หลักพื้นฐานที่เถรวาทและมหายานมีร่วมกัน

หลักพื้นฐานที่เถรวาทและมหายานมีร่วมกัน (อังกฤษ: Basic Points Unifying the Theravāda and the Mahāyāna) เป็นคำแถลงว่าด้วยหลักความเชื่อที่มีร่วมกันอันสำคัญยิ่ง ซึ่งมีขึ้นในปี พ.ศ. 2510 ระหว่างการประชุมใหญ่ครั้งของพุทธเถรสมาคมโลก (World Buddhist Sangha Council, อักษรย่อ WBSC)

ข้อความต้นฉบับ แก้

ข้อความต้นฉบับ (ภาษาอังกฤษ) คำแปลภาษาไทย
1. The Buddha is our only Master (teacher and guide) เรามีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา (พระบรมครูและผู้ชี้ทาง) เพียงพระองค์เดียว
2. We take refuge in the Buddha, the Dharma and the Saṅgha (the Three Jewels) เรามีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ (รัตนตรัย) เป็นสรณะ
3. We do not believe that this world is created and ruled by a God. เราไม่เชื่อว่าโลกนี้สร้างขึ้นและปกครองโดยพระเป็นเจ้า
4. We consider that the purpose of life is to develop compassion for all living beings without discrimination and to work for their good, happiness, and peace; and to develop wisdom (prajñā) leading to the realization of Ultimate Truth เราเห็นว่า ชีวิตมีความมุ่งหมายในอันที่จะเพิ่มพูนความกรุณาต่อสรรพสัตว์โดยไม่แบ่งแยก และจะทำงานเพื่อความผาสุกสันติคุณวิบุลราศีแห่งสรรพสัตว์ ทั้งจะพัฒนาปัญญาเพื่อเข้าถึงการหยั่งรู้ในปรมัตถธรรม
5. We accept the Four Noble Truths, namely duḥkha, the arising of duḥkha, the cessation of duḥkha, and the path leading to the cessation of duḥkha; and the law of cause and effect (pratītyasamutpāda) เรายอมรับในอริยสัจ 4 อันได้แก่ ทุกข์, เหตุแห่งทุกข์, การดับทุกข์, และหนทางแห่งการดับทุกข์ กับทั้งกฎว่าด้วยเหตุและผล (ปฏิจจสมุปบาท)
6. All conditioned things (saṃskāra) are impermanent (anitya) and duḥkha, and that all conditioned and unconditioned things (dharma) are without self (anātma). อันว่าสังขารทั้งปวงนั้นไม่เที่ยง (อนิจจตา) และเป็นทุกข์ (ทุกขตา - ไม่อาจคงสภาพเดิมได้) ธรรมทั้งหลายอันเป็นสังขาร (สังขตธรรม) และไม่เป็นสังขาร (อสังขตธรรม) ล้วนไม่ใช่ตัวตน (อนัตตตา)
7. We accept the thirty-seven qualities conducive to enlightenment (bodhipakṣadharma) as different aspects of the Path taught by the Buddha leading to Enlightenment. เรายอมรับว่า คุณสมบัติ 37 ประการอันนำไปสู่การตรัสรู้ (โพธิปักขิยธรรม) นั้น เป็นทัศนคติต่าง ๆ เกี่ยวกับวิถีที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสั่งสอนเพื่อนำพาไปสู่การรู้แจ้ง
8. There are three ways of attaining bodhi or Enlightenment: namely as a disciple (śrāvaka), as a pratyekabuddha and as a samyaksambuddha (perfectly and fully enlightened Buddha). We accept it as the highest, noblest, and most heroic to follow the career of a ''Bodhisattva and to become a samyaksambuddha in order to save others. หนทางเข้าถึงพระโพธิญาณหรือการตรัสรู้นั้น มี 3 ประการ กล่าวคือ การเป็นสาวก (อนุพุทธะ), การเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า และการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรายอมรับว่าการดำเนินตามกิจแห่งพระโพธิสัตว์ และการได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์นั้น เป็นวิถีทางสูงสุด มีเกียรติที่สุด และกล้าหาญที่สุด
9. We admit that in different countries there are differences regarding Buddhist beliefs and practices. These external forms and expressions should not be confused with the essential teachings of the Buddha. เรายอมรับว่าความเชื่อและการปฏิบัติทางพุทธศาสนานั้นย่อมแตกต่างกันไปในประเทศต่าง ๆ ไม่พึงนำเอารูปแบบและการแสดงออกภายนอกเหล่านั้นไปสับสนกับแก่นแท้แห่งคำสอนของพระพุทธเจ้า

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  • Rahula, Walpola (1974). The Heritage of the Bhikkhu. NY: Grove Press; pp. 100, 137-8.
  • The Young Buddhist, Singapore : Buddha Yana Organization, 1982, p. 161 -163

แหล่งข้อมูลอื่น แก้