ตำบลท่าเรือ (อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช)
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ท่าเรือ เป็นตำบลหนึ่งใน 16 ตำบลของอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ติดต่อกับเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 22 กิโลเมตรถึงสุดเขตของตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ คือ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าเรือทั้งตำบล
ตำบลท่าเรือ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Tha Ruea |
คำขวัญ: ท่าเรือเมืองโบราณ หมู่บ้านเกษตรกรรม วัฒนธรรมรุ่งเรือง ลือเลื่องนาฏศิลป์ ถิ่นจักสานย่านลิเภา | |
พิกัด: 8°18′16.6″N 99°59′24.0″E / 8.304611°N 99.990000°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครศรีธรรมราช |
อำเภอ | เมืองนครศรีธรรมราช |
พื้นที่[ต้องการอ้างอิง] | |
• ทั้งหมด | 67.834 ตร.กม. (26.191 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2563)[1] | |
• ทั้งหมด | 22,137 คน |
• ความหนาแน่น | 327.01 คน/ตร.กม. (847.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 80000 (หมู่ที่ 1, 7, 9-13, 18, 19), 80290 (หมู่ที่ 2-6, 8, 14-17) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 800122 |
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ | |
---|---|
พิกัด: 8°18′16.6″N 99°59′24.0″E / 8.304611°N 99.990000°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครศรีธรรมราช |
อำเภอ | เมืองนครศรีธรรมราช |
การปกครอง | |
• นายก | ชำนาญ ลักษณะชฏา |
รหัส อปท. | 06800113 |
ที่อยู่ที่ทำการ | เลขที่ 57 หมู่ที่ 16 ถนนนครศรีธรรมราช-สงขลา ตำบลท่าเรือ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 80290 |
โทรศัพท์ | 0 7567 0259 |
เว็บไซต์ | www |
ประวัติ
แก้ตำบลท่าเรือตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2444 เป็นตำบลที่มีโบราณสถานและโบราณวัตถุเก่าแก่มากมายจึงเชื่อกันว่า น่าจะเป็นที่ตั้งชุมชนโบราณที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของอาณาจักร “ตามพรลิงก์” ซึ่งมีการโยกย้ายหลายครั้ง ดังหลักฐานที่ขุดพบของเก่าที่เมืองโบราณบ้านท่าเรือ เมือง พระเวียง และเมืองนครศรีธรรมราชโบราณ
ผู้รู้หลายท่านกล่าวว่า “ชุมชนโบราณแห่งนี้ น่าจะเป็นบ้านเมืองโบราณบ้านท่าเรือ” ซึ่งในสมัยหนึ่ง คือเมืองสำคัญของอาณาจักรตามพรลิงก์ อันเป็นเมืองสำคัญของนครศรีธรรมราชในยุคแรก เพราะอยู่ในทำเลที่เหมาะสมในการติดต่อค้าขายทางทะเลมาก มีลำน้ำออกสู่ทะเลได้สะดวก เรือเดินทะเลเข้ามาถึงผู้คนที่จะเดินทางไปนมัสการพระบรมธาตุต้องเข้ามาจอดเรือ ณ ที่แห่งนี้ นอกจากนั้นยังเป็นที่น่าสังเกตว่า ยังมีสถานที่ที่อยู่ห่างจากคลองท่าเรือในปัจจุบันไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 2 คุ้งคลอง ชาวบ้านเรียกขานกันว่า “โอเภา” หรือ “อู่เภา” ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า “อู่ตะเภา” หมายถึงสถานที่สำหรับซ่อม และจอดเรือสำเภาหลังจากได้จอดส่งผู้คนข้ามฟากไปแล้ว และเคยมีซากเรือสำเภาโบราณโผล่อยู่สมัยหนึ่ง ส่วนในปัจจุบันไม่มีใครทราบและกล่าวถึงเรือโบราณนี้อีกเลย สันนิษฐานว่าคงจะจมอยู่ในดิน ประกอบกับพื้นที่บริเวณนี้เป็นป่ารกทึก ลำน้ำสายนี้อยู่ใกล้ ๆ กับหลักกิโลเมตรที่ 3 ถนนสายนคร – ชะเมา จึงได้รับคำเรียกขานว่า คลองท่าเรือ ตั้งแต่สมัยนั้นเพราะเคยเป็นท่าสำหรับจอดเรือมาก่อน
ชุมชนโบราณบ้านท่าเรือเป็นชุมชนขนาดเล็ก ซึ่งมีศิลปวัตถุโบราณที่เคยขุดพบในเมืองนี้ เป็นต้นว่า เครื่องมือหินขัดสมัยใหม่สมัย ก่อนประวัติศาสตร์และที่สำคัญรองลงมาคือ มีเทวสถานในศาสนาพราหมณ์ พระพุทธรูป ลูกปัด เครื่องมือเครื่องใช้ อาวุธต่างๆ ในสมัยศรีวิชัย เครื่องถ้วยชามในสมัยราชวงศ์ซ้องของจีน กลองมโหระทึก สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุประมาณ 2500 – 1900 ปี โดยเฉพาะพระพุทธรูปบูชาที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปที่เรียกกันว่า “พระท่าเรือ” สิ่งเหล่านี้เคยขุดพบเป็นจำนวนมาก และยังขุดพบกันอยู่บ้าง (ก่อนที่จะอยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร) โดยเฉพาะในบริเวณวัดท่าเรือร้าง (บริเวณที่ตั้งวิทยาลัยนาฏศิลป์นครศรีธรรมราชในปัจจุบัน) และในคลองท่าเรือซึ่งเป็นเส้นทางออกสู่ทะเล
ภูมิศาสตร์
แก้ตำบลท่าเรือมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มเป็นส่วนใหญ่อยู่ทางตอนกลางและทางตะวันออกของตำบล ส่วนทางด้านตะวันตกของตำบลเป็นสันทราย ชายหาดเก่า ซึ่งเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของประชาชนในพื้นที่อย่างหนาแน่น โดยทางทิศตะวันตกจะติดกับป่าพรุ มีคลองท้าวราช คลองท่าเรือ คลองหนองหนอน คลองชะเมา คลองจังหูน ไหลผ่านตำบล อาชีพหลักของตำบลท่าเรือ ได้แก่ การประมง ทำสวน ทำนา เลี้ยงสัตว์ ส่วนอาชีพเสริม ได้แก่ ก่อสร้าง รับจ้างทั่วไป สานกระจูด
อาณาเขตติดต่อ
แก้ตำบลท่าเรือตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช และองค์การบริหารส่วนตำบลปากนคร อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าไร่ และองค์การบริหารส่วนตำบลบางจาก อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ทิศใต้ ติดต่อกับ เทศบาลตำบลทางพูน และเทศบาลตำบลดอนตรอ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และเทศบาลตำบลชะเมา อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลช้างซ้าย อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช
หมู่บ้าน
แก้หมู่บ้านในตำบลท่าเรือมีทั้งหมด 19 หมู่บ้าน คือ
- หมู่ที่ 1 บ้านทุ่งแก้ว
- หมู่ที่ 2 บ้านพังสิงห์
- หมู่ที่ 3 บ้านจังหูน
- หมู่ที่ 4 บ้านแคสูง
- หมู่ที่ 5 บ้านหมนใต้
- หมู่ที่ 6 บ้านชะเมา
- หมู่ที่ 7 บ้านวัดโดน
- หมู่ที่ 8 บ้านเกียกกาย
- หมู่ที่ 9 บ้านไม้เสียบ
- หมู่ที่ 10 บ้านมะม่วงงาม
- หมู่ที่ 11 บ้านท่าเรือ
- หมู่ที่ 12 บ้านหนองหนอน
- หมู่ที่ 13 บ้านท้าวราช
- หมู่ที่ 14 บ้านจังหูนใต้
- หมู่ที่ 15 บ้านหมนเหนือ
- หมู่ที่ 16 บ้านแคสูง
- หมู่ที่ 17 บ้านล่าง
- หมู่ที่ 18 บ้านบางเตย
- หมู่ที่ 19 บ้านไม้แดง
สถานีอนามัย
แก้- สถานีอนามัยบ้านไม้แดง
- สถานีอนามัยบ้านหนองหนอน
- สถานีอนามัยบ้านช้าง
- สถานีอนามัยบ้านพังสิงห์
สถานีตำรวจ
แก้จำนวนสถานีตำรวจในตำบลท่าเรือมีทั้งหมด 2 แห่ง คือ
- สถานีตำรวจภูธรชะเมา
- จุดตรวจสายตรวจตำรวจบ้านไม้แดง
สถานศึกษา
แก้- มหาวิทยาลัย
- วิทยาลัย
- โรงเรียนเอกชน
- โรงเรียนเกตุชาติ
- โรงเรียนสหมิตรศึกษา
- โรงเรียนสังกัด อบจ.นศ.
- โรงเรียนบ้านท่าเรือมิตรภาพที่ 30
- โรงเรียนประถมศึกษา
- โรงเรียนบ้านบางเตย
- โรงเรียนชุมชนวัดหมน
- โรงเรียนวัดสว่างอารมณ์
- โรงเรียนวัดโดน
- โรงเรียนวัดจังหูน
- โรงเรียนบ้านพังสิงห์
- โรงเรียนหนองหนอน
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดกุฏิขันติพลาราม
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดจังหูนสงเคราะห์
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองหนอน
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพังสิงห์
ศาสนสถาน
แก้วัด
แก้จำนวนวัดในตำบลท่าเรือมีทั้งหมด 7 วัด 1 สำนักสงฆ์ คือ
- วัดหมน
- วัดสว่างอารมณ์
- วัดหนองหนอน
- วัดจังหูน
- วัดพังสิงห์
- วัดกุฏิ
- วัดโดนธาราม
- สำนักสงฆ์วิสุทธิธรรม
มัสยิด
แก้- มัสยิดนูรุอีมาน
- มัสยิดนูรุลอิสลาม
- มัสยิดดารุลมุตตากีน
สถานที่สำคัญ
แก้- กองร้อยอาสารักษาดินแดนที่ 10
- หมวดการทางนครศรีธรรมราช
- สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดนครศรีธรรมราช
- สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยจังหวัดนครศรีธรรมราช
- สำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครศรีธรรมราช
- แหล่งโบราณคดีท่าเรือ
- แหล่งโบราณคดีกลุ่มชุมชนโบราณคลองท่าเรือ
- แหล่งโบราณคดีพังสิงห์
- แหล่งโบราณคดีเกตุกาย
- แหล่งโบราณคดีจังหูน
- แหล่งโบราณคดีหัวมีนา – วัดโพธิ์ร้าง
- กลุ่มสตรีสหกรณ์การเกษตรเมืองนครศรีธรรมราช
- กลุ่มหัตถกรรมบ้านนครศรีธรรมราช
- กลุ่มจักสานย่านลิเภาเมืองนครศรีธรรมราช
อ้างอิง
แก้- ↑ "ระบบสถิติทางการทะเบียน: รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านประจำปี พ.ศ. 2563 ตำบลท่าเรือ". สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)