วันมวยไทย ตรงกับวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ของทุกปี โดยถือวันที่สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (สมเด็จพระเจ้าเสือ) เสด็จขึ้นครองราชย์ ด้วยพระองค์ทรงพระปรีชาสามารถด้านมวยไทยเป็นที่ประจักษ์ และมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏชัดเจน[1]

วันมวยไทย
ประเภทวันสังเกตการณ์ของชาติ
วันที่6 กุมภาพันธ์
ความถี่ทุกปี
ครั้งแรกพ.ศ. 2555
ริเริ่มโดยคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 60

ความเป็นมาของการสถาปนาวันมวยไทย

แก้

มวยไทย เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของชนชาติไทยมาตั้งแต่โบราณ ดังปรากฏในประวัติศาสตร์และพงศาวดารมาทุกยุคทุกสมัย เป็นการใช้อาวุธของร่างกาย 9 อย่าง หรือที่เรียกว่า นวอาวุธ ได้แก่ มือ 2/เท้า 2/ เข่า 2/ ศอก 2 และศีรษะ 1 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นศิลปะการต่อสู้ที่เก่าแก่ประเภทหนึ่งของโลก จากความสำคัญดังกล่าวมานี้ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จึงได้ประกาศขึ้นทะเบียนมวยไทย เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2553 ซึ่งจะเป็นมาตรการสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดความตระหนักในคุณค่าการยกย่ององค์ความรู้และภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ

นอกจากนี้ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ร่วมกับภาคเอกชนที่ดำเนินการเกี่ยวกับมวยไทย และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีมติเป็นเอกฉันท์ในการร่วมกันผลักดันให้มีการสถาปนาวันมวยไทยขึ้น โดยได้พิจารณาจากข้อเสนอต่าง ๆ อย่างรอบคอบ ซึ่งในที่สุดได้เห็นชอบให้วันขึ้นเสวยราชสมบัติของสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (สมเด็จพระเจ้าเสือ) คือ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ เป็นวันมวยไทย (วันเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติตรงกับวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2245) เนื่องจากมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏชัดเจน

สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถด้านมวยไทยเป็นที่ประจักษ์ คือ

1. สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 เป็นพระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียวที่เสด็จออกไปชกมวยกับสามัญชน

2. สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีความสามารถเกี่ยวกับมวยไทยมาก ทรงคิดท่าแม่ไม้ ไม้กลมวยไทยขึ้นมาเป็นแบบฉบับเฉพาะพระองค์ เรียกว่า “มวยไทยตำรับพระเจ้าเสือ” และได้รับการถ่ายทอดเป็นตำรามวยไทยให้แก่คนรุ่นหลังจนถึงทุกวันนี้

3. สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 เป็นพระมหากษัตริย์ที่ใช้ศิลปะมวยไทยในการปกป้องราชอาณาจักรให้รอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของชาวต่างชาติ

ในการนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2554 กำหนดให้วันที่ 6 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น “วันมวยไทย”[2]

การเฉลิมฉลอง

แก้

อ้างอิง

แก้

ดูเพิ่ม

แก้