อำเภอเกาะช้าง
อำเภอเกาะช้าง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดตราด เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาทั้งหมด 52 เกาะของจังหวัดและเป็นเกาะใหญ่อันดับสองของประเทศไทย รองลงมาจากเกาะภูเก็ต มีเนื้อที่ประมาณ 429 ตารางกิโลเมตร ลักษณะของเกาะส่วนใหญ่เป็นเขาสูงมีผาหินสลับซับซ้อน สภาพป่าโดยทั่วไปอุดมสมบูรณ์ มีน้ำตกหลายแห่งบนเกาะ ชายหาด และปะการังที่สวยงามอยู่ทางด้านตะวันตก นับว่าเป็นแหล่งสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย
อำเภอเกาะช้าง | |
---|---|
![]() | |
คำขวัญ: ทิวเขาเขียวขจี ชมชี้ปะการัง นั่งเรือชมเกาะ ที่เหมาะตกปลา | |
พิกัดภูมิศาสตร์: 12°6′13″N 102°21′7″E / 12.10361°N 102.35194°E | |
อักษรไทย | อำเภอเกาะช้าง |
อักษรโรมัน | Amphoe Ko Chang |
จังหวัด | ตราด |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 217 ตร.กม. (84 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2562) | |
• ทั้งหมด | 8,538 คน |
• ความหนาแน่น | 39.34 คน/ตร.กม. (101.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 23170 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 2307 |
ที่ตั้ง ที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเกาะช้าง หมู่ที่ 1 ตำบลเกาะช้าง อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด 23170 |
![]() |
ประวัติแก้ไข
ท้องที่อำเภอเกาะช้างเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอแหลมงอบ ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอเกาะช้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2537 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน ปีเดียวกัน[1] และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอเกาะช้าง โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน[2]
การแบ่งเขตการปกครองแก้ไข
การปกครองส่วนภูมิภาคแก้ไข
อำเภอเกาะช้างแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 ตำบล 9 หมู่บ้าน ได้แก่
1. ตำบลเกาะช้าง มี 4 หมู่บ้าน คือ
- หมู่ที่ 1 บ้านคลองนนทรี
- หมู่ที่ 2 บ้านด่านใหม่
- หมู่ที่ 3 บ้านคลองสน
- หมู่ที่ 4 บ้านคลองพร้าว
2. ตำบลเกาะช้างใต้ มี 5 หมู่บ้าน คือ
- หมู่ที่ 1 บ้านบางเบ้า
- หมู่ที่ 2 บ้านสลักเพชร
- หมู่ที่ 3 บ้านเจ็กแบ้
- หมู่ที่ 4 บ้านสลักคอก
- หมู่ที่ 5 บ้านสลักเพชรเหนือ
การปกครองส่วนท้องถิ่นแก้ไข
ท้องที่อำเภอเกาะช้างประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลเกาะช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะช้างทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลเกาะช้างใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะช้างใต้ทั้งตำบล
สถานที่สำคัญแก้ไข
เหตุการณ์สำคัญแก้ไข
- การรบที่เกาะช้าง หรือที่รู้จักกันในนาม ยุทธนาวีเกาะช้าง
การท่องเที่ยวแก้ไข
เกาะช้าง เดิมเป็นเกาะที่ไม่มีชุมชนตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัย หากมีความสำคัญในฐานะที่เป็นท่าจอดเรือหลบลมมรสุม เป็นแหล่งเสบียงอาหาร และน้ำจืดโดยเฉพาะบริเวณอ่าวสลักเพชร หรืออ่าวสลัด เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่โจรสลัด ชาวจีนไหหลำ และญวน ปัจจุบันบนเกาะช้างมีประชาชนอาศัยอยู่ 8 หมู่บ้าน
เกาะช้างเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศรองจากเกาะภูเก็ต มีเนื้อที่ 429 ตารางกิโลเมตร
ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเขาสูงมีผาหินสลับซับซ้อนยอดเขาที่สูงที่สุด ได้แก่ เขาสลักเพชร มีความสูง 744 เมตร
สภาพป่าโดยทั่วไปอุดมสมบูรณ์ ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบเขา เป็นต้นกำเนิดของต้นน้ำลำธาร ทำให้มีน้ำตกหลายแห่งบนเกาะ ชายหาด และปะการังที่สวยงามอยู่ทางด้านตะวันตกของเกาะ
ภูมิอากาศแก้ไข
- ฤดูฝน จะเริ่มตั้งแต่ เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นช่วงเวลาที่ได้รับอิทธิพลจาก มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปีประมาณ 4,700 มิลลิเมตร
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์ ในระยะนี้มีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมพื้นที่ ทำให้อุณหภูมิลดลงอากาศหนาวเย็น
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน มีนาคมถึงเดือนเมษายน ในระยะนี้ ดวงอาทิตย์กำลังเคลื่อนผ่านเส้นศูนย์สูตรไปทางซีกโลกเหนือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังอ่อนค่อนข้างจะแปรปรวน มีฝนตกน้อยทำให้อากาศร้อนอบอ้าว โดยเฉพาะในเดือนเมษายน เกาะช้าง มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 27 องศาเซลเซียส
ช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวของเกาะช้าง จะเริ่มตั้งแต่ตุลาคมไปจนถึงพฤษภาคม จะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาท่องเที่ยวกันมาก เนื่องจากประเทศทางแถบยุโรปจะเป็นฤดูหนาว ส่วนช่วงมิถุนายนถึงกันยายนจะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาท่องเที่ยวน้อย โรงแรม รีสอร์ต และที่พักจะลดราคาค่าที่พัก
การเดินทางแก้ไข
จากกรุงเทพฯ ไปตราดแก้ไข
- ทางรถยนต์
- ถนนบางนา-บางปะกงและถนนสุขุมวิท ผ่านชลบุรี-ระยอง-จันทบุรี-ตราด ระยะทางประมาณ 390 กิโลเมตร
- ถนนบางนา-บางปะกงและถนนสุขุมวิท ผ่านชลบุรี พัทยา ระยอง แกลง จันทบุรี เข้าตัวเมืองจังหวัดตราด รวมระยะทางประมาณ 390 กิโลเมตร หรืออาจใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 จากพัทยาผ่านระยอง อำเภอแกลง รวมระยะทาง 355 กิโลเมตร
- ถนนกรุงเทพฯ-ชลบุรี ที่เชื่อมต่อมาจากถนนพระราม 9 ขับตรงมาจนพบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 344 (บ้านบึง-แกลง) ถึงอำเภอแกลง และต่อด้วยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 ผ่านอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ข้ามสะพานเวฬุ ผ่านอำเภอเขาสมิง ตรงเข้าตัวเมืองจังหวัดตราด รวมระยะทางประมาณ 315 กิโลเมตร ถ้าไม่ต้องการเข้าสู่ตัวจังหวัดตราด ก็สามารถที่จะตรงไปยังท่าเรือเฟอร์รีได้ โดยเลี้ยวขวามาทางแหลมงอบได้เลย
- ทางเครื่องบิน
บริษัท บางกอกแอร์เวย์ จำกัด มีเที่ยวบินระหว่างกรุงเทพฯ-ตราด-กรุงเทพฯ (อยู่ในเขตอำเภอเขาสมิง) ทุกวัน
จากตราดไปเกาะช้างแก้ไข
- เรือเฟอร์รี
- ท่าเรือ center point
- ท่าเรืออนุสรณ์สถานยุทธนาวีเกาะช้าง (เรือไม้)
- ท่าเรือเกาะช้างเฟอร์รี่ (อ่าวธรรมชาติ)
- ท่าเรือเกาะช้าง
สถานที่ท่องเที่ยวแก้ไข
- หาดท่าน้ำ
- หาดไก่แบ้
- หาดคลองพร้าว
- หาดทรายขาว
- อ่าวบางเบ้า
- อ่าวใบลาน
- อ่าวธรรมชาติ
- อ่าวสับปะรด
- หาดบางเบ้า (หมู่บ้านชาวประมง)
- หาดโลนลี่บีช
- หาดทรายขาว
- หาดคลองกลอย
- น้ำตกคลองพลู
- บ้านสลักคอก
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเกาะช้าง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (42 ง): 24. 26 พฤษภาคม 2537. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. 24 สิงหาคม 2550. Check date values in:
|date=
(help)