อาหารอินเดีย
อาหารอินเดีย เป็นชื่อเรียกโดยรวมของอาหารในอนุทวีปอินเดียซึ่งมีลักษณะร่วมกันคือใช้เครื่องเทศ สมุนไพรและผักหรือผลไม้มาก มีทั้งพืชผักที่ปลูกในประเทศอินเดียและจากที่อื่น ๆ นิยมกินอาหารมังสวิรัติในสังคมชาวอินเดีย แต่ละครอบครัวจะเลือกสรรและพัฒนาเทคนิคการทำอาหารทำให้มีความแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค สะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายทางด้านประชากรในอินเดีย
ความเชื่อของชาวฮินดูและวัฒนธรรมมีบทบาทต่อวิวัฒนาการของอาหารอินเดีย[1] แต่ในภาพรวม อาหารทั่วประเทศอินเดียพัฒนามาจากปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมทั้งจากชาวมองโกลและยุโรปทำให้ได้อาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง [2][3] การค้าเครื่องเทศระหว่างอินเดียและยุโรปเป็นตัวเร่งหลักสำหรับการค้นพบอินเดียของชาวยุโรป[4] ยุคอาณานิคมได้ทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างอาหารยุโรปกับอาหารอินเดียเพิ่มความยืดหยุ่นทำให้เกิดความหลากหลายมากขึ้น [5][6] อาหารอินเดียมีอิทธิพลต่ออาหารทั่วโลกโดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และหมู่เกาะแคริบเบียน[7][8]
ส่วนผสม
แก้เครื่องปรุงที่โดดเด่นของอาหารอินเดีย ได้แก่ ข้าว, อัตตะ (atta) (แป้งสาลีโฮลวีท) และเมล็ดถั่วหลายชนิด ที่สำคัญได้แก่ masoor (ส่วนใหญ่เป็นเม็ดถั่วเลนทิลสีแดง) channa (ถั่วเขียวเบงกอล) toor urad และถั่วเขียว เมล็ดถั่วอาจรับประทานทั้งเม็ด แบบเป็นซีก หรือทำเป็นแป้ง
แกงแบบอินเดียส่วนใหญ่ปรุงด้วยน้ำมันพืช ในภาคเหนือและตะวันตกของอินเดียนิยมน้ำมันถั่วลิสงสำหรับการทำอาหารในขณะที่ในภาคตะวันออกของอินเดียมีการใช้น้ำมันมัสตาร์ดมาก น้ำมันมะพร้าวใช้กันอย่างแพร่หลายตามแนวชายฝั่งตะวันตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐเกรละ น้ำมันงานิยมทั่วไปในภาคใต้ ในปัจจุบัน น้ำมันเมล็ดทานตะวันและน้ำมันถั่วเหลืองได้รับความนิยมทั่วไปในอินเดีย เนยเทียมหรือที่เรียกว่า ghee Vanaspati เป็นที่นิยมมากขึ้น ฆีแบบดั้งเดิมมีการใช้น้อยลง
เครื่องเทศที่สำคัญและใช้บ่อยในอาหารอินเดียมีพริกขี้หนู เมล็ดมัสตาร์ดสีดำ (rai) ยี่หร่า (jeera) ขมิ้นชัน (haldi, manjal) เมล็ดฟีนูกรีก (methi) ขิง (adrak, inji) ผักชี (dhania) และกระเทียม (lehsun, poondu) เครื่องเทศผสมที่นิยมคือการัม มะสะล่า garam masala ผงที่มักจะมีเครื่องเทศแห้งห้าอย่างหรือมากกว่าโดยเฉพาะ กระวาน อบเชย และกานพลู Goda masala เป็นเครื่องเทศผสมที่คล้ายกันเป็นที่นิยมในรัฐมหาราษฏระ ใบไม้ที่ใช้โดยทั่วไปคือใบกระวาน ใบผักชี ใบฟีนูกรีก และใบสะระแหน่ พบในอาหารอินเดียใต้ อาหารหวานนิยมปรุงรสด้วยกระวาน, หญ้าฝรั่น ลูกจันทน์เทศและกลิ่นกุหลาบ
อ้างอิง
แก้- ↑ Steward, the (pb) by hi. Books.google.com. ISBN 9788125003250. สืบค้นเมื่อ 2009-06-23.
- ↑ Chandra, Sanjeev (February 7, 2008). "The story of desi cuisine: Timeless desi dishes". The Toronto Star.
{{cite news}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ "Indian food – Indian Cuisine – its history, origins and influences". Indianfoodsco.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-26. สืบค้นเมื่อ 2009-06-23.
- ↑ Louise Marie M. Cornillez (Spring 1999). "The History of the Spice Trade in India".
- ↑ "Foreign Influences in Modern Indian Cooking". Mit.edu. 1998-01-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-21. สืบค้นเมื่อ 2009-06-23.
- ↑ "History of Indian Food and Cooking". Inmamaskitchen.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-26. สืบค้นเมื่อ 2009-06-23.
- ↑ "Bot generated title ->". Veg Voyages. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-28. สืบค้นเมื่อ 2009-06-23.
- ↑ "Asia Food Features". Asiafood.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2001-05-25. สืบค้นเมื่อ 2009-06-23.