เทศบาลตำบลเกาะช้างใต้

องค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด ประเทศไทย

เทศบาลตำบลเกาะช้างใต้ เป็นเทศบาลตำบลซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะช้างใต้เกือบทั้งหมด (ยกเว้นหมู่เกาะบางส่วนของเขตตำบลเกาะช้างใต้ ซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง) ในอำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด เดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลเกาะช้างใต้ในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2533[2] ก่อนที่จะยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะช้างใต้ในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539[3]

เทศบาลตำบลเกาะช้างใต้
ท่าเรือบางเบ้า ในเขตเทศบาลตำบลเกาะช้างใต้
ท่าเรือบางเบ้า ในเขตเทศบาลตำบลเกาะช้างใต้
ทต.เกาะช้างใต้ตั้งอยู่ในจังหวัดตราด
ทต.เกาะช้างใต้
ทต.เกาะช้างใต้
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลตำบลเกาะช้างใต้
พิกัด: 12°00′34.8″N 102°22′01.5″E / 12.009667°N 102.367083°E / 12.009667; 102.367083
ประเทศ ไทย
จังหวัดตราด
อำเภอเกาะช้าง
จัดตั้ง • 12 กันยายน 2533 (สภาตำบลเกาะช้างใต้)
 • 25 ธันวาคม 2539 (อบต.เกาะช้างใต้)
 • 13 พฤษภาคม 2563 (ทต.เกาะช้างใต้)
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีจักรกฤษณ์ สลักเพชร
พื้นที่
 • ทั้งหมด93.75 ตร.กม. (36.20 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)[1]
 • ทั้งหมด3,108 คน
 • ความหนาแน่น33.15 คน/ตร.กม. (85.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05230702
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 73/6 หมู่ที่ 5 ตำบลเกาะช้างใต้ อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด 23170
เว็บไซต์www.kohchangtai.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ในวันที่ 12 มีนาคม 2563 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะช้างใต้เป็นเทศบาลตำบลเกาะช้างใต้ ในท้องที่ตำบลเกาะช้างใต้เฉพาะส่วนที่ตั้งอยู่ในเกาะช้าง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม ปีเดียวกัน[4]

พื้นที่ของเทศบาลตำบลเกาะช้างใต้เป็นชุมชนชาวประมงเหมาะแก่การพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เนื่องจากเป็นหมู่เกาะ มีปะการัง มีป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ ชายฝั่งทะเลเป็นอ่าวขนาดใหญ่เหมาะสำหรับเป็นที่จอดเรือ เช่น อ่าวสลักคอก อ่าวสลักเพชร อ่าวบางเบ้า มีหาดทรายเล็กที่สวยงามและเงียบสงบ ได้แก่ หาดทรายขาว หาดคลองกลอย และชายฝั่งด้านทิศใต้เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ยุทธนาวีเกาะช้าง มีหมู่เกาะใกล้เคียงเขตเทศบาลที่เหมาะแก่การท่องเที่ยว ได้แก่ เกาะง่าม เกาะเหลายา เกาะทรายขาว เกาะหวาย เกาะคลุ้ม เกาะไม้ซี้ใหญ่ และเกาะไม้ซี้เล็ก นอกจากนั้นยังมีน้ำตกที่สวยงามอีก 3 แห่ง คือ น้ำตกคลองหนึ่ง น้ำตกคีรีเพชร และน้ำตกคลองสิบเอ็ด[5]

อ้างอิง แก้

  1. ประชากรในเขตตำบลเกาะช้างใต้ อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด พ.ศ. 2563 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (170 ง): (ฉบับพิเศษ) 90–93. 12 กันยายน 1990.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. 24 ธันวาคม 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2022-01-07.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะช้างใต้ อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด เป็นเทศบาลตำบลเกาะช้างใต้" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 137 (ตอนพิเศษ 112 ง): 4–5. 13 พฤษภาคม 2020.
  5. "ข้อมูลพื้นฐานและสภาพทั่วไป - เทศบาลตำบลเกาะช้างใต้ ตำบลเกาะช้างใต้ อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-07. สืบค้นเมื่อ 2022-01-07.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้