อำนาจ พุกศรีสุข
พลตรี[5] อำนาจ พุกศรีสุข (8 พฤษภาคม พ.ศ. 2502 – 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2564) เป็นผู้ฝึกสอนมวยไทยสายโคราช ผู้สืบทอดวิชาจากครูบัว วัดอิ่ม (ร้อยโท บัว นิลอาชา)[1]
พลตรี อำนาจ พุกศรีสุข | |
---|---|
เกิด | 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2502 จังหวัดฉะเชิงเทรา |
เสียชีวิต | 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 (62 ปี) โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรุงเทพมหานคร |
สัญชาติ | ไทย |
รูปแบบ | มวยไทยสายโคราช |
ครูผู้สอน | บัว วัดอิ่ม (ร้อยโท บัว นิลอาชา)[1] |
อาชีพ | ครูใหญ่สำนักมวยไทยนวรัช[2] |
นักเรียนเด่น | จา พนม[3] สำเร็จ เมืองพุทธ[4] |
ทั้งนี้ พลตรี อำนาจ ยังเป็นผู้ฝึกสอนมวยไทยสายโคราชแก่นักแสดงนำภาพยนตร์อย่างจา พนม[3] และสำเร็จ เมืองพุทธ[4]
ประวัติ
แก้พลตรี อำนาจ พุกศรีสุข รับราชการในตำแหน่งนายทหารปฏิบัติการ กรมยุทธศึกษาทหารบก กองทัพบกไทย[6] ก่อนเกษียณอายุราชการ
เขาเป็นผู้ฝึกสอนมวยไทยสายโคราชแก่สถานศึกษา, หน่วยงานราชการทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงมีผลงานวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสารเวิร์ลมวยไทย ตลอดจนสื่อการสอน และหลักสูตรมวยไทย[2]
นอกจากนี้ ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ได้มีการจัดงานวันมวยไทย ขึ้นที่เวทีกลางแจ้ง ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเขาได้รับเกียรติเป็นหนึ่งในตัวแทนครูมวยไทย 5 สาย ที่ทำการรำไหว้ครูมวยไทย ร่วมกับยอดธง ศรีวราลักษณ์ (มวยไทยภาคกลาง), ประเสริฐ ยาและ (มวยไทยไชยา), จ.ส.อ.สมนึก ไตรสุทธิ (มวยไทยลพบุรี), รศ.ดร.สมพร แสงชัย (มวยไทยท่าเสา และพระยาพิชัยดาบหัก) และจรัสเดช อุลิต (มวยไทยพลศึกษา)[7][8]
วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมฯพระราชทานอาบหลวงอาบศพ โกศแปดเหลี่ยม และสวดพระอภิธรรม ณ วัดบางปรงธรรมโชติการาม[ต้องการอ้างอิง]
ต่อมาวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมฯพระราชทานเพลิงศพ[ต้องการอ้างอิง]
ชีวิตส่วนตัว
แก้พลตรี อำนาจ พุกศรีสุข มีลูกสาวชื่ออรรณิกา พุกศรีสุข ซึ่งเป็นภรรยาของวิธวัฒน์ สิงห์ลำพอง[9]
มรดกสืบทอด
แก้พลตรี อำนาจ พุกศรีสุข เป็นผู้สืบทอดมวยไทยสายโคราช ซึ่งได้ชื่อว่า มวยไทยนวรัช โดยเป็นรูปแบบที่บูรณาการจากองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่สามารถสืบค้นได้ใน 9 รัชกาล[6]
เกียรติประวัติ
แก้- ผู้ช่วยปรมาจารย์อาวุโส (มงคล ๗ - มงคลทอง) แห่งสมาคมครูมวยไทย[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[11]
- พ.ศ. 2529 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[12]
- พ.ศ. 2531 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[13]
- พ.ศ. 2536 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[14]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 มวยโบราณ : ข่าวสดออนไลน์[ลิงก์เสีย]
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Mongkol 7 - Kru Muaythai Association
- ↑ 3.0 3.1 จา-พนม ก้าวสำคัญในบทบาทผู้กำกับภาพยนตร์ - thairath.co.th
- ↑ 4.0 4.1 สำเร็จ เมืองพทุธ ซ้อมๆๆๆ สู่พระเอกสตันต์ - โพสต์ทูเดย์ ข่าวบันเทิง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 28 ข หน้า 16 ลำดับที่ 498.
- ↑ 6.0 6.1 "ครูมวยไทยครวญถูกทอดทิ้ง จวกทุ่มงบไทยไฟต์หลายสิบล้าน - Quality of Life". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-06. สืบค้นเมื่อ 2017-08-23.
- ↑ จัดยิ่งใหญ่! พิธีบวงสรวง'สมเด็จพระเจ้าเสือ'วันมวยไทย - thairath.co.th[ลิงก์เสีย]
- ↑ “ครูยอดธง”ชี้ทั่วโลกยอมรับแม่ไม้มวยไทยต่อสู้มือเปล่าดีที่สุดในโลก – สยามรัฐ[ลิงก์เสีย]
- ↑ จากใจลูกเขย! บอล วิทวัส แจ้งข่าวเศร้าสูญเสียพ่อตา สัญญาจะดูแลครอบครัวให้ดีที่สุด
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๙๒, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๘๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๐๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๔, ๒๓ มิถุนายน ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๑๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๘, ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๒, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗