สุภาพ รัตมิทัต (1 มกราคม พ.ศ. 2468–15 สิงหาคม พ.ศ. 2557) เป็นอดีตนักร้องของวงดนตรีสุนทราภรณ์ ที่มีเพลงที่เธอบันทึกเสียงได้ไม่กี่เพลง เช่น ฉันไม่ชอบเดือนหงาย ฯลฯ

สุภาพ รัศมิทัต
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด1 มกราคม พ.ศ. 2468
สุภาพ รัศมิทัต
เสียชีวิต15 สิงหาคม พ.ศ. 2557 (89 ปี)
อาชีพนักร้อง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2485 - 2557
ผลงานเด่นฉันไม่ชอบเดือนหงาย
สังกัดวงดนตรีสุนทราภรณ์ วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์

ประวัติ

แก้

การศึกษา

แก้

สุภาพจบมัธยมจากโรงเรียนเขมะศิริอนุสรณ์และเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนการเรือนตามเพื่อนสนิทที่ชื่อ"สะอิ้ง" โดยเข้าไปปีเดียวกับคุณอาภรณ์ กรรณสูตร ภรรยาของครูเอื้อ

เข้าสู่วงการ

แก้

ตอนที่เธอเรียนอยู่ที่โรงเรียนการเรือนสุภาพได้รู้จักกับคุณอาภรณ์ กรรณสูตร (ซึ่งต่อมาคือภรรยาครูเอื้อ สุนทรสนาน) โดยคุณอาภรณ์ได้ไปเล่าให้ครูเอื้อฟังว่า มีเพื่อนที่โรงเรียนการเรือนร้องเพลงเพราะ ครูเอื้อจึงให้สุภาพมาพบแต่มาหลายครั้งก็คลาดกันตลอด จนกระทั่งคุณอาภรณ์จะลาออกจากโรงเรียนการเรือนไปเข้าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคุณสุภาพก็เตรียมลาออกไปเข้าจุฬา ทั้งคู่ได้พบกันที่ร้านรองเท้าแถวสามยอดคุณอาภรณ์จึงพาสุภาพมาพบครูเอื้อเป็นครั้งสุดท้าย ช่วงนั้นครูเอื้ออยู่ที่บ้านคุณ อาภรณ์แถวราชวิถี พอพบหน้ากันครูเอื้อก็ให้ร้องเพลงให้ฟังโดยเพลงที่เธอใช้ร้องนั้นเธอจำชื่อเพลงไม่ได้แต่เธอจำได้ว่าอายมากยกหนังสือเพลงปิดหน้าไว้ตลอด แล้วก็นัดให้ไปพบที่กรมโฆษณาการเพื่อร้องให้ท่านผู้ใหญ่ตัดสินแต่ผู้ใหญ่ในความคิดของสุภาพคือนักดนตรีอาวุโสในวงแต่ผู้ใหญ่ในที่นี้คือ ท่านอธิบดี รองอธิบดี หัวหน้ากอง และเลขา เพลงที่ใช้ร้องทดสอบคือเพลงหนาวลม และ อยู่เพื่อรักมีครูสริ ยงยุทธเล่นเปียโนประกอบ โดยเธอไปหลบร้องอยู่หลังเปียโนเพราะอาย พอร้องเสร็จครูเอื้อก็บอกมาทำงานได้เธอดีใจมากจึงทิ้งการเรียนไปทันที

ชีวิตนักร้อง

แก้
 
สุภาพ รัศมิทัตร้องเพลงหมู่กับนักร้องวงกรมโฆษณาการ ในานเลี้ยง ส.ส.ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486

สุภาพเป็นนักร้องยุคแรกของวงดนตรีสุนทราภรณ์โดยตอนที่เธอเข้ามามีนักร้องหญิงอยู่ 3 คน คือ มัณฑนา โมรากุล,รุจี อุทัยกรและสุปาณี พุกสมบุญ นักร้องชาย 2 คนคือครูล้วน ควันธรรมและเลิศ ประสมทรัพย์ โดยมีนักร้องหญิงที่เข้าวงตามเธอมาติดๆคือ ชวลี ช่วงวิทย์ ในช่วงแรกๆเธอก็ได้รับมอบหมายให้ร้องเพลงเก่าๆออกอากาศ ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองในเวลาเดือนหงายฝ่ายสัมพันธมิตรจะนำระเบิดมาทิ้งได้สะดวกเพราะมีแสงสว่างจากดวงเดือน ผู้คนสมัยนั้นจึงไม่ชอบเดือนหงาย ครูแก้ว อัจฉริยะกุล จึงแต่งเพลงฉันไม่ชอบเดือนหงายให้สุภาพร้องแต่ในเนื้อเพลงกลับสื่อถึงความรักไม่เกี่ยวกับลูกระเบิดเลยสักน้อย สุภาพอยู่กับวง 2 - 3 ปีก็ลาออกเนื่องจากเกิดสงคราม และผันตัวมาเป็นผู้ประกาศของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยแทน พอสงครามสงบครูสริ ยงยุทธได้มาตามให้เธอไปบันทึกเสียง 5 เพลง คือ

  1. ฉันไม่ชอบเดือนหงาย
  2. หยาดน้ำค้าง
  3. บัวงาม
  4. เธอรักใคร
  5. มะลิ

บันทึกเสียงที่โรงภาพยนตร์เสียงศรีกรุง โดยส่งไปทำแผ่นที่อังกฤษทั้ง 5 เพลง แต่มีส่งกลับมาแค่สองเพลง คือ ฉันไม่ชอบเดือนหงายและหยาดน้ำค้าง สุภาพเคยหัดเล่นเปียโนกับครูสริ ยงยุทธ แต่ก็ได้เลิกไป

สูงวัย

แก้
 
จากซ้าย: จุรี โอศิริ, จันทนา โอบายวาทย์, สุปาณี พุกสมบุญ, สุภาพ รัศมิทัต ในวันครบรอบ 20 ปีวงดนตรีสุนทราภรณ์

หลังจากลาออกจากกรมโฆษณาการได้ไปเป็นครูประถมศึกษาที่โรงเรียนนันทนศึกษาและได้เป็นครูของรวงทอง ทองลั่นธมด้วยแถมยังเป็นศิษย์รักอีกต่างหาก เป็นครูได้ 2 - 3 ปีก็ลาออกมาทำสำมะโนเกษตร ต่อมารู้จักกับจำนงค์ รังสิกุลเลยร่วมกันก่อตั้งไทยโทรทัศน์ หรือต่อมาคือ อสมท. และมาเป็นผู้ดูแลการผลิตที่อสมท.จนเกษียณอายุ

หลังจากท่านเกษียณอายุราชการท่านก็ไม่ค่อยออกสื่ออะไรมากนัก ครั้งล่าสุดคือเมื่อสุนทราภรณ์ครึ่งศตวรรษ จนมีข่าวว่าท่านเสียชีวิตเมื่อ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2557 สวดอภิธรรมศพที่วัดธาตุทอง ศาลา15 และมีการฌาปนกิจเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ผลงาน

แก้
  • ฉันไม่ชอบเดือนหงาย
  • หยาดน้ำค้าง
  • เธอรักใคร
  • บัวงาม (เกียรติศักดิ์หญิงไทย)
  • มะลิ
  • อยู่เพื่อรัก (ขับร้องสด)
  • หนาวลม (ขับร้องสด)
  • ธรรมชาติกล่อมขวัญ (ขับร้องสด)

อ้างอิง

แก้