที่การปกครองออกมาตั้งเป็นกิ่งอำเภอได้ จึงตั้งเป็น กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์[5] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2539 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม ปีเดียวกัน
โดยมีชื่อกิ่งอำเภอมาจากท่านขุนสินรินทร์บำรุง หรือ ดิน สุทธิกลับ ผู้ซึ่งมีชื่อต่อท้ายชื่ออำเภอเขวาสินรินทร์ ที่เป็นการรวมชื่อระหว่าง "เขวา" ที่เป็นชื่อต้นไม้ และ "สินรินทร์" ที่เป็นชื่อของขุนสินรินทร์บำรุง ต่อมาในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอเขวาสินรินทร์ โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน[6] เป็นอำเภอลำดับที่ 16 ของจังหวัดสุรินทร์ พร้อมกับอีก 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอศรีณรงค์ อำเภอพนมดงรัก และอำเภอโนนนารายณ์
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอเขวาสินรินทร์แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล 55 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | เขวาสินรินทร์ | (Khwao Sin Narin) | 11 หมู่บ้าน | ||||||||
2. | บึง | (Bueng) | 11 หมู่บ้าน | ||||||||
3. | ตากูก | (Ta Kuk) | 10 หมู่บ้าน | ||||||||
4. | ปราสาททอง | (Prasat Thong) | 13 หมู่บ้าน | ||||||||
5. | บ้านแร่ | (Ban Rae) | 10 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอเขวาสินรินทร์ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลเขวาสินรินทร์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขวาสินรินทร์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบึง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลตากูก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตากูกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลปราสาททอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปราสาททองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแร่ทั้งตำบล
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลและอำเภอในจังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ง): 14–15. วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2482
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอเมืองสุรินทร์ อำเภอกาบเชิง และอำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (154 ง): (ฉบับพิเศษ) 60-71. วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2532
- ↑ "ระกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสุรินทร์ อำเภอปราสาท และอำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (149 ง): (ฉบับพิเศษ) 106-117. วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2533
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบล ในท้องที่กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (ตอนพิเศษ 58 ง): 158–167. วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2540
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 18 ง): 30. วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2539
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย อำเภอดอนจาน อำเภอนาคู อำเภอสามชัย อำเภอโกสัมพีนคร อำเภอบึงสามัคคี อำเภอโคกโพธิ์ไชย อำเภอซำสูง อำเภอโนนศิลา อำเภอบ้านแฮด อำเภอเวียงเก่า อำเภอหนองนาคำ อำเภอเขาคิชฌกูฏ อำเภอคลองเขื่อน อำเภอเกาะจันทร์ อำเภอเนินขาม อำเภอหนองมะโมง อำเภอซับใหญ่ อำเภอดอยหลวง อำเภอเวียงเชียงรุ้ง อำเภอดอยหล่อ อำเภอแม่ออน อำเภอหาดสำราญ อำเภอเกาะกูด อำเภอเกาะช้าง อำเภอวังเจ้า อำเภอวังยาง อำเภอเทพารักษ์ อำเภอบัวลาย อำเภอพระทองคำ อำเภอเมืองยาง อำเภอลำทะเมนชัย อำเภอสีดา อำเภอช้างกลาง อำเภอนบพิตำ อำเภอชุมตาบง อำเภอแม่เปิน อำเภอภูเพียง อำเภอแคนดง อำเภอบ้านด่าน อำเภอสามร้อยยอด อำเภอภูกามยาว อำเภอภูซาง อำเภอศรีนครินทร์ อำเภอดงเจริญ อำเภอบึงนาราง อำเภอสากเหล็ก อำเภอกุดรัง อำเภอชื่นชม อำเภอเชียงขวัญ อำเภอทุ่งเขาหลวง อำเภอหนองฮี อำเภอสุขสำราญ อำเภอเขาชะเมา อำเภอนิคมพัฒนา อำเภอบ้านคา อำเภอเวียงหนองล่อง อำเภอหนองหิน อำเภอเอราวัณ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ อำเภอศิลาลาด อำเภอมะนัง อำเภอบางเสาธง อำเภอโคกสูง อำเภอวังสมบูรณ์ อำเภอวิภาวดี อำเภอเขวาสินรินทร์ อำเภอโนนนารายณ์ อำเภอพนมดงรัก อำเภอศรีณรงค์ อำเภอเฝ้าไร่ อำเภอโพธิ์ตาก อำเภอรัตนวาปี อำเภอสระใคร อำเภอกู่แก้ว อำเภอประจักษ์ศิลปาคม อำเภอนาตาล อำเภอนาเยีย อำเภอน้ำขุ่น อำเภอสว่างวีระวงศ์ และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2550