รุจี อุทัยกร (4 สิงหาคม พ.ศ. 2463 — 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2518)[1] เป็นอดีตนักร้องเพลงไทยสากลยุคแรก ๆ ในสมัยก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เธอเป็นนักร้องหญิงคนที่สองของวงดนตรีกรมโฆษณาการหรือวงดนตรีสุนทราภรณ์ ถัดจากจุรี (มัณฑนา) โมรากุลเพียงหนึ่งวัน รุจีได้รับสมญานามว่ามีน้ำเสียงที่ไพเราะชวนฟังแบบ “น้ำเซาะแก่งหิน” ทำให้ในยุคนั้นเธอจัดได้ว่าเป็นนักร้องชั้นแนวหน้าของวง[2]

รุจี อุทัยกร
รุจี อุทัยกร, เอื้อ สุนทรสนาน, จุรี (มัณฑนา) โมรากุล ยืนหน้าวงดนตรีสมัยเริ่มแรกวงดนตรีเมื่อปี พ.ศ. 2483
เกิด4 สิงหาคม พ.ศ. 2463
เสียชีวิต28 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 (54 ปี)[1]
อาชีพนักร้อง
ปีปฏิบัติงาน2480 - ประมาณ 2500
นายจ้างวงดนตรีอัตตังคนิเคราะห์, วงกรมโฆษณาการ หรือ วงสุนทราภรณ์, วงดนตรี บุญช่วย กมลวาทิน
ผลงานเด่นรักอะไร, เย็น เย็น, แนวหลัง

ประวัติ

แก้

รุจี อุทัยกร เกิดเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2463 เป็นธิดาของ พระขยันอักษรกิจ (โสร์ อุทัยกร)[1] ประวัติส่วนตัวของรุจีในวัยเยาว์ยังไม่มีข้อมูล แต่ในวัยแรกทำงานนั้น เธอได้อยู่ร่วมกับคณะละครวิทยุของ เพ็ญ ปัญญาพล ศิลปินตลกและเจ้าของคณะละครในสมัยนั้นและได้มีโอกาสบันทึกเพลงก่อนมาร่วมวงกรมโฆษณาการนั้น เมื่อมัณฑนา โมรากุลได้เข้ามาในวงกรมโษณาการนั้น จมื่นมานิตย์นเรศ เกรงว่ามัณฑนา โมรากุลเข้ามาอยู่กับในวงดนตรีที่มีเฉพาะผู้ชายจะเหงา เลยให้ เพ็ญ ปัญญาพลช่วยหานักร้องหญิงมาเป็นเพื่อนมัณฑนา โมรากุล เพ็ญ ปัญญาพลเลยเสนอ รุจี อุทัยกรมา ทำให้รุจีได้เข้ามาในกรมโฆษณาการเมื่อปี พ.ศ. 2483 เนื่องจากรุจีอายุถึงเกณฑ์ รุจีจึงได้รับราชการเลย ต่างจากมัณฑนา (ขณะนั้นอายุ 16 ปี) ที่ต้องเป็นลูกจ้าง แต่รุจีรับราชการได้ไม่นานก็ได้ลาออกไป[3]

สาเหตุที่ลาออกไปนั้นเพราะรุจีได้เป็นอนุภรรยาของ จอมพลป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น และหลังจากเป็นอนุภรรยาเธอก็ได้ลาออกจากราชการและไม่ได้ปรากฏตัวอีก[4] มีรายงานว่าท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงครามไม่มีความรังเกียจและหึงหวงรุจีแม้แต่ใดเลย เพราะท่านผู้หญิงละเอียดมองรุจีในสายตาของเธอว่าเป็นเด็กและต่างคนไม่ได้ยุ่งเรื่องเกี่ยวกัน[4]

ในช่วงปี 2493 ถึง ราวปี 2502 เธอได้หวนมาร่วมกับวงดนตรีสุนทราภรณ์เป็นโอกาสบ้าง และได้ขับร้องบางเพลงให้วงดนตรี บุญช่วย กมลวาทิน

คดีลอบทำร้าย

แก้
 
จุรี โอศิริ, พิทยา บุณยรัตพันธ์ุ, จันทนา โอบายะวาทย์, รุจี อุทัยกร, สุปาณี พุกสมบุญ, มัณฑนา โมรากุล เมื่องานตอนรับปีที่ 20 ของวงดนตรีสุนทราภรณ์ พ.ศ. 2502

เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างรุจี อุทัยกร และจอมพลป. พิบูลสงคราม ทำให้รุจีถูกคุกคามข่มขู่ผ่านโทรศัพท์ให้เลิกความสัมพันธ์กับจอมพล ป. พิบูลสงคราม[5] ในปี 2486 หม่อมราชวงศ์แฉล้ม ชุมแสงจ้างวานนายยิ่ง แก้วส่งศรีให้ติดต่อนายสว่าง เจริญบุญเกิด เพื่อลอบสังหารรุจี แต่ถูกจับได้ก่อนลงมือ[4] ความสัมพันธ์ระหว่างรุจีและจอมพล ป. จึงได้ยุติลง[5]

เสียชีวิต

แก้

รุจี อุทัยกรถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 สิริรวมอายุได้ 54 ปี[1]

ผลงานเพลง

แก้

ในช่วงก่อนที่รุจีเข้าร่วมวงกรมโฆษณาการนั้น เธอได้ขับร้องบันทึกเสียงกับวงดนตรีสากลต่าง ๆ ดังนี้

  • บุญทำกรรมแต่ง (ดนตรีสากล วงอัตตังคนิเคราะห์)
  • กุหลาบร่วง (ผลงาน ครูจำรัส รวยนิรันดร์)
  • ลมรักลมลวง
  • รอความรัก

เมื่อรุจีได้เข้ามาในวงกรมโฆษณาการหรือวงดนตรีสุนทราภรณ์นั้น เธอมักจะร้องออกอากาศสดหรืออาจมีแผ่นดิบชั่วคราวของวงไม่ได้บันทึกแผ่นเสียงเนื่องจากเป็นการขับร้องออกอากาศในสมัยสงครามโลก ซึ่งมีดังนี้

และในช่วงหลังที่รุจีกลับมาร้องเพลงอีกครั้งร่วมวงดนตรีบุญช่วย กมลวาทินนั้น เธอได้มีผลงานดังนี้

  • เดือนเตือนใจ
  • ไฟสุมขอน
  • หวานน้ำคำ
  • หญิงควรสงวนใจ

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Facebook". www.facebook.com.
  2. "รุจี อุทัยกร". Pantip.
  3. ลักษณะศิริ, จุไรรัตน์ (2547). เบิกฟ้า มัณฑนา โมรากุล. ชมนาด: จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ. p. 51.
  4. 4.0 4.1 4.2 กุวานนท์, จรูญ (2502). ชีวิตรักของจอมพลป. โรงพิมพ์ประเสริฐอักษร: จรูญ กุวานนท์.
  5. 5.0 5.1 ชานันท์ ยอดหงษ์ (2564). หลังบ้านคณะราษฎร : ความรัก ปฏิวัติ และการต่อสู้ของผู้หญิง. กรุงเทพ: มติชน. p. 47. ISBN 978-974-02-1737-4.
  6. สุนทรสนาน, อติพร (2512). ที่ระลึก ๓๐ ปี วงดนตรีสุนทราภรณ์ รวมเพลงอมตะ ๑. 202 ซอยสุจริต 2 พระราม 5 พระนคร: อติพร สุนทรสนาน. p. 753.{{cite book}}: CS1 maint: location (ลิงก์)