หลวงพร้อมวีระพันธ์ (พร้อม วีระพันธ์)
นาวาโท[a] หลวงพร้อมวีระพันธ์ (21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2441 – 17 มกราคม พ.ศ. 2484) เป็นผู้บังคับการเรือหลวงธนบุรี ซึ่งเสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่ของยุทธนาวีเกาะช้าง[1] โดยทางกองทัพเรือไทยได้สดุดีวีรกรรมดังกล่าวเป็นประจำ ณ วันที่ 17 มกราคมของทุกปี[5]
หลวงพร้อมวีระพันธ์ | |
---|---|
นาวาเอก หลวงพร้อมวีระพันธ์ | |
ผู้บังคับการเรือหลวงธนบุรี[1] | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 17 มกราคม พ.ศ. 2484[2] ใกล้เกาะช้าง จังหวัดตราด[2] |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | กองทัพเรือไทย[2] |
ยศ | นาวาเอก[1] |
บังคับบัญชา | • เรือหลวงธนบุรี (ผู้บังคับการเรือ)[1] • เรือหลวงสงขลา[3] • เรือหลวงชลบุรี[3] |
ผ่านศึก | ยุทธนาวีเกาะช้าง †[4] |
การยุทธ์
แก้เนื่องด้วยทางการไทยได้เรียกร้องให้ฝรั่งเศสทำการปรับปรุงเส้นแบ่งเขตแดนไทย–อินโดจีนของฝรั่งเศส ขึ้นใหม่ โดยใช้ร่องน้ำลึกตามเกณฑ์กฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงให้ฝรั่งเศสคืนดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงที่ฝรั่งเศสยึดไปจากเหตุการณ์ ร.ศ. 112 ทว่า ฝ่ายฝรั่งเศสได้ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว ส่งผลให้เกิดกรณีพิพาทอินโดจีน ที่นำมาซึ่งยุทธนาวีเกาะช้าง โดยวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2484 ฝรั่งเศสได้อาศัยความมืดและความเร็วรุกเข้ามาทางทิศใต้ของเกาะช้าง ด้วยเรือลาดตระเวนเบาลาม็อต-ปีเก, เรือสลุป 2 ลำ, เรือปืน 2 ลำ รวมถึงเรือดำน้ำ และเรือสินค้าติดอาวุธที่รออยู่ด้านนอก[2] ส่วนฝ่ายไทยมีเรือรักษาการณ์อยู่ 3 ลำ ได้แก่ เรือหลวงธนบุรี, เรือหลวงสงขลา และเรือหลวงชลบุรี ภายใต้การบังคับบัญชาของนาวาโท หลวงพร้อมวีระพันธ์[3]
นาวาโท หลวงพร้อมวีระพันธ์ ได้นำเรือหลวงธนบุรีประจันหน้ากับกองเรือฝรั่งเศส และยิงตอบโต้เรือลาดตระเวนเบาลาม็อต-ปีเก[6] เพื่อช่วยเรือหลวงสงขลา และเรือหลวงชลบุรี นับเป็นส่วนสำคัญในการรบจนวินาทีสุดท้าย กระทั่งเรือรบฝรั่งเศสต้องถอยกลับ[7]
อย่างไรก็ตาม หลวงพร้อมวีระพันธ์เสียชีวิตจากการรบดังกล่าว ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ ทหารเรือฝ่ายไทยเสียชีวิต 36 นาย ตลอดจนสูญเสียเรือหลวงธนบุรี, เรือหลวงสงขลา และเรือหลวงชลบุรี[1]
อนุสรณ์และสิ่งสืบทอด
แก้หลังจากเรือหลวงธนบุรีจม ทางกองทัพเรือไทยได้ทำการเก็บกู้ส่วนห้องบังคับการเรือและปืนเรือมาจัดเป็นอนุสรณ์สถานเรือหลวงธนบุรี ณ โรงเรียนนายเรือ จังหวัดสมุทรปราการ และอนุสรณ์สถานแหลมงอบ จังหวัดตราด เพื่อรำลึกถึงวีรกรรมดังกล่าว[1] รวมถึงที่พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด จังหวัดตราด ได้มีการจัดแสดงเหตุการณ์ยุทธนาวีเกาะช้าง ซึ่งถือเป็นไฮไลต์สำคัญของพิพิธภัณฑ์ พร้อมด้วยบทบาทของนาวาโท หลวงพร้อมวีระพันธ์[7]
เครื่องราชอิสรยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2484 – เหรียญกล้าหาญ (ร.ก.)[8]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[9]
เชิงอรรถ
แก้- ↑ หลวงพร้อมวีระพันธ์ ได้รับการเลื่อนยศเป็นนาวาเอกหลังสิ้นสุดกรณีพิพาทอินโดจีน
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 ยุทธนาวีเกาะช้าง กองทัพเรือไทยเข้าต่อสู้กับกองทัพเรือฝรั่งเศส - The History Now
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 ยุทธนาวีที่เกาะช้าง: เรือเล็กผู้กล้าออกจากฝั่งเพื่อปกป้องมาตุภูมิ
- ↑ 3.0 3.1 3.2 ตารางนิ้วเดียว..อริราชศัตรูก็ห้ามเหยียบ!!! กองทัพเรือเทิดเกียรติ "สดุดี 36 วีรชน" สู้ศึกยุทธนาวีเกาะช้างกับเรือรบฝรั่งเศสเมื่อ 76 ปีที่แล้ว
- ↑ อาคารประวัติศาสตร์ และพิพิธภัณฑ์ทหาร - อนุสรณ์สถานแห่งชาติ
- ↑ ในประเทศ - กองทัพเรือ จัดงาน 'วันสดุดีวีรชนกองทัพเรือ' ประจำปี 63
- ↑ "การปลูกฝังและสร้างเสริม อุดมการณ์ทหารเรือ - กรมแพทย์ทหารเรือ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-12. สืบค้นเมื่อ 2020-07-22.
- ↑ 7.0 7.1 คลายเครียด ททท.พาเที่ยวพิพิธภัณฑ์สถานเมืองตราด จ.ตราด เมืองต้องห้ามพลาด
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญกล้าหาญ, เล่ม ๕๘ ง หน้า ๒๘๑๐, ๒ กันยายน ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิและเครื่องหมายเปลวระเบิด สำหรับผู้กระทำความชอบได้รับบาดเจ็บ, เล่ม ๕๘ ง, ๑๕ เมษายน ๒๔๘๔, หน้า ๘๑๐