อนุพุทธะ
อนุพุทธะ หมายถึง สาวกผู้รับคำสอนจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาปฏิบัติตามจนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์[1][2] จึงเรียกอีกอย่างว่าสาวกพุทธะ โดยคำว่า อนุพุทธะ มาจากศัพท์ว่า อนุ (ตาม) + พุทธะ (ผู้รู้) แปลว่า ผู้ตรัสรู้ตาม
อนุพุทธะ จัดเป็นพุทธะประเภทหนึ่งในพุทธะ 3 ประเภท คือ
- สัมมาสัมพุทธะ คือ พระพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และสอนให้ผู้อื่นรู้ตามได้
- ปัจเจกพุทธะ ผู้ตรัสรู้เฉพาะตน ไม่สามารถสอนผู้อื่นให้รู้ตามได้
- อนุพุทธะ ตรัสรู้ได้ด้วยการฟัง (สุตะ) คำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธะจนรู้ตาม และสอนให้ผู้อื่นรู้ตามได้
ในคัมภีร์มโนรถปูรณี เรียกอนุพุทธว่าจตุสัจจพุทธะ[3] เพราะเป็นผู้รู้อริยสัจ 4 และเรียกผู้ศึกษาพุทธพจน์มามากจนเป็นพหูสูตว่า สุตพุทธะ จึงรวมเป็นพุทธะ 4 ประเภท
ในหลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษาโท มีวิชาอนุพุทธประวัติ (สาวกประวัติ) หมายถึง ประวัติของพระสงฆ์สาวกสำคัญในสมัยพุทธกาล[4]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ พระครูปลัดสัมพิพัฒนธรรมาจารย์ (ประเสริฐ มนฺตเสวี), พระนิพพาน, 2556, หน้า 29
- ↑ วิชาอนุพุทธประวัติ ธ.ศ. ชั้นโท, วัดป่าธรรมชาติ
- ↑ มโนรถปูรณี, อรรถกถา อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เอกบุคคลบาลี อรรถกถาสูตรที่ ๕
- ↑ กรมการศาสนา. (2550). ธรรมศึกษาชั้นโท ฉบับปรับปรุงใหม่ที่ประกาศใช้ในปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. หน้า 59