พระรัตนตรัย หรือพระไตรรัตน์ หมายถึง แก้วสามประการอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชน[1] ที่เรียกว่า รัตน (แก้ว) เพราะว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐ มีค่าสูง และหาได้ยาก เทียบด้วยดวงแก้วมณี

พระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า, พระธรรม และพระสงฆ์ หรือเรียกว่า พุทธรัตนะ, ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ ซึ่งได้แก่

  • พระพุทธ คือ ท่านผู้ตรัสรู้ธรรมด้วยพระองค์เอง แล้วสอนประชุมชนให้ประพฤติชอบด้วยกาย, วาจา และใจ ตามพระธรรมวินัย
  • พระธรรม คือ พระธรรมวินัยอันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
  • พระสงฆ์ คือ หมู่ชนที่ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย

ไตรสรณคมน์ แก้

ไตรสรณคมน์ แปลว่า การถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก ได้แก่การเปล่งวาจาขอถึงพระพุทธ, พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะที่พึ่งพิงที่ระลึกว่า

พุทฺธัง สรณัง คัจฺฉามิ
ธมฺมัง สรณัง คัจฺฉามิ
สงฺฆัง สรณัง คัจฺฉามิ
ทุติยมฺปิ....
ตติยมฺปิ....

ไตรสรณคมน์เป็นการน้อมกาย, วาจา, ใจ นำพระรัตนตรัยเข้าไปไว้ในตน เพื่อแสดงว่าตนมีพระรัตนตรัยเป็นที่ระลึกนึกถึงและเป็นที่พึ่งตลอดไป และแสดงตนเป็นพุทธมามกะ เป็นผู้รับนับถือพระพุทธศาสนา

คำเรียกในภาษาต่าง ๆ แก้

บาลี ติรตน (ติรตนํ) (ติ คุณนาม + รตน)
ติสรณ
สันสกฤต त्रिरत्न (triratna, ตฺริรตฺน),
रत्नत्रय (ratna-traya, รตฺนตรฺย)
ไทย ไตรรัตน์,
รัตนตรัย
ลาว ໄຕແກ້ວ (ไตแก้ว) / ໄຕລັດ (ไตลัด)
สิงหล තෙරුවන් (teruwan)
พม่า ရတနာသုံးပါး
(ออกเสียง: [jədənà θóʊ̯ɰ̃ bá])
จีน 三宝, 三寶 (sānbǎo, ซานเป่า)
เวียดนาม Tam bảo
เขมร ព្រះរតនត្រ័យ (เปรี๊ยะฮ์รัตนะไตฺร)
เกาหลี 삼보 (ซัมโบ)
ญี่ปุ่น 三宝 (ซัมโบ, ซัมโป)
มองโกล ɣurban erdeni
ทิเบต དཀོན་མཆོག་གསུམ,
(dkon mchog gsum)
อังกฤษ Three Jewels, Three Refuges,
Three Treasures, Triple Gem
มราฐี त्रिरत्न (triratna)

อ้างอิง แก้

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, กรุงเทพพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 988